Prakard2

 



 


" อุทเทสิกเจดีย์ หมายถึง สถานที่หรือสิ่งของซึ่งถูกสร้างขึ้นด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ วัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา หรืออุทิศต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยไม่จำกัดรูปแบบสิ่งที่สร้าง เช่น พระพิมพ์-พระเครื่อง , พระพุทธรูป , ธรรมจักร , เจดีย์ เป็นต้น "

 

 

 
 พระเครื่องวัดสะตือ ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
 

พระสมเด็จพิมพ์ปางลีลา วัดสะตือ

รูปหล่อรุ่นแรก วัดสะตือ

 

(รูปซ้ายแถวที่ 1) พระสมเด็จกรุเก่าวัดสะตือ พิมพ์ปางลีลา (กรุเจดีย์เก่าริมแม่น้ำป่าสัก) จัดเป็นพระกรุเก่ากรุแรกที่ทางวัดสะตือได้ทำการเปิดกรุอย่างเป็นทางการ ในช่วงเวลาก่อนทำการบูรณะซ่อมแซมพระนอนใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.2499 พระสมเด็จองค์ตามรูป ผู้เขียนได้รับตกทอดต่อมาจากบิดา ซึ่งเป็นคนเก่าแก่ในพื้นที่ และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการเปิดกรุในช่วงเวลาขณะนั้น เพื่อเคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนตำแหน่งของพระเจดีย์ มาไว้ตรงบริเวณใกล้ๆพระนอน โดยพระสมเด็จที่พบอยู่ในพระเจดีย์เก่าทุกองค์ เนื้อพระจะเหมือนกันกับพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเจดีย์ใหญ่ กทม. จะแตกต่างกันก็เพียงแบบพิมพ์ของพระที่ไม่ใช่รูปทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ส่วนจำนวนของพระเครื่องที่พบทั้งหมด (เฉพาะพระที่มีสภาพสมบูรณ์) จะมีจำนวนเพียงเล็กน้อยไม่ถึงร้อยองค์ (วิธีการพิจารณาพระสมเด็จกรุเจดีย์เก่าริมแม่น้ำป่าสัก ผู้เขียนไม่ขอลงลึกในรายละเอียด...แต่โปรดระวังพระสมเด็จกรุวัดสะตือของปลอมไว้ด้วย เนื่องจากปัจจุบัน ได้มีการนำพระเครื่องสมเด็จปลอมจากที่อื่น มาหลอกลวงว่าเป็นพระสมเด็จกรุวัดสะตือ ทั้งๆที่เนื้อหาของพระสมเด็จปลอมเหล่านั้น เป็นคนละเรื่องแตกต่างจากพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเจดีย์ใหญ่ที่เป็นพระแท้โดยสิ้นเชิง) นับเป็นพระสมเด็จเพียงกรุเดียวของวัดสะตือ ที่นักสะสมพระเครื่องรุ่นเก่าในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาต่างแสวงหาและให้การยอมรับว่า เป็นพระเครื่องที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตารามมหาวิหาร กทม. ได้เป็นผู้สร้างและบรรจุลงกรุไว้จริง ในคราวเดียวกันกับที่สร้างพระนอนใหญ่. 

 

พระพุทธไสยาสน์ วัดสะตือ

รูปหล่อบรรจุกริ่งรุ่น 2 วัดสะตือ

(รูปขวาแถวที่ 1) รูปหล่อรุ่นแรก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จัดสร้างโดยพระครูพุทธไสยาภิบาล (หมึก) อินฺทสโร ตำแหน่งเจ้าอาวาสในขณะนั้นเป็นแม่งาน และทำพิธีพุทธาภิเษกที่วัดสะตือ ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2510 เนื่องจากพระรูปหล่อรุ่นแรกนี้มีประสบการณ์มากมาย จึงได้รับความนิยมและมีราคาเช่าหาที่ค่อนข้างสูง ทำให้มีพระปลอมระบาดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน หากนักสะสมท่านใดขาดความชำนาญหรือไม่เคยพบเห็นพระแท้ของจริงมาก่อน จะมีโอกาสถูกหลอกเช่าพระปลอมในราคาพระแท้ได้สูงถึง 80% จึงควรระมัดระวังให้มาก. 

 

(รูปซ้ายแถวที่ 2) พระพิมพ์ปางพุทธไสยาสน์ เนื้อดินเผา ทางวัดสะตือได้ทำการจัดสร้างขึ้นในคราวที่มีงานเฉลิมฉลองพระพุทธไสยาสน์มีอายุครบรอบ 100 ปี พ.ศ.2513 ซึ่งพระพิมพ์ปางไสยาสน์ เนื้อดินเผารุ่นนี้ ถึงแม้จะมีราคาค่านิยมที่ไม่แพง แต่ก็มีพระปลอมระบาดมานานตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 แล้ว (ทำปลอมออกมาพร้อมกันกับรูปหล่อรุ่นแรก + รุ่น 2 ปลอม และเหรียญกลมหลวงพ่อโตปลอม) สำหรับท่านที่เป็นนักสะสมและต้องการหาเช่าพระแท้เก็บไว้บูชา ควรศึกษาอย่างละเอียดในเรื่องของตำหนิจุดตายที่ซ่อนอยู่ในพิมพ์พระ + ลักษณะเนื้อดินของพระแท้ + ขอบพิมพ์ของพระแท้ ให้ชัดเจนก่อนทำการเช่าบูชา. 

 

เปรียบเทียบแท้ปลอมรูปหล่อบรรจุกริ่ง รุ่น2 วัดสะตือรูปหล่อบรรจุกริ่ง รุ่น3 วัดสะตือ

 

(รูปขวาแถวที่ 2) รูปหล่อรุ่น 2 (บรรจุกริ่ง) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ทางวัดสะตือได้ทำการจัดสร้างขึ้นพร้อมกันกับพระพิมพ์ปางพุทธไสยาสน์ เนื้อดินเผา เมื่อครั้งที่มีงานเฉลิมฉลองพระพุทธไสยาสน์มีอายุครบรอบ 100 ปี พ.ศ.2513 แต่ควรระวังพระปลอมไว้ด้วย เนื่องจากมีการทำปลอมออกมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2542 พร้อมกันกับรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี รุ่น 1 (ดูรูปเปรียบเทียบ แท้ / ปลอม). 

 

พระเครื่องวัดสะตือ

 (รูปซ้ายแถวที่ 3) เปรียบเทียบรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี รุ่น 2 พ.ศ.2513 พระแท้ & พระปลอม. 

 

(รูปขวาแถวที่ 3) รูปหล่อรุ่น 3 (บรรจุกริ่ง) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ทางวัดสะตือได้ทำการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2516 พร้อมเหรียญพระคู่ (หลวงพ่อโตสร้าง หลวงพ่อบัตบูรณะ).

 

(รูปขวาแถวที่ 4) รวมรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดสะตือ รุ่น 1 , รุ่น 2 , และรุ่น 3 พร้อมกล่อง.

 

 

พระหลวงพ่อปาน พิมพ์ทรงครุฑเล็ก วัดบางนมโค จ.พระนครศรีอยุธยา

พระหลวงพ่อปาน ครุฑเล็ก วัดบางนมโค


เป็นพระเครื่องที่พระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน โสนันโท) แห่งวัดบางนมโค (ตั้งอยู่หมู่ 2 บ้านบางนมโค ต.บางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา) ได้สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ.2460 มีด้วยกันทั้งหมด 6 แบบพิมพ์ใหญ่ๆ เป็นพระพิมพ์ทรงประทับสัตว์ทั้งหมด ได้แก่ พิมพ์ทรงไก่ , พิมพ์ทรงครุฑ , พิมพ์ทรงหนุมาน , พิมพ์ทรงเม่น , พิมพ์ทรงปลา , และพิมพ์ทรงนก อีกทั้งยังสามารถจำแนก แยกรายละเอียดปลีกย่อยของพระทั้ง 6 แบบพิมพ์ ออกไปได้อีกประมาณ 30 กว่าแม่พิมพ์ย่อย (ไม่นับรวมแบบพิมพ์โบราณ ที่สร้างขึ้นในยุคแรกก่อนปี พ.ศ.2460) สำหรับพระพิมพ์ทรงครุฑเล็กองค์ในภาพ ได้ผ่านการประกวดติดรางวัลที่ 3 งานคุณป๋อง สุพรรณ ที่พันธุ์ทิพย์งามวงศ์วาน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ.2554.

 ใบประกาศ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
 
พระขุนแผนใบพุทราพิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง จ.ปทุมธานี

พระขุนแผนใบพุทราพิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อหร่ำ

วัดกร่าง ตั้งอยู่ หมู่1 บ้านกร่าง ต.บางกระบือ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี เมื่อประมาณปี พ.ศ.2460 หลวงพ่อหร่ำ เกสโร ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกร่างในขณะนั้น ได้ทำการจัดสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผาผสมผงวิเศษต่างๆขึ้นมาจำนวนหนึ่ง หรือที่เรียกกันว่าพระขุนแผนใบพุทรา และ พระพิมพ์เม็ดบัว โดยเฉพาะพระพิมพ์ขุนแผนใบพุทราพิมพ์ใหญ่ (ตามรูป) จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันกับพระกรุพิมพ์หัวใจกำแพง จ.กำแพงเพชร จากนั้นท่านได้นำเอาพระเครื่องที่สร้างขึ้นทั้งหมด มาทำการปลุกเสกติดต่อกันเป็นเวลานานหลายพรรษา แล้วจึงนำพระไปบรรจุกรุไว้ในองค์พระเจดีย์ด้านหน้าของพระวิหารภายในวัดกร่าง จัดเป็นพระเครื่องอีกสำนักหนึ่ง ที่สูงด้วยประสบการณ์ และเป็นพระหลักยอดนิยมของชาวจังหวัดปทุมธานี สำหรับพระองค์ในรูป ได้ผ่านการรับรองความแทัโดยสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ใบรับรองออกให้เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2557.

