Prakard2



Head-5

7.) แก้วประภาชมชื่น

แก้วโป่งข่าม แก้วประภาชมชื่น โป่งข่าม แก้วประภาชมชื่น

แก้วประภาชมชื่นหรือแก้วประภาส้มชื่น เป็นแก้วโป่งข่ามสีส้มสดใส ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่ค่อยพบเห็นกันบ่อยนัก สาเหตุที่เป็นสีส้มนั้นเกิดจากการเกาะจับของ IRON OXIDE ภายใน QUARTZ มีลักษณะเป็นคราบหรือเป็นแผ่นบาง ๆ จับอยู่โดยรอบเหลี่ยมด้านในผลึกควอตซ์ ส่วนคราบของ IRON OXIDE ที่เกาะจับอยู่ภายในควอตซ์ อาจจะมีสีและสูตรทางเคมีที่แตกต่างกันออกไป เช่น สีส้ม ( Fe2O3) ,สีเหลือง FeO(OH) ,สีดำ Fe3O4(Fe2O3/ FeO) ด้านความเชื่อ เป็นที่ยอมรับกันมาแต่โบราณว่า แก้วประภาชมชื่นนั้นมีอานุภาพโดดเด่นให้คุณในเรื่องลาภสักการะ ซึ่งผู้ที่ได้ครอบครองเป็นเจ้าของ มักจะมีเหตุให้ต้องได้รับทรัพย์สินเงินทอง หรือมีคนนำสิ่งของมีค่ามามอบให้อยู่เสมอ ๆ อย่างน่าอัศจรรย์ ดังคำกล่าวในตำราที่ว่า “…แก้วประภาชมชื่ม ข้าวของตื่นไหลมา…”


8.) แก้ววชิระเป๊กพรหมสามหน้า

ตามตำราโบราณ ได้กำหนดให้แก้ววชิระเป๊กพรหมสามหน้า จัดรวมอยู่ในกลุ่มของแก้วประเภทแก้วเผือก พร้อมทั้งได้อธิบายเจาะจงคุณลักษณะของแก้วชนิดนี้ไว้ชัดเจนว่า" แก้วเผือกลูกใดมีลักษณะสามประการ คือ มีสีขาว สีเขียว และสีเหลือง รวมอยู่ในแก้วลูกเดียวกัน ชื่อวชิระเป๊กพรหมสามหน้า ควรค่าห้าพันทองคำ "

จากข้อกำหนดตามตำราสามารถสรุปได้ว่า ลักษณะที่ถูกต้องของแก้ววชิระเป๊กพรหมสามหน้านั้น จะต้องเป็นแก้วที่มี"น้ำสี"(ซึ่งไม่ใช่มลทินแร่หรือตะกอนแร่รูปทรงต่างๆ) ปนกันอยู่ภายในแก้วลูกเดียวกันถึง 3 สี จึงจะนับเป็นแก้ววชิระเป๊กพรหมสามหน้าอย่างแท้จริง และน้ำสีที่อยู่ภายในแก้วตามที่ตำราได้กำหนดไว้ จะต้องเป็นน้ำสีขาว น้ำสีเขียว และน้ำสีเหลืองเท่านั้น (คำว่าพรหมสามหน้า คือการเปรียบเปรยน้ำสีทั้ง 3 สีดังกล่าว อุปมาดั่งฤดูกาลทั้งสามในรอบ 1 ปี คือ น้ำสีขาวใสแทนฤดูหนาว , น้ำสีเหลืองแทนฤดูร้อน , และน้ำสีเขียวแทนฤดูฝน) จากคำอธิบายซึ่งระบุไว้ในตำราพบว่า แก้วมงคลดังกล่าวชนิดนี้ มีลักษณะที่ตรงกันกับอัญมณีประเภท "พลอยตลก" (Bi-Color) ซึ่งมี 3 สีอยู่ในชิ้นเดียวกัน เช่น พลอยในกลุ่ม Sapphire และ Tourmaline เป็นต้น

ในอดีตทัวร์มาลีนเป็นที่รู้จักกันมานานแล้วในชมพูทวีป และได้รับการแพร่หลายในปี ค.ศ. 1703 โดยพ่อค้าชาวดัชท์ได้ทำการสั่งซื้อทัวร์มาลีนจากประเทศศรีลังกา ไปสู่ประเทศในแถบทะเลเมดิเตอเรเนียนทวีปยุโรป โดยตั้งชื่ออัญมณีชนิดนี้ว่า “ทัวร์มาลีน (TOURMALINE)” ซึ่งแผลงมาจากชื่อดั้งเดิมของมันที่เป็นภาษาสิงหลว่า “ทุรมาลี” แปลว่า หินที่มีหลายสีปนกัน ในด้านความเชื่อเชื่อกันมาแต่โบราณว่า แก้ววชิระเป๊กพรหมสามหน้านั้น มีคุณวิเศษโดดเด่นในเรื่องของเกียรติยศชื่อเสียงโดยเฉพาะสามารถดลบันดาลให้ผู้ซึ่งได้ครอบครองเป็นเจ้าของแก้ว มีอำนาจบารมีเป็นที่เคารพนับถือของคนทั้งปวง ดั่งที่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในตำราว่า“....วชิระเป๊กพรหมสามหน้า ยศทั่วฟ้าเหลือหลาย....”

