Prakard2

 

Head-3

 

1.)  โป่งข่ามคืออะไร?

ตอบ  :  

QuartzMean2

 

 

ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หน้า 720 ได้ให้คำจำกัดความ คำว่า "โป่งข่าม" หมายถึง ชื่อเรียกแร่เขี้ยวหนุมาน  ใช้ทำเครื่องประดับ.

 

*** สรุป ***

 

- ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานปัจจุบัน ระบุเจาะจงแค่เพียงชนิดของแร่ แต่ไม่ได้ระบุเจาะจง / ไม่ได้กำหนดสถานที่ที่ค้นพบแร่เขี้ยวหนุมานแต่ประการใด ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า แร่เขี้ยวหนุมานที่ถูกขุดพบไม่ว่าจะเป็นสถานที่ใดๆก็ตาม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ คนไทยจะเรียกแร่เขี้ยวหนุมานนั้นว่า "โป่งข่าม"

 

- โป่งข่าม คือ แร่เขี้ยวหนุมาน  /  แร่เขี้ยวหนุมาน คือ ควอตซ์ ( Quartz )  /  ควอตซ์ ( Quartz ) คือ แร่หรือหินใสทั้งที่ไม่มีตะกอน และ ที่มีตะกอนแร่ชนิดอื่น (มลทิน) ปนอยู่ภายใน  /  นอกจากนี้ยังมีควอตซ์บางประเภท เช่น แอเมทิสต์ (Amethyst Quartz) , ซิทรีน (Citrine Quartz) ฯลฯ  เป็นหินสีเหมือนกันกับ ทับทิม ไพลิน บุษราคัม และพลอยชนิดอื่นๆ.


- จุยเจีย ตามความเชื่อของคนจีน ก็คือผลึกหินใส (Rock Crystal ) หรือ ที่คนไทยเรียกกันว่า "แก้วโป่งข่ามน้ำหาย (แก้วน้ำค้าง)"


- ชุดเครื่องทรงของเจ้าหญิง Grand Duchess Anatasia Nikolaevna แห่งรัสเซีย ทำจาก Rose Quartz หรือแก้วโป่งข่ามสีชมพู


- กะโหลกแก้วปริศนา (Crystal skull) อารยธรรมอินเดียนแดงโบราณเผ่ามายาในอเมริกาใต้ (อ้างแบบนั้น) ซึ่งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติประเทศอังกฤษ  ทำจากผลึกแก้วโป่งข่าม


- ลูกแก้ววิเศษของหลวงปู่ทวด (เหยียบน้ำทะเลจืด) ซึ่งปัจจุบันถูกเก็บรักษาอยู่ที่วัดพะโคะ (วัดราชประดิษฐาน) เขาพัทธสิงค์ หมู่ที่ 6 ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา  ก็อาจจะเป็นแก้วโป่งข่ามหรือแก้วบริสุทธิ์หรืออัญมณีใสบางชนิด.

 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :  http://www.boran5.com/index.php/พลอยตระกูลควอตซ์/วิชาการพลอยตระกูลควอตซ์.html

 

หมายเหตุ : ในแวดวงการค้าพลอยระดับโลก (โดยเฉพาะพลอยเนื้ออ่อนประเภทโป่งข่าม) สถานที่ที่ค้นพบพลอยไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด นักสะสมอัญมณีนานาชาติ จะมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับลักษณะทางกายภาพของโป่งข่ามเม็ดนั้นๆ - ก้อนนั้นๆเป็นหลักสำคัญ ส่วนปัจจัยหลักซึ่งเป็นตัวกำหนดกลไกทางด้านราคา จะขึ้นอยู่กับตัวแปรสำคัญดังต่อไปนี้

 

- ความหายากของตะกอนแร่ ซึ่งอยู่ภายในโป่งข่าม (ชนิด - ประเภท / ความสวยงาม - ความเป็นระเบียบเรียบร้อย - ตะกอนแร่ไม่สะเปะสะปะ)

 

- ความสะอาดของโป่งข่าม (ใส - ไม่ใสปนขุ่น ไม่ขุ่น ไม่มีฝ้าน้ำแข็งเจือปน - ไม่มีสิ่งสกปรกเจือปน)

 

ฯลฯ

 

ส่วนความเชื่อเรื่องแก้วโป่งข่ามมีคุณศักดิ์สิทธิ์หรือมีพลัง  ไม่เพียงแค่คนไทยเท่านั้นที่มีความเชื่อ  คนโบราณในหลายๆประเทศทั่วโลก ต่างก็มีความเชื่อที่คล้ายๆกัน  และประสบพบเจอเรื่องราวปาฏิหารย์ของโป่งข่ามที่ตรงกันอย่างน่าอัศจรรย์  จนกลายมาเป็นความเชื่อสากลของกลุ่มชนในโลกนี้มานานนับพันปีมาแล้ว.