ใบรับรอง หลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง
   
พระเปิมแดง กรุวัดดอนแก้ว จ.ลำพูน
พระเปิมแดง  กรุวัดดอนแก้ว  จ.ลำพูน

เป็นพระเครื่องศิลปะทวารวดียุคปลาย มีอายุความเก่าประมาณ 1,250 ปีขึ้นไป ถูกขุดค้นพบจากกรุวัดดอนแก้ว ตั้งอยู่เลขที่ 208 บ้านจำบอน หมู่ที่ 3 ตำบลศรีบัวบาน อำเมือง จังหวัดลำพูน สันนิษฐานกันว่าพระเปิมที่พบจากกรุวัดดอนแก้วนั้น น่าจะถูกสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 13 หรือประมาณปี พ.ศ.1100 - 1300 สำหรับพระเปิมแดงองค์ในรูป เป็นพระที่ผ่านการประกวดติดรางวัลมาแล้วถึง 3 งานเมื่อปี พ.ศ.2550

ใบประกาศพระเปิมแดง กรุวัดดอนแก้ว จ.ลำพูน
ใบประกาศพระเปิมแดง กรุวัดดอนแก้ว จ.ลำพูน
ใบประกาศพระเปิมแดง กรุวัดดอนแก้ว จ.ลำพูน
 

พระปิดตาคลุมโปง กรุวัดท่าพระ กรุงเทพฯ

พระปิดตาคลุมโปง  กรุวัดท่าพระ  กรุงเทพฯ

เป็นพระปิดตายอดนิยมเนื้อตะกั่วผสมปรอท ที่มีอายุความเก่าประมาณ 200 ปี สร้างโดยท่านขรัวเฒ่าคลุมโปงพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองเวทย์ในอดีต จากนั้นท่านได้นำพระปิดตาทั้งหมดไปบรรจุลงกรุไว้ที่วัดท่าพระ สำหรับพระปิดตาคลุมโปงองค์นี้ เป็นพระประกวดติดรางวัลที่ 3 งานพันธุ์ทิพย์งามวงศ์วาน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ.2551.

ใบประกาศพระปิดตาคลุมโปง  กรุวัดท่าพระ  กรุงเทพฯ

พระท่ามะปราง กรุวัดสำปะซิว จังหวัดสุพรรณบุรี

พระท่ามะปราง กรุวัดสำปะซิว จังหวัดสุพรรณบุรี

เป็นพระเครื่องที่มีอายุความเก่าประมาณ 700 ปีขึ้นไป เชื่อกันว่าน่าจะถูกสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ประมาณปีพ.ศ.1857 ถูกขุดพบโดยบังเอิญตรงบริเวณรั้วบ้านของนายดี มาแสง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัดสำปะซิว (วัดสำปะซิว ตั้งอยู่เลขที่ 101 หมู่ 3 ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี) สันนิษฐานกันว่ารอบๆบริเวณวัดสำปะซิวตั้งแต่ทิศเหนือจรดทิศใต้ น่าจะเคยเป็นชุมชนร้างเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุศรีอยุธยาตอนต้น เนื่องจากมีการขุดค้นพบพระบูชาสมัยลพบุรี และพระเครื่องพิมพ์ซุ้มนครโกษา (สร้างล้อพิมพ์พระเครื่องสมัยลพบุรี) และยังพบพระพิมพ์ท่ามะปราง ซึ่งมีลักษณะโดยรวมคล้ายกันกับพระท่ามะปรางของจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และกำแพงเพชร สำหรับพระท่ามะปรางองค์ในรูป เป็นพระชนะเลิศการประกวดติดรางวัลที่ 1 งานพันธุ์ทิพย์งามวงศ์วาน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2550.

ใบประกาศพระท่ามะปราง กรุวัดสำปะซิว จังหวัดสุพรรณบุรี
 
 
เหรียญอาร์มเนื้อเงินลงยาสีแดง หลวงพ่อโสธร พ.ศ.2504 จ.ฉะเชิงเทรา
เหรียญอาร์มเนื้อเงินลงยาสีแดง หลวงพ่อโสธร พ.ศ.๒๕๐๔ จ.ฉะเชิงเทรา

 

วัดโสธรวรารามวรวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามประวัติอย่างเป็นทางการบันทึกว่า ทางวัดได้เริ่มจัดสร้างวัตถุมงคลพระเครื่อง โดยจำลองรูปแบบของหลวงพ่อโสธร มาประดิษฐานไว้ในพระเครื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2460 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในปี พ.ศ.2504 พระราชเขมากร เขมทสุสี เจ้าอาวาสวัดโสธรวรารามวรวิหารขณะนั้น ได้จัดสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อโสธรขึ้นมาหลายชนิด เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้เช่าบูชาเก็บไว้เป็นศิริมงคล หนึ่งในนั้นเป็นเหรียญอาร์มเนื้อเงินลงยาสีต่างๆ (มีทั้งหมด 5 สี 2 แบบพิมพ์) โดยได้ปั้มบอกชื่อวัดและปีที่สร้างไว้ที่ด้านหลังของเหรียญด้วย สำหรับเหรียญนี้ (ตามรูป) ได้ผ่านการรับรองความแท้ โดยสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ใบรับรองออกให้เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554

 

ใบประกาศเหรียญอาร์มเนื้อเงินลงยาสีแดง หลวงพ่อโสธร พ.ศ.๒๕๐๔ จ.ฉะเชิงเทรา
 
 
 
 
 พระเครื่องยุคแรก หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน จ.สุพรรณบุรี
 

พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ  หลวงพ่อโหน่ง

หลวงพ่อโหน่ง พิมพ์กลีบบัว

 

หลวงพ่อโหน่ง อินทสุวัณโณ วัดคลองมะดัน (วัดอัมพวัน) ต.สองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ท่านได้เริ่มสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผาขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2461 เรื่อยมาจนถึงประมาณปี พ.ศ.2473 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแจกญาติโยมในงานบุญต่างๆ ซึ่งพระเครื่องในยุคแรกๆของหลวงพ่อโหน่ง จะเป็นพระเนื้อดินละเอียดแต่แกร่ง บางองค์ก็มีแร่ดอกมะขามขึ้นกระจายประปราย คล้ายกับพระเครื่องเนื้อดินเผาเมืองกำแพงเพชร และมักจะมีการจารเปียกที่ด้านหลังของพระ (ทั้งพระเครื่องและพระบูชา) เกือบทุกองค์ ส่วนพระเครื่องในยุคหลัง มักไม่ค่อยปรากฏรอยจารที่ด้านหลังพระ เนื่องจากหลวงพ่อโหน่งท่านต้องสร้างพระในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของชาวบ้านและผู้ที่เคารพศรัทธาในตัวของท่าน แต่ก็ยังคงใช้บล๊อกเดิมของพระยุคแรก นำมากดพิมพ์พระเครื่องของท่านต่อมาเรื่อยๆ สำหรับพระเครื่องของหลวงพ่อโหน่ง (ตามรูป) ได้ผ่านการรับรองความแท้โดยสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ใบรับรองความแท้พระเครื่องพิมพ์สมเด็จอกครุฑปรกโพธิ์ ออกให้เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2555 ส่วนใบรับรองความแท้พระเครื่องพิมพ์กลีบบัวสมาธิหลังจารอุ ออกให้เมื่อวันที่ 15 พฤษจิกายน พ.ศ.2558.

ใบประกาศพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ  หลวงพ่อโหน่ง

 พระหลวงพ่อโหน่ง พิมพ์กลีบบัวจิ๋ว วัดคลองมะดัน

ใบประกาศพระพิมพ์กลีบบัวสมาธิ  หลวงพ่อโหน่ง
 
 

เหรียญหลวงพ่อท้วม รุ่นแรก พ.ศ.2475 วัดบางขวาง จ.นนทบุรี

เหรียญหลวงพ่อท้วม  รุ่นแรก พ.ศ.2475  วัดบางขวาง  จ.นนทบุรี


เป็นเหรียญเพียงรุ่นเดียว ที่หลวงพ่อท้วม (พระครูศีลาภิรม ธมฺมธโร) ได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2475 ในคราวที่ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูศีลาภิรม (ขณะนั้นท่านมีอายุ 72 ปี) เพื่อแจกให้กับคณะศิษย์ซึ่งได้จัดงานฉลองเลื่อนสมณศักดิ์ให้กับท่าน เหรียญรุ่นนี้มีจำนวนการสร้างไม่มากนัก เหรียญแท้ๆพบเห็นได้น้อยมาก ค่านิยมของเหรียญรุ่นนี้ในพื้นที่จะอยู่ที่ตัวเลขหกหลัก ส่วนเหรียญปลอม ได้มีการทำปลอมออกมานานแล้วตั้งแต่ตอนต้นปี พ.ศ.2548 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันซึ่งพบเห็นได้โดยทั่วไป สำหรับเหรียญหลวงพ่อท้วมรุ่นแรกตามรูป เป็นพระที่ผ่านการประกวดติดรางวัลมาแล้วถึง 2 งาน โดยประกวดติดรางวัลที่ 2 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2550 หนึ่งงาน และประกวดติดรางวัลที่ 3 งานประกวดพระเครื่องของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย เมื่อเมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2558 อีกหนึ่งงาน.