 

แก้วโป่งข่าม แก้ววชิระเป๊กพรหมสามหน้า่แก้ววชิระเป๊กพรหมสามหน้า


9.) แก้ววิฑูรย์ขนทราย

 

แก้วโป่งข่าม แก้ววิฑูรย์ขนทราย     

โป่งข่าม แก้ววิฑูรย์ขนทราย

แก้ววิฑูรย์ขนทรายเป็นแก้วโป่งข่ามที่มีความใสโปร่งแสงไม่มีสี ตะกอนแร่ที่อยู่ภายในมีลักษณะเป็นเส้นขนใสคล้ายแก้วสีออกน้ำตาลอ่อน ขนาดของเส้นขนนั้นเล็กมาก เป็นเส้นตรงเรียวยาวปลายแหลมเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบอัดแน่นอยู่ภายในแก้ว มองดูเป็นมิติลึกเข้าไป หากวางแก้ววิฑูรย์ขนทรายไว้นิ่ง ๆ จะมองเห็นแสงสะท้อนคาดยาวอยู่ตรงกลางแก้วลักษณะเดียวกันกับ CAT’S EYE แต่เมื่อขยับแก้วไปมา จะมองเห็นแสงแวววาววิ่งไล่ไปตามเส้นขนทุกเส้น ดูสวยงามอ่อนไหวเหมือนกับเส้นขนจริงของเนื้อทราย (ซึ่งเป็นกวางชนิดหนึ่ง) ในอดีตยุคที่โป่งข่ามได้รับความนิยมถึงขีดสุด (ประมาณปี พ.ศ.2513) แก้ววิฑูรย์ขนทรายถูกจัดอันดับให้เป็นแก้วโป่งข่ามที่มีผู้นิยมแสวงหากันมากในลำดับต้น ๆ เนื่องจากเป็นแก้วชนิดที่หายากมีจำนวนน้อย เชื่อกันมาแต่โบราณว่าผู้ที่ได้สวมใส่แก้ววิฑูรย์ขนทรายติดตัว ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ใดก็จะเป็นที่รักใคร่ของบุคคลทั้งหลายที่ได้รู้จักพบเห็น เนื่องจากแก้ววิฑูรย์ขนทรายนั้นมีอานุภาพให้คุณในการช่วยเสริมสง่าราศรีให้โดดเด่น ช่วยให้ผู้ที่ได้ครอบครองแก้วกลายเป็นคนที่เสน่ห์ ดึงดูดให้คนพอใจโดยเฉพาะกับเพศตรงข้าม

  

10.) แก้วปทัมราค


ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หน้า 661 ได้กำหนดนิยามความหมายของคำว่า “ประทุมราค” หรือ “ปัทมราค” หมายถึง พลอยสีแดง หรือ ทับทิม แต่ในตำราโบราณแก้ววิเศษ 24 ชนิดเมืองล้านนา ได้อธิบายถึงลักษณะโดยรวมของแก้วปทัมราคไว้ว่า เป็นแก้วรัตนชาติชนิดหนึ่งที่มีสีแดงเข้มออกดำ(เดิมเรียกว่า “แก้วมหานิลปทัมราค”) ซึ่งในบรรดาแก้วรัตนชาติทั้ง 9 ชนิดนั้น มีอยู่เพียงสามชนิดที่เป็นสีแดงได้แก่ โกเมน (GARNET) , เพทาย (RED ZIRCON) ,ทับทิม (RUBY) แต่ที่เป็นสีแดงเข้มออกดำมี่อยู่เพียงสองชนิดเท่านั้นคือ โกเมน และ เพทาย ยกเว้นทับทิม เนื่องจากเป็นสีแดงอ่อนอมชมพู จึงสรุปได้ว่าแก้วปทัมราคในความหมายที่ถูกต้องตรงตามตำรานั้น เจาะจงให้เป็นโกเมนหรือเพทายอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ โดยมุ่งเน้นที่ความเป็นสีแดงเข้มออกดำเท่านั้น ในด้านความเชื่อ เชื่อถือกันมาแต่โบราณว่า แก้วปทัมราคมีความโดดเด่นในด้านโชคลาภทรัพย์สินเงินทอง หรือเป็นแก้วอัญมณีนำโชคด้านทรัพย์สินเงินทองอย่างแท้จริง อีกทั้งยังช่วยให้แคล้วคลาดจากภัยอันตราย และนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตอีกด้วย

แก้วโป่งข่าม แก้วปทัมราค

แก้วปทัมราค



คำเตือน : เป็นความเชื่อเฉพาะกลุ่มบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณ

 

 

BetFair F.BetRoll UK Bookies
Ladbrokes Review L.BetRoll

เมนูหลัก

WIll Hill BookiesW.BetRoll here...
United Kingdom BetRoll Bookmakers
free web counter