 

 
Quartz-ANS1
โกเมนหรือแก้วมหานิลปทัมราค

2.)  แก้วอัญมณีมงคล 24 ชนิด  เป็นแก้วโป่งข่าม (Quartz) ทั้งหมดหรือไม่?


ตอบ    : ในบรรดาแก้วมงคล 24 ชนิด "ไม่ใช่" แก้วโป่งข่ามทั้งหมด  จะมีเพียงแก้วบางชนิดเท่านั้นที่เป็นโป่งข่าม  ส่วนแก้วที่เหลือจะเป็นแก้วซึ่งอยู่ในกลุ่มของแก้วนพเก้า  ที่คนโบราณในยุคแรกสมัยที่กรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานีได้จัดเอาไว้   (ส่วนแก้วนพเก้า  ซึ่งได้แก่  เพชร , ทับทิม , มรกต , บุษราคัม , โกเมน , ไพลิน , มุกดาหาร , เพทาย , ไพฑูรย์   ทั้ง 9 ชนิดนี้เป็นสิ่งที่ถูกจัดแบ่งกลุ่มขึ้นมาใหม่ในภายหลัง หรือ ในช่วงยุคต้นของกรุงรัตนโกสินทร์  สาเหตุที่มีการปรับเปลี่ยนจัดกลุ่มใหม่ให้เหลือ 9 ชนิด  ก็เพื่อปรับให้เป็นไปตามกระแสค่านิยมในระดับสากลโลก) 

 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :  http://www.boran5.com/index.php/แก้วนพรัตน์/นพรัตน์-นวกาทีนิ-แก้วเก้าประการ.html



สำหรับ  แก้วอัญมณีมงคล 24 ชนิด  เฉพาะแก้วชนิดที่ไม่ใช่โป่งข่าม  มีดังต่อไปนี้  


2.1  แก้ววิฑูรย์ คือ  ไพฑูรย์ ( Chrysoberyl ) เป็นอัญมณีหนึ่งในแก้วนพเก้าหรือพลอยสีน้ำผึ้ง  สามารถคลิ๊กอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 1

2.2  แก้วมรกต หรือ มรกตใสยอดเต้า คือ  มรกต ( Emerald ) เป็นอัญมณีหนึ่งในแก้วนพเก้าหรือพลอยสีเขียว  สามารถคลิ๊กอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 2

2.3  แก้วสุริยประภา คือ  มุกดาหารชนิดสีส้มอมแดง ( Red-Orange  Moonstone )  เป็นอัญมณีหนึ่งในแก้วนพเก้าที่มีระดับความแข็งน้อยที่สุด  และมีระดับความแข็งที่ต่ำกว่าโป่งข่าม  สามารถคลิ๊กอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 2

2.4  แก้ววชิระเป๊กพรหมสามหน้า คือ พลอยตลก (Bi-Color) ซึ่งมีสี 3 สี (น้ำสี) อยู่ภายในแก้วเม็ดเดียวกัน  สามารถคลิ๊กอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 3
 

Quartz-ANS2
โกเมนหรือแก้วมหานิลปทัมราค

 


2.5  แก้วปทัมราค คือ  ทับทิมแดง (Ruby) ตามความหมายในพจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.2542 หน้า 661  / แต่ในความหมายโบราณของอัญมณีมงคล 24 ชนิด  หมายถึง  โกเมน (Garnet) หรือ  เพทาย (Red  Zircon) สีแดงเข้มออกดำ  ซึ่งเป็นอัญมณีชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มของแก้วนพเก้า  สามารถคลิ๊กอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 3