 
ใบประกาศเหรียญหลวงพ่อท้วม  รุ่นแรก พ.ศ.2475  วัดบางขวาง  จ.นนทบุรี
 ใบประกาศเหรียญหลวงพ่อท้วม  รุ่นแรก พ.ศ.2475  วัดบางขวาง  จ.นนทบุรี
 
เหรียญหล่อวัดระฆังหลังค้อน วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
เหรียญหล่อวัดระฆังหลังค้อน  วัดระฆังโฆสิตาราม  กรุงเทพฯ

 

เป็นพระหล่อเนื้อโลหะผสมแก่ทองเหลือง (พระองค์ในรูป) ถูกสร้างขึ้นประมาณ ปี พ.ศ.2460 โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณฉันทมหาเถร (เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) เจ้าอาวาสลำดับที่ 8 แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม กทม. โลหะที่ใช้ในการสร้างพระ เป็นโลหะผสมกับชนวนโลหะที่เหลือจากการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง วัดเบญจมบพิตรส่วนหนึ่ง เป็นแผ่นยันต์จากพระคณาจารย์ที่เข้าร่วมในพิธีพุทธาภิเษกอีกส่วนหนึ่ง รวมทั้งผสมกับชนวนที่เหลือจากการใช้หล่อพระเครื่องและพระบูชาของเก่า ในพิธีสำคัญต่างๆของยุคนั้นอีกส่วนหนึ่ง ในด้านพระปลอม ได้มีการทำพระวัดระฆังหลังค้อนปลอมมานานกว่า 60 ปีแล้ว โดยเริ่มทำปลอมออกมาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2500 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน หากท่านใดที่ไม่เคยได้สัมผัสกับพระแท้ของจริงมาก่อน จะมีโอกาสถูกหลอกด้วยพระปลอมสูงถึง 90% จึงควรระวังให้มาก.

เหรียญหลวงปู่ทวด รุ่น 3 แขนขีด เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง พ.ศ.2503 - 2504 วัดช้างให้ จ.ปัตตานี.

เหรียญหลวงปู่ทวด รุ่น 3 วัดช้างให้  จ.ปัตตานี

 

เป็นเหรียญที่จัดสร้างขึ้นโดยพระครูวิสัยโสภณ (ทิม ธมฺมธโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดราษฎร์บุรณะ (วัดช้างให้) เมื่อประมาณปี พ.ศ.2503 - 2504 สำหรับเหรียญหลวงปู่ทวดเหรียญนี้ (ตามรูป) ได้ผ่านการรับรองความแท้ โดยสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ใบรับรองออกให้ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2550.

 ใบประกาศเหรียญหลวงปู่ทวด รุ่น 3 วัดช้างให้  จ.ปัตตานี.
 
 

พระหลวงปู่ทวด พิมพ์ใหญ่ พ.ศ.2506 วัดพะโค๊ะ จ.สงขลา

พระหลวงปู่ทวด พิมพ์ใหญ่ พ.ศ.2506  วัดพะโค๊ะ  จ.สงขลา

 

วัดพะโคะ (วัดราชประดิษฐาน) เขาพัทธสิงค์ หมู่ที่ 6 ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา นับเป็นอีกวัดหนึ่งที่มีประวัติความสัมพันธ์เกี่ยวข้องโดยตรงกับหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ซึ่งในปี พ.ศ.2506 ทางวัดพะโค๊ะได้ทำการจัดสร้างพระเครื่องและพระบูชาหลวงปู่ทวดขึ้นมาชุดหนึ่ง โดยทำพิธีพุทธาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่ทั้งพิธีพุทธและพิธีพราหมณ์อย่างครบถ้วน จากนั้นได้มีผู้ที่ศรัทธาต่อองค์หลวงปู่ทวด นำพระเครื่องหลวงปู่ทวดเนื้อว่านจากวัดพะโค๊ะรุ่นนี้ติดตัวไปบูชา แล้วพบเจอกับประสบการณ์ต่างๆมากมาย จึงเกิดเป็นกระแสความนิยมพระเครื่องเนื้อว่านหลวงปู่ทวด วัดพะโค๊ะ รุ่นปี พ.ศ.2506 ขึ้นมา สำหรับพระหลวงปู่ทวด พิมพ์ใหญ่ พ.ศ.2506 วัดพะโค๊ะ องค์ในรูป ได้ผ่านการรับรองความแท้ โดยสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ใบรับรองออกให้เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2555.

ใบรับรองพระหลวงปู่ทวด พิมพ์ใหญ่ พ.ศ.2506  วัดพะโค๊ะ  จ.สงขลา
 
 
   
พระเครื่องหลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว จ.สุพรรณบุรี
 

พระมเหศวร พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาวพระอุปคุต หลังพระพุทธ หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาวหลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว ต.ทับตีเหล็ก อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์เลื่องชื่อแห่งเมืองสุพรรณในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกรูปหนึ่ง ที่ทหารอากาศและ ชาวสุพรรณในสมัยนั้นต่างเลื่อมใสศรัทธา เนื่องจากประสบพบเจอกับปาฏิหารย์จากพระเครื่องของท่านอยู่บ่อยครั้ง หลวงพ่อโบ้ยท่านได้เริ่มสร้างพระเครื่องแจกญาติโยมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2473 เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.2508 ซึ่งพระเครื่องที่ท่านสร้างในยุคแรกช่วงปี พ.ศ.2473 จะเป็นพระเนื้อโละผสมแก่ทองเหลืองเกือบทั้งหมด (ตามรูปซ้ายบนและขวาบน) ส่วนพระเนื้อสำริดเงินสีทองเหลืองซีดๆออกขาวก็มีอยู่บ้างแต่เป็นจำนวนน้อย หากเป็นพระสีดอกจำปาอมส้มคล้ำแก่ทองแดง หรือเป็นพระเนื้อทองเหลืองเพียงอย่างเดียว ไม่มีโลหะอย่างอื่นผสมปนอยู่ในเนื้อพระเลย นักสะสมพระเครื่องเมืองสุพรรณรุ่นเก่าจะไม่แตะต้องเพราะถือว่าเป็นพระปลอม (ส่วนพระปลอมในปัจจุบัน จะทำเนื้อพระและแบบพิมพ์ออกมาดีจนเกือบเหมือนพระแท้ แต่ขนาดของพระปลอมจะเล็กกว่าพระแท้ประมาณ 2 - 3 มิลลิเมตร) พระรูปเหมือน เนื้อผงชานหมาก พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาวพระรูปเหมือน เนื้อผงธูป พิมพ์ใหญ่ หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาวต่อมาในราวปี พ.ศ.2500 - 03 (ยุคหลังจากที่ท่านได้สร้างพระเครื่องเนื้อดินเผาปางประทับสัตว์) ช่วงเวลาขณะนั้นหลวงพ่อโบ้ยท่านได้ชราภาพมากแล้ว แต่ความต้องการพระเครื่องของหลวงพ่อโบ้ยในกลุ่มลูกศิษย์ยังมีอย่างต่อเนื่อง ท่านจึงได้สร้างพระผงพิมพ์สี่เหลี่ยมรูปเหมือน ใต้ฐานเขียนเป็นภาษาขอมไทยว่า "พระโบ้ย" ขึ้นมาอีก 2 แม่พิมพ์ 2 ขนาด คือพิมพ์ใหญ่กับพิมพ์เล็ก โดยในครั้งแรก ท่านได้สร้างพระออกมาเพียงเนื้อเดียวคือเนื้อผงชานหมาก (ตามรูปซ้ายล่าง) แต่เนื่องจากผงชานหมากที่ท่านเก็บไว้มีอยู่อย่างจำกัดและหมดสิ้นไป ท่านจึงต้องหยุดสร้างพระเนื้อผงชานหมาก แล้วเปลี่ยนมาใช้ผงธูปที่ท่านได้จุดบูชาพระพุทธ รูปนำมาใช้สร้างแทน (ตามรูปขวาล่าง) หลังจากนั้น ผงธูปที่ท่านได้เก็บไว้เริ่มไม่เพียงพอและหมดไปเช่นเดียวกันกับผงชานหมาก ท่านจึงต้องหยุดสร้างพระเนื้อผงธูป แล้วเปลี่ยนมาใช้ดินเสกเป็นวัตถุดิบในการสร้างพระเครื่องรูปเหมือนเนื้อดินเผาแทน ซึ่งพระเครื่องรูปเหมือนหลวงพ่อโบ้ยเนื้อดินเผา จัดเป็นพระที่ถูกสร้างขึ้นครั้งหลังสุด มีระยะเวลาในการสร้างยาวนานที่สุด และมีจำนวนการสร้างที่มากที่สุด คือมากกว่าพระเนื้อผงชานหมากและเนื้อผงธูป (ปัจจุบัน ทั้งพระเนื้อผงชานหมากและพระเนื้อผงธูป เริ่มมีการทำปลอมออก มาบ้างแล้ว หากนักสะสมพระเครื่องท่านใดขาดความชำนาญ หรือไม่เคยได้สัมผัสกับพระแท้ของจริงมาก่อน จะมีโอกาสได้พระปลอมสูง จึงควรระวังให้มาก).

