Prakard2


buttonclick2

 

head-2

พระคงกรุเก่า

 

 

พระคง กรุเก่า ลำพูน

พระคงกรุเก่า  กรุวัดอาพัทธาราม (วัดพระคงฤาษี) จ.ลำพูน
 

กล่าวกันว่า พระคงเป็นพระซึ่งนักรบโบราณรู้จักกันดี มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้นิมนต์พระคงติดตัวหรืออมไว้ในปากเวลาออกสนามรบอยู่เสมอ มูลเหตุซึ่งทำให้ผู้คนสมัยก่อนได้รู้จักพระคงก็เนื่องมาจากการชำรุดทรุดโทรมขององค์พระเจดีย์โดยสภาพหรือเป็นผลมาจากภัยธรรมชาติเช่นแผ่นดินไหวทำให้พระเจดีย์ชำรุดเสียหาย เป็นต้น ต่อมาเมื่อมีการบูรณะซ่อมแซมพระเจดีย์ หรือมีการสร้างวัดและพระเจดีย์ในสถานที่ใด ก็มักจะนำพระคงซึ่งเป็นพระกรุเก่าของเดิม มาเป็นแม่แบบในการขึ้นพิมพ์หรือล้อพิมพ์อยู่เสมอ ๆ


สำหรับการเปิดกรุของพระคงในยุคหลัง เท่าที่มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรสรุปได้ว่า ประมาณปี พ.ศ. 2485 ได้มีการเปิดกรุพระคงอย่างเป็นทางการที่วัดพระคงฤาษี หรืออาพัทธาราม (จากตำนานจตุรพุทธปราการ หรือวัดทั้ง 4 มุมเมืองของนครหริภุญชัย) ขึ้นเป็นแห่งแรก ต่อมาได้มีการขุดค้นพบพระคงตามวัดต่าง ๆ ในจังหวัดลำพูนอีกด้วยกันหลายวัด เช่น วัดมหาวัน (มหาวนาราม) , วัดดอนแก้ว (อรัญญิกรัมมการาม) , วัดประตูลี้ (มหารัตตาราม) เป็นต้น แต่กรุที่พบพระคงจำนวนมากที่สุด (หลายพันองค์) คือกรุวัดพระคงฤาษีจึงสันนิษฐานกันว่า แหล่งกำเนิดของพระคงที่แท้จริง อยู่ที่วัดพระคงฤาษีนั่นเอง ส่วนการพบพระคงที่กรุอื่น ๆ จะพบเพียงจำนวนน้อยไม่มากนักเพราะเป็นเพียงแค่พระฝากกรุ
 

ด้านหลังพระคง กรุเก่า ลำพูน

ลักษณะของพระคง จังหวัดลำพูน

 

ศิลปะพิมพ์พระ : เป็นพระศิลปะทวารวดียุคปลาย มีอายุการสร้างประมาณ 1,000 ปี เช่นเดียวกันกับพระเปิม ตลอดจนลักษณะพิมพ์ทรง มีความลม้ายคล้ายคลึงกันกับพระเปิม เพียงแต่รายละเอียดบางประการของพระคงที่แตกต่างออกไปจากพระเปิมคือ ขนาดของพระคงจะเล็กกว่าพระเปิม อีกทั้งพระคงประทับนั่งอยู่บนฐานบัลลังก์ 4 ชั้น ประดับด้วยฐานบัวลูกแก้ว 2 ชั้น ลักษณะตะแคงเข้าหากัน ที่ด้านหลังขององค์พระนั่งพิงผนังโพธิ์บัลลังก์ มีจำนวนใบโพธิ์ 20 ใบ ด้านหลังนูนแบบหลังเต่า บางองค์นูนมากบางองค์นูนน้อยแตกต่างกันออกไปในแต่ละองค์

 

เนื้อพระ : เป็นพระดินเผาประเภทเนื้อแกร่ง เช่นเดียวกันกับพระเปิม จำแนกได้ 5 สี คือ สีดอกพิกุลแห้งหรือสีเหลืองออกน้ำตาล , สีแดง , สีขาว , สีเขียว และสีดำ องค์ประกอบของเนื้อพระเป็นแบบเดียวกันกับพระเปิมทุกประการ

 

ผู้สร้างพระคง : สันนิษฐานกันว่าพระคงเป็นพระเครื่องที่สร้างในยุคสมัยเดียวกันกับพระเปิม ดังนั้นผู้สร้างพระคง จึงน่าจะเป็นคนเดียวกันกับผู้ที่สร้างพระเปิม (ดูรายละเอียดได้จากหัวข้อพระเปิม กรุวัดดอนแก้ว จ.ลำพูน)

 

พระคง+ใบเซอร์(ใบรับรองพระ)


i163018021 98954 3

 

BetFair F.BetRoll UK Bookies
Ladbrokes Review L.BetRoll
WIll Hill BookiesW.BetRoll here...
United Kingdom BetRoll Bookmakers
free web counter