2.6  แก้วจันทะแพง คือ  มุกดาหาร (Moonstone)  เป็นอัญมณีหนึ่งในแก้วนพเก้าที่มีระดับความแข็งน้อยที่สุด  และมีระดับความแข็งที่ต่ำกว่าโป่งข่าม  จึงอนุโลมให้ใช้โป่งข่ามที่มีลักษณะคล้ายกันทดแทนได้  สามารถคลิ๊กอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 4

2.7  แก้วมหานิลทรายคำ คือ  Obsidian ซึ่งมีระดับความแข็งที่ต่ำกว่ามุกดาหาร (Moonstone)  สามารถคลิ๊กอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 4

2.8  แก้วพระญาอินสวร (แก้วปรไมไอสาร) คือ  มรกต ( Emerald ) เป็นอัญมณีหนึ่งในแก้วนพเก้า  สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง  "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 4

2.9  แก้ววิฑูรย์ขนบุ้งเทศ คือ  ไพฑูรย์ ( Chrysoberyl )  เป็นอัญมณีหนึ่งในแก้วนพเก้า  สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง  "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 5

2.10  แก้วก๊อแดง คือ  ทับทิม ( Ruby )  เป็นอัญมณีหนึ่งในแก้วนพเก้า  สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง  "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 5

2.11  แก้วสีพลีใส คือ  เพชร ( Diamond ) เป็นอัญมณีหนึ่งในแก้วนพเก้าที่มีระดับความแข็งสูงที่สุดคือระดับ 10  สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง  "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 5

 

Quartz-ANS1
โกเมนหรือแก้วมหานิลปทัมราค

2.12  แก้ววิฑูรย์เทศ  ชนิดวิฑูรย์เทศไข่ฟ้า คือ  ไพฑูรย์ชนิดตาแมว (Chrysobery  Cat's Eye)  เป็นอัญมณีหนึ่งในแก้วนพเก้า  ที่มีลำแสงยาวคล้ายสร้อยสังวาลพาดอยู่ตรงกลางแก้ว  สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง  "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 6

2.13  แก้วเนระกันตี คือ  พลอยเนื้อแข็งสีดำที่มีสาแหรกรูปเครื่องหมายดอกจันอยู่ตรงกลาง ( Black  Star  Sapphire )  สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง  "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 6

2.14  แก้วมหามธุกันตี คือ  บุษราคัม ( Yellow  Sapphire ) เป็นอัญมณีหนึ่งในแก้วนพเก้า  ที่มีสาแหรกรูปเครื่องหมายดอกจันอยู่ตรงกลาง  สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในห้อง  "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 7

2.15  แก้วอินทนิลแก้วเผือก คือ  Obsidian  ซึ่งมีระดับความแข็งที่ต่ำกว่ามุกดาหาร (Moonstone)  สามารถคลิ๊กอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 7



3.)  แก้วมหานิลมีกี่ชนิด  อะไรบ้าง  และเป็นแก้วโป่งข่ามทั้งหมดหรือไม่?
 

Quartz-ANS2
แก้วมหานิลอินทนิลหรืออินทนิลแก้วเผือก


ตอบ   : แก้วมหานิลมีด้วยกันทั้งหมด 12 ชนิด  แต่ "ไม่ใช่" โป่งข่ามทั้งหมด  จะมีเพียงแค่บางชนิดเท่านั้นที่เป็นโป่งข่าม (ควอตซ์)  และบางชนิดก็ไม่ใช่โป่งข่าม  แต่เป็นอัญมณีประเภทพลอยที่อยู่ในกลุ่มของแก้วนพเก้าจำนวนหนึ่ง , เป็นหินหรือแร่บางชนิดอีกจำนวนหนึ่ง  ปะปนรวมกันอยู่ในแก้วมหานิลทั้ง 12 ชนิดนั้น  ดังนี้

3.1  แก้วมหานิลน้ำตั๊บ  : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า "แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะคล้ายลูกหมากซัก คือลูกประคำดีควาย ชื่อมหานิลน้ำตั๊บ มีค่าได้หนึ่งพันทองคำ"   ซึ่งแก้วมหานิลชนิดนี้ จัดอยู่ในกลุ่มของ "นิลตะโก" (Black Spinel)  ซึ่งมีสูตรทางเคมีคือ  MgAl2O4 มีระดับความแข็งอยู่ที่ 7.5 - 8 ในระบบของโมส์.