     
 

พระสมเด็จปรกโพธิ์สะดุ้งกลับ พิมพ์เอวใหญ่ 2 ขอบ วัดเขาตะเครา จ.เพชรบุรี

พระสมเด็จปรกโพธิ์สะดุ้งกลับ  พิมพ์เอวใหญ่ 2 ขอบ  วัดเขาตะเครา  จ.เพชรบุรี

วัดเขาตะเครา ตั้งอยู่เลขที่ 59 หมู่ 5 ต.บางครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าวัดนี้ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อใด มีเพียงข้อสันนิษฐานจากบางส่วนตามบทประพันธ์เพลงยาวหม่อมภิมเสน ที่ทำให้เชื่อกันว่า วัดนี้น่าจะถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุศรีอยุธยายังเป็นราชธานี ในส่วนของพระเครื่องที่ทางวัดเขาตะเคราได้จัดสร้างขึ้นมานั้น มีด้วยกันหลายรุ่นหลายแบบต่างกรรมต่างวาระกัน โดยเริ่มจัดสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2460 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งค่านิยมของพระเครื่องแต่ละรุ่น จะแตกต่างกันออกไปตามประสบการณ์ที่มีผู้นำไปบูชาแล้วได้ประสบพบเจอ จนเป็นที่ยอมรับกันในวงกว้าง สำหรับพระองค์ในรูป เป็นพระสมเด็จปรกโพธิ์สะดุ้งกลับ พิมพ์เอวใหญ่ 2 ขอบ (บล็อคไม้สัก) ได้ผ่านการรับรองความแท้จากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ใบรับรองออกให้เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2550.

 
ใบประกาศพระสมเด็จปรกโพธิ์สะดุ้งกลับ  พิมพ์เอวใหญ่ 2 ขอบ  วัดเขาตะเครา  จ.เพชรบุรี
 

    พระพุทธบาทปิดทอง เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง     กรุวัดวังแดงเหนือ จ.พระนครศรีอยุธยา

พระพุทธบาทปิดทอง เนื้อตะกั่วสนิมแดง กรุวัดวังแดงเหนือ

เป็นพระเครื่องที่ติดผนังอยู่ในพระอุโบสถสมัยกรุงศรีอยุธยา พบจากกรุวัดวังแดงเหนือ ต.วังแดง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา โดยพระเครื่องทั้งหมดที่พบจะมีด้วยกันหลายแบบพิมพ์ ทั้งพิมพ์เกี่ยวกับพระพุทธประวัติปางต่างๆ และพระพิมพ์ปางประจำวัน ซึ่งพระติดผนังที่พบจากกรุวัดนี้ จะมีทั้งพระเนื้อชินเงินผิวปรอทและพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง โดยเฉพาะพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง จะมีลักษณะเป็นแผ่นบางมาก คล้ายแผ่นทองคำดุนลายพระพิมพ์ที่พบจากกรุวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ด้านหน้าของพระกรุวัดวังแดงเหนือทุกองค์จะมีทองคำปิดไว้ สำหรับพระองค์ในรูป เป็นพิมพ์พระพุทธบาทจำลองเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ภายในรอยพระพุทธบาทประกอบไปด้วยสัญลักษณ์มงคล108 นับเป็นพระกรุพิมพ์หายากพิมพ์หนึ่งซึ่งมีจำนวนการสร้างที่น้อย และไม่ค่อยปรากฏให้ได้พบเห็นจากที่ใด.

 

พระปิดตารุ่นแรก เนื้อผงจุ่มรัก หลวงปู่สาย วัดบางรักใหญ่ จ.นนทบุรี

พระปิดตารุ่นแรก เนื้อผงจุ่มรัก หลวงปู่สาย วัดบางรักใหญ่ จ.นนทบุรี

เป็นพระปิดตารุ่นแรก เนื้อผงจุ่มรัก ซึ่งหลวงปู่สายท่านได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2527 สำหรับพระปิดตาองค์ในรูป ได้ผ่านการประกวดพระเครื่องในท้องที่จังหวัดนนทบุรี ติดรางวัลที่ 1 งานตลาด อ.ต.ก.3 จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2550.

 ใบประกาศพระปิดตารุ่นแรก เนื้อผงจุ่มรัก หลวงปู่สาย วัดบางรักใหญ่ จ.นนทบุรี
 

พระกริ่งอรหัง วัดราชบพิธฯ หลวงพ่อโอภาสี พ.ศ.2498 กรุงเทพฯ

พระกริ่งอรหัง  วัดราชบพิธฯ  หลวงพ่อโอภาสี  พ.ศ.2498  กรุงเทพฯ

 

เป็นพระกริ่งที่จัดสร้างโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 และทำพิธีพุทธาภิเษกซึ่งมีพระคณาจารย์จำนวน 108 รูปนั่งปรกปลุกเสกที่วัดราชบพิธฯ โดยจำลองรูปแบบของพระกริ่งอรหังมาจากองค์พระพุทธอังคีรส ซึ่งเป็นพระประธานในพระอุโบสถของวัดราชบพิธฯ ในการนี้ หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด กรุงเทพฯ ได้มอบชนวนทองเก่าพันปี สำหรับใช้เป็นส่วนผสมในการสร้างพระกริ่งอรหังรุ่นนี้ด้วย ซึ่งพระกริ่งอรหังที่ได้จัดสร้าง มีจำนวนทั้งสิ้น 10,009 องค์ เป็นพระกริ่ง 2 หน้า (พระคะแนน) จำนวน 100 องค์.

 
 

พระสมเด็จเผ่า พิมพ์ทรงเจดีย์ พ.ศ.2495 วัดอินทรวิหาร กรุงเทพฯ

พระสมเด็จเผ่า พิมพ์ทรงเจดีย์ พ.ศ.2495  วัดอินทรวิหาร  กรุงเทพฯ

 

สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2495 โดยพระครูสังฆรักษ์ วัดอินทรวิหาร เป็นเจ้าพิธีฝ่ายสงฆ์ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นประธานฝ่ายฆราวาสในการจัดสร้าง ซึ่งพระสมเด็จที่สร้างจะมีด้วยกันหลายแบบพิมพ์ แต่พิมพ์มาตรฐานที่ได้รับความนิยมซึ่งมีอยู่ในรายการประกวดพระเครื่องทุกงาน จะเป็นพิมพ์สมเด็จอกร่องหูบายศรี , พิมพ์ทรงเจดีย์ , และพิมพ์จัมโบ้ สำหรับพระองค์ในรูป ได้ผ่านการประกวดติดรางวัลที่ 3 งานพันธุ์ทิพย์งามวงศ์วาน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550.

 ใบประกาศพระสมเด็จเผ่า พิมพ์ทรงเจดีย์ พ.ศ.2495  วัดอินทรวิหาร  กรุงเทพฯ
 
 


เหรียญหลวงพ่อช่วง รุ่น 2 เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง พ.ศ.2496 ออกวัดลานนาบุญ จ.นนทบุรี

เหรียญหลวงพ่อช่วง รุ่น 2 เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง  พ.ศ.2496  ออกวัดลานนาบุญ  จ.นนทบุรี

 


จัดเป็นเหรียญรุ่น 2 ของหลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังยุคสงครามอินโดจีนของจังหวัดนนทบุรี โดยเหรียญรุ่นนี้ทางวัดลานนาบุญ จ.นนทบุรี ได้จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2496 ซึ่งขณะนั้นทางวัดลานนาบุญได้จัดงานเฉลิมฉลองพระคันธาระราช และได้นิมนต์หลวงพ่อช่วงมาทำการปลุกเสก พร้อมทั้งแจกเหรียญรุ่นนี้ให้กับผู้ที่มาร่วมทำบุญในงานวันนั้น สำหรับเหรียญในรูป เป็นเหรียญทองแดงกะไหล่ทอง บล็อคทับ ๔ (สายฝน) ได้ผ่านการรับรองความแท้จากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ใบรับรองออกให้เมื่อวันที่ 15 พฤษจิกายน พ.ศ.2558.

 

 ใบรับรองความแท้เหรียญหลวงพ่อช่วง รุ่น 2 พ.ศ.2496 จ.นนทบุรี
 
 
 
 
 
 พระเครื่องและเครื่องราง หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง จ.นนทบุรี
 

เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง

พิสมรใบลานยุคแรก หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง จ.นนทบุรี

 

( รูปซ้ายบน ) เป็นเหรียญรุ่นแรก (อย่างเป็นทางการ) ที่หลวงปู่เหรียญท่านได้สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ.2516 จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,000 เหรียญ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแจกให้กับศิษยานุศิษย์และชาวบ้านในละแวกวัด สำหรับเหรียญในรูป ได้ผ่านการรับรองความแท้จากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ใบรับรองออกให้เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554. 

 

( รูปขวาบน ) เป็นเครื่องรางพิสมรใบลานยุดแรก ที่หลวงปู่เหรียญได้สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ.2516 (พี่ชายของผู้เขียนได้รับพิสมรใบลานนี้จากหลวงปู่เหรียญ ในช่วงเวลาก่อนที่ท่านจะสร้างเหรียญรุ่นแรก) โดยหลวงปู่ท่านได้สั่งให้เด็กวัดไปตัดใบลานมาจากในสวน จากนั้นท่านได้นำใบลานมาลงอักขระยันต์ แล้วม้วนถักเชือกด้วยลายซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของวัดบางระโหง วัตถุประสงค์เพื่อแจกให้กับลูกศิษย์ใกล้ชิดและผู้ที่มาช่วยงานในวัด ใบรับรองความแท้ เหรียญรุ่นแรก วัดบางระโหง
ตระกรุดโทนยุคแรก หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง จ.นนทบุรีโดยก่อนแจกหลวงปู่เหรียญท่านจะกำชับกับศิษย์ทุกคนว่า ให้แขวนไว้ที่คอเท่านั้น ห้ามนำไปแขวนในที่ต่ำเด็ดขาด ส่วนจำนวนของพิสมรใบลานที่สร้างในครั้งนั้น มีจำนวนจำกัดคาดว่าไม่น่าจะเกิน 100 ดอก จัดเป็นสุดยอดเครื่องรางของหลวงปู่เหรียญอีกชนิดหนึ่งที่หาชมยาก สร้างน้อย แต่มากด้วยประสบการณ์ของผู้ที่ได้รับไปบูชา. 

 

( รูปซ้ายกลาง ) ใบรับรองความแท้จากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ออกให้เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554. 

 

รูปถ่ายสีหลวงปู่เหรียญ  หลังลงอักขระยันต์ วัดบางระโหงพิสมรเล็ก หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง

 

( รูปขวากลาง ) ตะกรุดโทน (ขนาด 4 นิ้ว) สร้างในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันกับเหรียญ รุ่น 2 คือประมาณปี พ.ศ.2521. 

 

( รูปซ้ายล่าง ) รูปถ่ายสีหลวงปู่เหรียญ หลังลงอักขระยันต์ (ลายมือหลวงปู่เหรียญ) สร้างประมาณปี พ.ศ.2529.

 

( รูปขวาล่าง ) พิสมรเล็ก (ผ่านการใช้มาอย่างโชกโชน) สร้างในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันกับเหรียญ รุ่น 4 คือประมาณปี พ.ศ.2528.

 

 

พระผงของขวัญ วัดเกาะจันทร์ พ.ศ.2497 จ.ฉะเชิงเทรา

พระผงของขวัญ  วัดเกาะจันทร์  พ.ศ.2497  จ.ฉะเชิงเทรา

เป็นพระเครื่องที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2497 โดยพระครูเมืองเจ้าอาวาสวัดเกาะจันทร์ขณะนั้น ได้ขอให้หลวงปู่อินทร์ซึ่งเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กทม. ช่วยเป็นธุระดำเนินการจัดสร้าง โดยหลวงปู่อินทร์ได้ขอผงวิเศษจากหลวงพ่อสด เพื่อใช้ในการสร้างพระเครื่อง พร้อมทั้งขอความเมตตาจากหลวงพ่อสด ให้ช่วยอธิษฐานจิตปลุกเสกพระเครื่องด้วยวิชาธรรมกาย นับเป็นพระเครื่องที่น่าสนใจอีกสำนักหนึ่ง เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับหลวงพ่อสดวัดปากน้ำโดยตรง แต่โปรดระวังพระปลอมไว้ด้วย เนื่องจากมีการทำปลอมออกมานานกว่า 30 ปีแล้ว พระปลอมจะมีด้วยกันหลายฝีมือ บางฝีมือก็ทำออกมาได้แนบเนียนเหมือนพระของแท้มาก จึงควรรอบคอบอย่าประมาท.

เปรียบเทียบพระแท้ปลอมพระผงของขวัญ  วัดเกาะจันทร์  พ.ศ.2497  จ.ฉะเชิงเทรา

 

พระผงธรรมขันธ์ รุ่น 4 วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 

พระผงธรรมขันธ์  รุ่น 4  วัดปากน้ำ  ภาษีเจริญ  กรุงเทพฯเป็นพระเนื้อผงที่ทางวัดปากน้ำได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น โดยมีพระเดชพระคุณพระธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าอาวาสเป็นประธาน และได้มอบหมายให้พระภาวนาโกศลเถร (วีระ คณุตฺตโม) อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระดำเนินการจัดสร้างพระผงธรรมขันธ์รุ่น 4 โดยนำผงที่ใช้ในการสร้างพระของหลวงพ่อสดทั้ง 3 รุ่น คือรุ่น 1 รุ่น 2 และรุ่น 3 ผสมรวมกันเพื่อสร้างพระผงรุ่นที่ 4 และได้ตั้งชื่อพระรุ่นนี้ว่า “พระธรรมขันธ์” แม่พิมพ์ของพระธรรมขันธ์รุ่น 4 นี้ จัดแยกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทพิมพ์สี่เหลี่ยมกับประเภทพิมพ์สามเหลี่ยม ซึ่งพิมพ์สี่เหลี่ยมจะมีด้วยกัน 2 พิมพ์ (พิมพ์คะแนนพิเศษ กับพิมพ์ธรรมดา) ส่วนพิมพ์สามเหลี่ยมก็จะมีอีก 2 พิมพ์ (พิมพ์คะแนนพิเศษกับพิมพ์ธรรมดา) จำนวนการสร้างรวมทั้ง 2 พิมพ์คือ 800,000 องค์ โดยเริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ.2514 แล้วนำออกให้ประชาชนเช่าบูชา เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2515 ในราคาพิมพ์คะแนนพิเศษองค์ละ 100 บาท ส่วนพิมพ์ธรรมดาองค์ละ 25 บาท จำหน่ายหมดในปี พ.ศ.2527 สำหรับพระทั้ง 2 องค์ตามรูป เป็นพระพิมพ์ธรรมดาด้วยกันทั้งคู่.

พระผงธรรมขันธ์  รุ่น 4  วัดปากน้ำ  ภาษีเจริญ  กรุงเทพฯ

พระพุทโธน้อย พิมพ์สี่เหลี่ยมหลังยันต์อุทธังอัทโธ คุณแม่บุญเรือน วัดอาวุธวิกสิตาราม กทม.

 

พระพุทโธน้อย บล็อคลองพิมพ์ คุณแม่บุญเรือน วัดอาวุธวิกสิตาราม


เป็นพระพุทโธน้อยยุคแรก ซึ่งคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ได้สร้างและอธิษฐานจิตปลุกเสกไว้ที่วัดอาวุธวิกสิตาราม ตั้งอยู่เลขที่ 436 ถนนจรัญสนิทวงศ์ ซอย 72 (ซอยวัดอาวุธฯ) แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2494 นิยมเรียกพระพุทธโธน้อยรุ่นนี้ว่า "พระบล็อคลองพิมพ์" (สังเกตที่พิมพ์พระและลักษณะการกดยันต์ด้านหลัง จะไม่ประณีตเรียบร้อยเหมือนพระบล็อคปีที่สร้างหลังจากนี้) ลักษณะเป็นพระเนื้อผงน้ำมัน มีทั้งพิมพ์สี่เหลี่ยมและพิมพ์สามเหลี่ยม ด้านหลังพระเป็นยันต์อุทธังอัทโธเหมือนกันทั้งสองพิมพ์ จำนวนการสร้างรวมกันไม่น่าจะเกิน 500 องค์ จัดเป็นพระที่หาชมยาก เนื่องจากมีจำนวนการสร้างที่น้อยมากนั่นเอง.

 

พระพุทโธน้อย บล็อคลองพิมพ์ คุณแม่บุญเรือน วัดอาวุธวิกสิตาราม
 
 

พระพุทธชินราช กรุวัดเสาธงทอง จ.สุพรรณบุรี

 

พระพุทธชินราช  กรุวัดเสาธงทอง  จ.สุพรรณบุรี

 

วัดเสาธงทอง ตั้งอยู่หมู่ 3 ต.มดแดง อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี เดิมเป็นวัดร้าง ต่อมาหลวงพ่อเพิ่มได้เข้ามาปกครองวัด และทำการบูรณปฏิสังขรณ์โบราณวัตถุเสนาสนะต่างๆภายในวัดเสาธงทอง ในราวปีพ.ศ.2460 หลวงพ่อเพิ่มท่านได้สร้างพระเครื่องเพื่อบรรจุลงกรุและแจกขึ้นมาจำนวนหนึ่ง เป็นพระดินเผาเนื้อละเอียดพิมพ์พระพุทธชินราช (พิมพ์พระจะคล้ายกันกับพิมพ์พระพุทธชินราชของหลวงพ่อโม วัดสามจีน กทม.) ซึ่งมีทั้งแบบที่ลงรักปิดทองและที่ไม่ได้ลงรักปิดทอง ในส่วนของพระเครื่องที่ท่านได้นำออกแจก ได้มีผู้รับพระไป แล้วพบเจอกับประสบการณ์ด้านอยู่ยงคงกระพัน และแคล้วคลาดปลอดภัยกันหลายรายจนเป็นที่เลื่องลือกันมากของคนในยุคนั้น ทางด้านพระปลอม ได้มีการทำพระพุทธชินราชกรุวัดเสาธงทองปลอมมานานกว่า 40 แล้ว ซึ่งพระปลอมจะมีด้วยกันหลายยุคหลายฝีมือ โดยพระปลอมบางฝีมือ ทำปลอมออกมาได้แนบเนียนจนเหมือนกับพระของแท้อย่างมาก หากท่านใดไม่เคยได้สัมผัสกับพระแท้ของจริงมาก่อน จะมีโอกาสได้พระปลอมสูงไม่ควรประมาท.