3.2  แก้วมหานิลทรายคำ  : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า  "แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะคล้ายประกายทรายอยู่ในแก้วชื่อมหานิลทรายคำ"   ซึ่งแก้วมหานิลชนิดนี้  จัดอยู่ในกลุ่มของ "Obsidian"  ซึ่งมีสูตรทางเคมีคือ SiO2,plus MgO,Fe3O4 มีระดับความแข็งอยู่ที่ 5 - 5.5 ในระบบของโมส์.

3.3  แก้วมหานิลโปก๋า   : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า  "แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะแดงพันเกี่ยวเกี้ยวขึ้นชื่อโปก๋า"  แก้วมหานิลชนิดนี้  ในความหมายของคนโบราณ  หมายถึง "เพทายชนิดสีแดงสลัวออกดำ" (Zircon)  ซึ่งมีสูตรทางเคมีคือ  ZrSiO4 มีระดับความแข็งอยู่ที่ 7.5 ในระบบของโมส์.
 

3.4  แก้วมหานิลไข่กา  : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า  "แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะคล้ายกับกากงา และเหมือนไข่กา ชื่อมหานิลไข่กา ควรค่าได้แสนทองคำ"   แก้วมหานิลชนิดนี้  จัดอยู่ในกลุ่มของ  "Jasper"  ซึ่งมีสูตรทางเคมีคือ SiO2 มีระดับความแข็งอยู่ที่  6.5 - 7 ในระบบของโมส์.
 


3.5  แก้วมหานิลเผือก  : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า  "แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะคล้ายไข่ด้าน มีรัศมีเหลืองส่องเข้าไปในแก้วนั้น ชื่อมหานิลเผือก ควรค่าได้หนึ่งพันเงิน"   แก้วมหานิลชนิดนี้  ในความหมายของคนโบราณ  หมายถึง  "อุลกะมณี" (Tektite)  ซึ่งเกิดจากดินทรายบนพื้นผิวโลกที่หลอมละลาย  อันเนื่องมาจากความร้อนสูงของอุกกาบาต(จากอวกาศ)ที่พุ่งเข้าชน  แล้วเย็นตัวหรือแข็งตัวทันทีในระหว่างที่กระเด็นอยู่กลางอากาศ  ไม่ใช่สะเก็ตดาวตกจากอวกาศจริงๆตามที่หลายท่านเข้าใจกัน  มีระดับความแข็งอยู่ที่ 5.5 - 6 ในระบบของโมส์.

 

Quartz-ANS1
โป่งข่ามแก้วฟ้าแรพิรุณแสนห่า

3.6  แก้วมหานิลนกกาลาบ  : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า  "แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะอย่างปีกนกกาลาบ มีรัศมีส่องเข้าไปในแก้ว ชื่อมหานิลนกกาลาบ (คือนกพิราบที่มีลำตัวสีเทาปนฟ้า)  ควรค่าได้หนึ่งพันเงิน"   แก้วมหานิลชนิดนี้  ในความหมายของคนโบราณ  หมายถึง  "โป่งข่าม  ชนิดแก้วแร" (Quartz)  ซึ่งมีสูตรทางเคมีคือ SiO2 มีระดับความแข็งอยู่ที่  7  ในระบบของโมส์.

3.7  แก้วมหานิลเลือดไก่  : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า  "แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะดั่งแก่นพริกสุกและเลือดไก่ ชื่อมหานิลเลือดไก่ ควรค่าได้สี่พันเงิน"  แก้วมหานิลชนิดนี้  ในความหมายของคนโบราณ  หมายถึง  "โกเมน" (Garnet)  ซึ่งมีสูตรทางเคมีคือ  X3Y(SiO4)3 มีระดับความแข็งอยู่ที่  6 - 6.5  ในระบบของโมส์.

3.8  แก้วมหานิลนาควิฑูรย์  : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า  "แก้วมหานิลลูกใดมีสีดำคล้ายน้ำรัก  มีทรายทองพุ่งออกมาจากกลางดวงแก้ว  ลักษณะคล้ายน้ำหมากเหลืองกลางแก้ว ชื่อแก้วนาควิฑูรย์ ควรค่าได้หนึ่งพันทองคำ"  แก้วมหานิลชนิดนี้  จัดอยู่ในกลุ่มของ "Obsidian" ซึ่งมีสูตรทางเคมีคือ SiO2,plus MgO,Fe3O4 มีระดับความแข็งอยู่ที่ 5 - 5.5 ในระบบของโมส์.