   
 
 
 พระผงวัดประสาทบุญญาวาส พ.ศ.2506 สามเสน กรุงเทพฯ
 

หลวงปู่ทวดพิมพ์เล็ก(ขาวก้านมะลิ) พ.ศ.2506 วัดประสาทบุญญาวาส

พระสมเด็จล้อพิมพ์พระครูมูล(ขาวก้านมะลิ) พ.ศ.2506 วัดประสาทบุญญาวาส

 

สืบเนื่องจากในปี พ.ศ.2498 วัดประสาทบุญญาวาสได้ถูกไฟไหม้เสียหายไปส่วนหนึ่ง ซึ่งเจ้าอาวาสในขณะนั้นคือ พระครูสมุห์อำพล พลวฑฺฒโน ได้เกิดความคิดที่จะสร้างพระเครื่องขึ้นมาหนึ่งชุด เพื่อหารายได้บูรณะซ่อมแซมวัดในส่วนที่ถูกไฟไหม้ โดยท่านได้พยายามเสาะหาผงวิเศษจากหลายพระเกจิอาจารย์เลื่องชื่อในยุคนั้น รวมทั้งชิ้นส่วนของพระเครื่องแตกหักจากพระกรุต่างๆ เช่น ชิ้นพระหักสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี , ชิ้นส่วนแตกหักของ "สมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่" ที่ทางวัดเปิดกรุ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ (พระครูบริหารคณาวัตร รองเจ้าอาวาสมอบให้) , ชิ้นพระหักสมเด็จปิลันท์ ซึ่งพบจากในเจดีย์วัดเทพากร , ผงพระเครื่องของขวัญวัดปากน้ำ ที่หลวงพ่อสดมอบให้ , ผงวิเศษจากหลวงพ่อโอภาสี , ผงพระจากกรุวัดพลับ , พระเครื่องหักจากกรุจังหวัดลำพูน , รวมทั้งว่านกากยายักษ์จากพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ เป็นต้น มาเป็นมวลสารผสมรวมกันเพื่อสร้างพระเครื่อง โดยได้ทำพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 6-7-8-9 มีนาคม พ.ศ.2506 มีพระคณาจารย์เข้าร่วมปลุกเสกถึง 234 รูป แต่ที่นั่งภายในพระอุโบสถไม่เพียงพอ จึงต้องนิมนต์ให้พระคณาจารย์บางรูป ออกมานั่งปลุกเสกที่ข้างนอกพระอุโบสถ แล้วโยงสายสิญจน์ออกมา ซึ่งพิธีในครั้งนั้น นับว่าเป็นพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลครั้งยิ่งใหญ่ เทียบเท่าพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษเลยทีเดียว. 

ใบรับรองหลวงปู่ทวดพิมพ์เล็ก(ขาวก้านมะลิ) พ.ศ.2506 วัดประสาทบุญญาวาสพระสมเด็จคะแนน(ล้อพิมพ์พระครูมูล) พ.ศ.2506 วัดประสาทบุญญาวาสพระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์ พ.ศ.2506 วัดประสาทบุญญาวาส

 

พระขุนไกร พิมพ์ประภามณฑล กรุวัดพระรูป จ.สุพรรณบุรี

พระขุนไกร  พิมพ์ประภามณฑล  กรุวัดพระรูป  จ.สุพรรณบุรี

 

วัดพระรูป ตั้งอยู่ริมถนนขุนช้าง ต.ท่าพี่เลี้ยง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ตำแหน่งที่ตั้งของวัดอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยอู่ทองตอนปลาย สันนิษฐานกันว่า พระเครื่องเนื้อดินเผาซึ่งถูกค้นพบจากกรุวัดนี้ น่าจะถูกสร้างขึ้นในสมัยเดียวกัน คือมีอายุไม่ต่ำกว่า 700 ปี.

 

 

พระผงกรุวัดนก (วัดสกุณาราม) จ.อ่างทอง

พระผงกรุวัดนก (วัดสกุณาราม)  จ.อ่างทอง

 

วัดนก (วัดสกุณาราม) ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านสกุณา หมู่ ๕ ต.ไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง เดิมเป็นวัดร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๗ สำหรับพระองค์ในรูป จัดสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2460 โดยหลวงพ่อเฟื่อง อดีตเจ้าอาวาสวัดนกเป็นผู้สร้าง มีด้วยกันประมาณสิบกว่าพิมพ์ ในรูปเป็นพระ พิมพ์นิยมพิมพ์ใหญ่ข้างยันต์อุ ได้ผ่านการประกวดติดรางวัลที่ 3 งานพันธุ์ทิพย์งามวงศ์วาน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2550.

 ใบประกาศพระผงกรุวัดนก (วัดสกุณาราม)  จ.อ่างทอง
 

พระนางพญา กรุวัดเวียง จ.พระนครศีอยุธยา

พระนางพญา พิมพ์อาสนะสั้น(หน้าแก่) กรุวัดเวียง จ.พระนครศรีอยุธยา

 

วัดเวียง ตั้งอยู่ ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พระเครื่องเนื้อดินเผาพิมพ์นางพญาของวัดนี้ เป็นพระที่ไม่ได้บรรจุลงกรุ แต่ถูกบรรจุไว้ในโอ่งซึ่งอยู่ภายในโบสถ์ของวัดเวียงนั่นเอง โดยไม่มีผู้ใดทราบถึงประวัติความเป็นมาที่ชัดเจนเกี่ยวกับผู้สร้าง แต่สันนิษฐานกันว่า พระเครื่องน่าจะถูกสร้างขึ้นมา ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย หรือในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีอยู่ด้วยกัน 2 พิมพ์คือ พิมพ์ฐานอาสนะสั้น (หน้าแก่) และ พิมพ์ฐานอาสนะยาว (หน้าหนุ่ม) ส่วนพระปลอม มีการทำปลอมออกมานานแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 ก่อนเช่าบูชาควรพิจารณาให้รอบคอบไม่ควรประมาท.

 พระนางพญา พิมพ์อาสนะยาว(หน้าหนุ่ม) กรุวัดเวียง จ.พระนครศรีอยุธยา

พระหลวงพ่อโป้ กรุวัดบางกะทิง จ.พระนครศรีอยุธยา

พระหลวงพ่อโป้  กรุวัดบางกะทิง  จ.พระนครศรีอยุธยา

 

วัดบางกะทิง ตั้งอยู่เลขที่ 48 หมู่ 3 ต.หัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา วัดนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2230 สมัยอยุธยาตอนกลาง ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระหลวงพ่อโป้ส่วนใหญ่จะเป็นพระฝากกรุ มักถูกขุดค้นพบจากกรุวัดต่างๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางจากหลายวัดทั่วประเทศ โดยพระหลวงพ่อโป้ที่พบจากกรุวัดอื่น จะมีจำนวนไม่มากนัก อีกทั้งเนื้อดินของพระหลวงพ่อโป้ ยังมีความหยาบ-ละเอียดแตกต่างกันในแต่ละกรุอีกด้วย สำหรับพระองค์ในรูป เป็นพระที่ขึ้นมาจากกรุวัดบางกะทิงเมื่อปี พ.ศ .2510.

 
 

พระนาคปรกใบตำแย กรุวัดกุฏีราย จ.สุโขทัย

พระนาคปรกใบตำแย  กรุวัดกุฎีราย  จ.สุโขทัย

 

วัดกุฎีราย ตั้งอยู่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (แก่งหลวง) ต.หนองอ้อ อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย (ปัจุบันเป็นวัดร้าง) วัดนี้จะอยู่ด้านนอกกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยไปทางทิศเหนือ ห่างจากประตูเตาหม้อไปประมาณ 50 เมตร เป็นวัดที่สร้างด้วยศิลาแลงทั้งหลัง โดยหน้าวัดจะหันไปทางทิศใต้ บริเวณโดยรอบของวัดกุฎีราย มีกลุ่มเจดีย์รายอยู่ทั้งหมด 6 องค์ ซึ่งภายในพระเจดีย์ได้บรรจุพระพิมพ์เนื้อดินเผา มีทั้งพระพิมพ์นาคปรก , พระพิมพ์ลีลาละเวง (แบบพระปางลีลาวัดถ้ำหีบ) , รวมทั้งพระแผงขนาดใหญ่แบบพระงบน้ำอ้อย สำหรับองค์ ในรูปเป็นพระพิมพ์นาคปรกใบตำแย (ไม่มีบัว).

 
 

พระเครื่องเนื้อชินเงินผิวปรอท กรุวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา

พระซุ้มระฆัง เนื้อชินเงินผิวปรอท กรุวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา

 

วัดราชบูรณะ ตั้งอยู่ ต.ท่าวาสุกรี อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1967 โดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา ต่อมาในปี พ.ศ.2499 ได้ ถูกกลุ่มคนร้ายทำการลักลอบขุดกรุพระ ซึ่งอยู่ภายในพระปรางค์องค์ประธานแล้วหลบหนีไป ทางกรมศิลปากรจึงได้เข้าไปทำการบูรณะ และตรวจสอบพบทรัพย์สมบัติที่หลงเหลืออยู่ เป็นเครื่องทองจำนวนมาก พร้อมทั้งพระพุทธรูปและพระเครื่อง มีทั้งพระเนื้อทองคำ , เนื้อเงิน , เนื้อสำริด , และเนื้อชินเงินผิวฉาบปรอท มีด้วยกันหลายพิมพ์หลายขนาด ส่วนพระปลอม ได้มีทำปลอมออกมานานแล้วหลายยุคหลายฝีมือ ที่น่ากลัวที่สุดเป็นฝีมือการทำปลอมเมื่อปี พ.ศ.2549 ซึ่งทำปลอมออกมาได้ใกล้เคียงกับพระของแท้อย่างมาก.

 พระปรกโพธิ์ซุ้มระฆัง เนื้อชินเงินผิวปรอท กรุวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา
 
 
 พระเครื่องหลวงพ่อผาด กรุวัดดงตาล จ.ลพบุรี
 

พระหลวงพ่อผาด พิมพ์ขี่เสือ วัดดงตาล จ.ลพบุรี

พระหลวงพ่อผาด พิมพ์ขี่สิงห์ วัดดงตาล จ.ลพบุรี

 

เป็นพระที่หลวงพ่อผาด (วีรุตตโม) วัดดงตาล (วัดสามัคคีธรรม) หมู่ 6 ต.หัวสำโรง อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ได้สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ.2470 เป็นพระเนื้อดินเผาอุดผงพุทธคุณไว้ที่ข้างในองค์พระทุกองค์ พิมพ์พระเครื่องที่ท่านได้สร้างมีอยู่ประมาณ 4 - 5 พิมพ์ จำนวนการสร้างพระเครื่องทั้งหมด มีมากกว่า 84,000 องค์ โดยหลวงพ่อผาดท่านได้จัดแบ่งพระเครื่องที่สร้าง ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกนำไปบรรจุไว้ในองค์พระประธานในพระอุโบสถ (จำนวน 84,000 องค์) พระหลวงพ่อผาด พิมพ์พิเศษ 2 หน้า ขี่เสือ&ขี่สิงห์ วัดดงตาล จ.ลพบุรีและ ส่วนที่สองเตรียมไว้สำหรับแจกให้กับผู้ที่มาร่วมทำบุญที่วัดดงตาลในยุคนั้น (ไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด) สำหรับพระเครื่ององค์ในรูป เป็นพระที่ท่านได้สร้างไว้สำหรับแจกเมื่อประมาณปี พ.ศ.2470 ได้แก่ พระพิมพ์ขี่เสือ , พระพิมพ์ขี่สิงห์ , และพระพิมพ์พิเศษมี ทั้งพิมพ์ขี่เสือ และ พิมพ์ขี่สิงห์อยู่ในพระองค์เดียวกัน (มีจำนวนการสร้างที่น้อยกว่าพระพิมพ์อื่นๆ) จัดเป็นพระเครื่องอีกสำนักหนึ่งที่น่าสนใจ มีความเป็นเอกลักษณ์ และมีอายุความเก่าเกือบร้อยปี. 

 

 

พระขุนแผนซุ้มเรือนแก้ว เนื้อชินเขียว กรุเจดีย์ร้างกลางทุ่ง จ.พระนครศรีอยุธยา

พระขุนแผนซุ้มเรือนแก้ว  เนื้อชินเขียว  กรุเจดีย์ร้างกลางทุ่ง  จ.พระนครศรีอยุธยา

เป็นพระที่ขุดค้นพบจากเจดีย์ร้างกลางทุ่ง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ช่วงก่อนปี พ.ศ.2500 สันนิษฐานกันว่า เจดีย์ร้างองค์นี้น่าจะมีมาก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งสุดท้าย หรือน่าจะมีอายุไม่ต่ำกว่า 300 ปี ซึ่งพระที่ถูกขุดค้นพบส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชินเขียวเกือบทั้งหมด มีด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พระขุนแผนซุ้มเรือนแก้ว ชินเขียว (แบบพิมพ์คล้ายพระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล) , พระสวนสี่ , พระคล้องคอช้าง-ม้า เนื้อชินเขียว (ลักษณะทรงกลมคล้ายอ้อยควั่น แต่มีพระพิมพ์อยู่โดยรอบ และมีรูสำหรับร้อยเชือกอยู่ตรงกลางเหมือนพระหูไห มีน้ำหนักมาก) เป็นต้น สำหรับพระขุนแผนเนื้อชินเขียวองค์นี้ ได้ผ่านงานประกวดพระเครื่อง ติดรางวัลที่ 2 งานพันธุ์ทิพย์งามวงศ์วาน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 กรกฏาคม พ.ศ. 2550

ใบประกาศ

 

พระอู่ทอง กรุวัดสิงห์ จ.ปทุมธานี 

พระอู่ทอง  กรุวัดสิงห์  จ.ปทุมธานีวัดสิงห์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก (ชุมชนมอญ) ต.สามโคก อ.สามโคก จ.ปทุมธานี เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2210 ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สันนิษฐานกันว่า พระเครื่องที่ขุดพบจากกรุวัดนี้ น่าจะถูกสร้างขึ้นมาในช่วงเวลาเดียวกัน คือมีอายุความเก่าที่มากกว่า 340 ปี โดยพระเครื่องส่วนใหญ่ที่พบ มักจะเป็นพระพิมพ์อู่ทองเนื้อชินเงินปิดทองเดิมมาจากในกรุ มีจำนวนแบบพิมพ์ไม่ต่ำกว่า 30 พิมพ์ที่ไม่ซ้ำกัน แต่ละแบบพิมพ์จะมีจำนวนพระไม่มากนัก ประมาณ 20 กว่าองค์ต่อหนึ่งแบบพิมพ์ ซึ่งพระทุกองค์มักจะมีรอยระเบิดลั่นปริร้าวแทบทั้งสิ้น มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันออกไป และยังพบพระพิมพ์ท่ากระดานเนื้อตะกั่วสนิมแดงปิดทองเดิมมาจากในกรุ แบบพิมพ์เดียวกันกับพระท่ากระดานที่พบในเขตจังหวัดกาญจนบุรี ปนรวมกันอยู่ภายในกรุวัดสิงห์อีกด้วย.

พระสวนสี่ เนื้อชินเขียว กรุเจดีย์ร้างกลางทุ่ง จ.พระนครศรีอยุธยา

พระสวนสี่  เนื้อชินเขียว  กรุเจดีย์ร้างกลางทุ่ง  จ.พระนครศรีอยุธยา

 

เป็นพระที่ถูกขุดค้นพบจากเจดีย์ร้างกลางทุ่ง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เช่นเดียวกันกับพระขุนแผนซุ้มเรือนแก้วเนื้อชินเขียว อีกทั้งเจดีย์ร้างในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี ก็มีการขุดพบพระสวนสี่นี้บ้างเช่นกัน สันนิษฐานกันว่า พระสวนสี่น่าจะถูกสร้างขึ้นในช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนกลางถึงตอนปลาย มีอายุความเก่าไม่ต่ำกว่า 300 ปี ในอดีตพระสวนสี่จัดเป็นพระที่ชายไทยแต่โบราณรู้จักกันเป็นอย่างดี โดยเรียกกันว่า "พระนักเลง" เพราะเชื่อถือในพุทธคุณทางด้านคงกระพันมหาอุด เช่นเดียวกับพระมเหศวร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี

 

พระรอดหลังยันต์ เนื้อชินเขียว จ.พะเยา

พระรอดหลังยันต์  เนื้อชินเขียว  จ.พะเยา

 

เป็นพระกรุเนื้อชินเขียวจากจังหวัดพะเยา มีด้วยกันสองพิมพ์คือพิมพ์พระรอดหน้าเดียวหลังยันต์ และ พิมพ์พระรอดสองหน้าไม่มียันต์ พระกรุนี้แตกกรุมานานกว่า 50 ปีแล้ว สันนิษฐานกันว่า น่าจะถูกสร้างขึ้นมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางถึงตอนปลาย โดยล้อพิมพ์มาจากพระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน มีอายุความเก่าไม่ต่ำกว่า 300 ปี สำหรับพระองค์ในรูป ได้ผ่านการประกวดติดรางวัลที่ 1 งานตลาด อ.ต.ก.3 จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2550

   

ใบประกาศ

 
 
 พระเนื้อชินเงินผิวปรอท กรุวัดเพชร จ.สระบุรี
 

พระปางป่าเลไลย์ เนื้อชินเงินผิวปรอท กรุวัดเพชร จ.สระบุรี

พระปางสมาธิบัวชั้นเดียว เนื้อชินเงินผิวปรอท กรุวัดเพชร จ.สระบุรี

 

วัดเพชร ตั้งอยู่ ต.บ้านยาง อ.เสาไห้ จ.สระบุรี สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.2315 (ภายหลังจากที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งสุดท้าย) ต่อมาในปี พ.ศ.2491 ทางคณะกรรมการวัดได้ทำการรื้อพระเจดีย์เก่าตั้งแต่สมัยสร้างวัดจำนวนสององค์ ซึ่งอยู่ตรงบริเวณด้านหลังของโบสถ์ และได้พบพระเครื่องเนื้อชินเงินผิวฉาบปรอทอยู่หลายแบบพิมพ์ ทั้งพระพิมพ์ประจำวัน และ พิมพ์พระพุทธหรือพิมพ์พระประธานแบบต่างๆ บรรจุรวมกันอยู่ภายในโอ่งจำนวนมากหลายหมื่นองค์ สำหรับองค์ในรูป เป็นพระปางป่าเลไลย์ (พิมพ์นิยม) ผ่านการประกวดติดรางวัลที่ 2 งานเดอะมอลล์บางแค กทม. เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2546 / ส่วนพระปลอม มีการทำปลอมออกมานานแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 และทำได้ใกล้เคียงกับของแท้อย่างมาก จึงควรพิจารณาให้รอบคอบอย่าประมาท. 