 3.9  แก้วมหานิลดอกอัญชัน  : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า  "แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะเขียวดั่งดอกอัญชัน ควรค่าหนึ่งพันทองคำ"  แก้วมหานิลชนิดนี้  ในความหมายของคนโบราณ  หมายถึง  "โป่งข่าม ชนิดแก้วจอมขวัญ" (Amethyst  Quartz)  (*** คำว่า "เขียว" ในความหมายของคนโบราณ  ไม่ได้แปลว่าจะต้องเป็นสีเขียวจริงๆเสมอไป  สีอะไรก็ตามที่มีลักษณะทึมๆมอๆ เช่นสีม่วงคล้ำ หรือ สีน้ำเงินเข้ม  คนโบราณจะเรียกว่า"เขียว"ทั้งหมด ***)  ซึ่งมีสูตรทางเคมีคือ SiO2 มีระดับความแข็งอยู่ที่  7  ในระบบของโมส์.

3.10 แก้วมหานิลผักตบ  : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า  "แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะคล้ายดอกผักตบ ควรค่าหนึ่งพันเงิน"   แก้วมหานิลชนิดนี้  ในความหมายของคนโบราณ  หมายถึง  "โป่งข่าม ชนิดแก้วผักตบเทศ"  ซึ่งเป็นควอตซ์ที่มีสีก้ำกึ่งกันระหว่าง Amethyst Quartz  กับ Smoky Quartz ซึ่งมีสูตรทางเคมีคือ SiO2 มีระดับความแข็งอยู่ที่  7  ในระบบของโมส์.

3.11  แก้วมหานิลอินทนิล  : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า  "แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะดั่งแววคอนกยูง ชื่ออินทนิล ควรค่าหนึ่งแสนทองคำ"   แก้วมหานิลชนิดนี้  จัดอยู่ในกลุ่มของ  "Obsidian" ซึ่งมีสูตรทางเคมีคือ SiO2,plus MgO,Fe3O4 มีระดับความแข็งอยู่ที่ 5 - 5.5 ในระบบของโมส์.

3.12  แก้วมหานิลปทัมราค  : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า  "แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะดำภายใน คล้ายปทัมราค  คือมีปัทมราคเข้าผสมเหมือนดอกไม้เพลิงและผางประทีป ชื่อมหานิลปทัมราคหาค่ามิได้  ถ้ามีไว้ยังบ้านเรือนของผู้ใด หรือทำเป็นแหวนจะเป็นเศรษฐีมั่งมีทรัพย์สินเงินทอง ช้าง ม้า วัว ควายข้าคนมากนักแล"   แก้วมหานิลชนิดนี้  เป็นได้ทั้ง "โกเมน" (Garnet) หรือ "เพทาย"(Zircon) ก็ได้  แต่จะต้องมีทั้งสีดำและสีแดงผสมปนกันอยู่ภายในเม็ดเดียวกัน.
 

Quartz-ANS2
โป่งข่ามแก้วฟ้าแรพิรุณแสนห่า



 4.)  แก้วโป่งข่ามภายในเว๊ปไซต์โบราณ5  มาจากที่ไหน?

ตอบ  : มาจากทั่วโลกหลายประเทศ  มีทั้งประเทศโปแลนด์  โรมาเนีย  แอฟริกา  บราซิล  มาดากัสการ์  เทือกเขาหิมาลัยฝั่งประเทศทิเบต  และในประเทศไทย (โดยเฉพาะแก้วประเภทฝนแสนห่าและแก้ววิฑูรย์ขนทราย  มาจากดอยโป่งหลวงเมื่อ 30 ปีที่แล้ว(ของเก่าเก็บ)  จ.ลำปาง)
  

 

 


 

 

 

 

 
BetFair F.BetRoll UK Bookies
Ladbrokes Review L.BetRoll

เมนูหลัก

WIll Hill BookiesW.BetRoll here...
United Kingdom BetRoll Bookmakers
free web counter