ใบประกาศพระเนื้อชินเงินผิวปรอท กรุวัดเพชร จ.สระบุรีพระปางสมาธิประภามณฑล เนื้อชินเงินผิวปรอท กรุวัดเพชร จ.สระบุรี

 

พระสมเด็จเจ็ดชั้นเนื้อหินมีดโกน รุ่นแรก พ.ศ.2496 หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี

พระสมเด็จเจ็ดชั้นเนื้อหินมีดโกน  รุ่นแรก  พ.ศ.2496  หลวงพ่อจรัญ  วัดอัมพวัน  จ.สิงห์บุรี

เป็นพระเครื่องรุ่นแรกที่หลวงพ่อจรัญได้สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2496 ซึ่งช่วงเวลาขณะนั้นหลวงพ่อจรัญยังอยู่ที่วัดพรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี (ท่านได้อุปสมบทที่วัดพรหมบุรี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2491) สำหรับพระสมเด็จเนื้อหินมีดโกนที่สร้างขึ้นในครั้งนั้น จะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบพิมพ์คือ พิมพ์พระสมเด็จฐานเจ็ดชั้น และ พิมพ์พระสมเด็จฐานสามชั้น โดยพระองค์ในรูปเป็นพิมพ์สมเด็จเจ็ดชั้นซึ่งค่อนข้างหาชมยาก ปัจจุบันได้มีการทำปลอมพระสมเด็จเนื้อหินมีดโกนรุ่นนี้ออกมาบ้างแล้ว เนื้อหาของพระปลอมมีลักษณะคล้ายๆเกือบเหมือนพระแท้  ส่วนด้านหลังของพระปลอม มักจะมีรอยนิ้วมือติดหรือกดอยู่ที่ด้านหลังพระเกือบทุกองค์ จึงควรพิจารณาให้รอบคอบเป็นพิเศษ.

 

ขวดน้ำมันจันทร์ (รูปถ่ายหลังตะกรุด) หลวงพ่อสุด วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร

ขวดน้ำมันจันทร์ (รูปถ่ายหลังตะกรุด) หลวงพ่อสุด  วัดกาหลง  จ.สมุทรสาคร

เป็นขวดน้ำมันจันทร์ ภายในขวดบรรจุภาพถ่ายหลวงพ่อสุดและตะกรุดสามกษัตริย์ ซึ่งหลวงพ่อสุด (พระครูสมุห์ ธรรมสุนทร) ปรมาจารย์สักยันต์ตะกร้อและเสือเผ่น วัดกาหลง จ.สมุทรสาคร ได้นำมาแจกให้กับผู้ซึ่งมาทำบุญที่วัดทินกรนิมิต (วัดคลองด้วน) ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2512 ซึ่งขณะนั้นทางวัดทินกรนิมิตได้จัดงานประจำปีขึ้น และได้นิมนต์หลวงพ่อสุดมาเข้าร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลของทางวัดทินกรนิมิตด้วย นับเป็นสุดยอดวัตถุมงคลหลวงพ่อสุดอีกชิ้นหนึ่งที่พิเศษและหาชมยาก.

 

แหวนเงินลงถม หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา

แหวนเงินลงถม  หลวงพ่อจง  วัดหน้าต่างนอก  จ.พระนครศรีอยุธยา

 เป็นแหวนเงินลงถมยุคแรกของหลวงพ่อจง ออกที่วัดหน้าต่างนอก ซึ่งหาชมยากและมีจำนวนการสร้างที่น้อย.

 

พระปิดตาบิน รุ่นแรก พ.ศ.2505 วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม จ.ชลบุรี

พระปิดตาบิน รุ่นแรก พ.ศ.2505 วัดสว่างฟ้าพฤฒาราม จ.ชลบุรี

สร้างโดยพระครูสังฆรักษ์เจือน อริยวังโส เจ้าอาวาสวัดสว่างฟ้าพฤฒาราม ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เมื่อปี พ.ศ.2505 โดยใช้ผงวิเศษที่พบจากพระเจดีย์เก่าภายในวัด เป็นส่วนผสมหลักในการจัดสร้างพระเครื่อง 2 พิมพ์ คือ พิมพ์พระปิดตา (ตามรูป) และพิมพ์รูปเหมือนหลวงพ่อพุ่ม แล้วนำเข้าพิธีพุทธาภิเษกหมู่ โดยมีหลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า , หลวงพ่อเหมือน วัดกำแพง , หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก ฯลฯ ร่วมพิธีพุทธาภิเษกหมู่ในครั้งนั้น.

 

พระนาคปรกใบมะขาม หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ

พระนาคปรกใบมะขาม  หลวงปู่โต๊ะ  วัดประดู่ฉิมพลี  กรุงเทพฯ

 

พระนาคปรกใบมะขามหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2521 ที่ด้านหน้าจะมีอยู่แม่พิมพ์เดียว ส่วนที่ด้านหลังจะมีด้วยกัน 2 แบบพิมพ์ คือ พิมพ์หลังยันต์ตรีนิสิงเห และ พิมพ์หลังยันต์นะ สำหรับพระนาคปรกใบมะขามองค์ในรูป เป็นพิมพ์หลังยันต์นะเนื้อทองแดง มีจำนวนการสร้างทั้งสิ้น 98,000 องค์.

 
 

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือยุคต้น (สองห่วง) หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือยุคต้น (สองห่วง)  หลวงพ่อเต๋ คงทอง  วัดสามง่าม  จ.นครปฐม

 

เป็นตะกรุดหนังหน้าผากเสือยุคต้น (สองห่วง) ที่หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม (วัดอรัญญิการาม) อ.ดอนตูม จ.นครปฐม ได้สร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับตะกรุดหนังหน้าผากเสือสามห่วง แต่ตะกรุดสองห่วงจะมีจำนวนการสร้างที่น้อยกว่า โดยตะกรุดของหลวงพ่อเต๋ในยุคต้นนั้น จะถักจากเชือกปอแล้วนำมาจุ่มรัก ส่วนการถักลายเชือกของตะกรุดทั้ง 2 ชนิดจะเหมือนกันไม่ผิดเพี้ยนเลย สิ่งที่ต่างกันคงมีเพียงขนาดความสั้นยาวของตะกรุดและห่วงรูด (3 ห่วง / 2 ห่วง) สำหรับขนาดของตะกรุดหนังหน้าผากเสือสองห่วงตามรูป มีความยาวประมาณ 2 นิ้วกว่า.

 
 

พระพุทธกลีบบัว เนื้อผงลูกอมสีชมพู หลวงพ่อแก้ว วัดบ่อฝ้าย จ.ปทุมธานี

พระพุทธกลีบบัว เนื้อผงลูกอมสีชมพู  หลวงพ่อแก้ว วัดบ่อฝ้าย จ.ปทุมธานี

 

เป็นพระเนื้อผงยอดนิยมเมืองปทุมฯอีกสำนักหนึ่ง ที่มีอายุความเก่าเกินร้อยปี มีพุทธคุณสูงประสบการณ์มากมาย เพียงแต่หาพระแท้ๆของจริงได้ยากยิ่ง (พระปลอมมีหลายฝีมือและมีมานานแล้ว) ของแท้ที่พบโดยมากมักจะเป็นลูกอมผงสีขาว/ผงสีชมพู และพระเนื้อผงพุทธคุณสีขาว/ผงสีเหลืองพิมพ์ต่างๆ ส่วนประเภทที่เป็นพระพิมพ์เนื้อผงลูกอมสีชมพูล้วนๆนั้นจะมีจำนวนน้อย แทบไม่มีปรากฏให้ได้เห็นจากที่ใดเลย สำหรับพระองค์ในภาพ เป็นพระพิมพ์กลีบบัวเนื้อผงลูกอมสีชมพูล้วน (ผงวิเศษผสมปูนแดง) ที่หลวงพ่อแก้ว วัดบ่อฝ้าย ต.กระแซง อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ท่านได้สร้างไว้ในราวปี พ.ศ.2430 - 2440 (วัดบ่อฝ้ายแห่งนี้ปัจจุบันเป็นวัดร้าง อยู่ห่างจากวัดไก่เตี้ยไปประมาณ 1 กิโลเมตร และอยู่ภายใต้การดูแลของวัดไก่เตี้ย)

 
 
 
 เหรียญกลมและแหวนหลวงพ่อโสธร เนื้อเงินลงถม พ.ศ.2509 วัดโสธรวรารามวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา
 

เหรียญกลมหลวงพ่อโสธร เนื้อเงินลงถม พิมพ์กลาง พ.ศ.2509

พระปางสมาธิบัวชั้นเดียว เนื้อชินเงินผิวปรอท กรุวัดเพชร จ.สระบุรี

 

เป็นเหรียญกลมหลวงพ่อโสธร เนื้อเงินลงถม พิมพ์กลาง พ.ศ.2509 / แหวนเงินลงถมหลวงพ่อโสธร พ.ศ.2509 

BetFair F.BetRoll UK Bookies
Ladbrokes Review L.BetRoll
WIll Hill BookiesW.BetRoll here...
United Kingdom BetRoll Bookmakers
free web counter