Prakard2

 

buttonclick2

 

head-8

พระขรัวอีโต้ กรุวัดเลียบ ด้านหลังพระขรัวอีโต้ กรุวัดเลียบ

พระขรัวอีโต้ลอยน้ำ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดราชบุรณราชวรวิหาร(วัดเลียบ)

(พระประกวดติดรางวัลที่ 2 งานพันธุ์ทิพย์งามวงศ์วาน วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

 

 

วัดราชบุรณราชวรวิหาร หรือ วัดเลียบ ตั้งอยู่เลขที่ 119 ถนนจักรเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร อาณาเขตติดต่อ ทางทิศเหนือ ติดกับ ปั๊มน้ำมันเชลล์ , ทางทิศใต้ ติดกับ ถนนจักรเพชร , ทางทิศตะวันออก ติดกับ ที่ทำการไฟฟ้านครหลวง , ทางทิศตะวันตก ติดกับ ถนนตรีเพชร

วัดราชบุรณราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งตามชาวบ้าน นิยมเรียกว่า “วัดเลียบ” ซึ่งเป็นวัดโบราณนิกายมหานิกาย มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายโดยพ่อค้าเชื้อสายจีนคนหนึ่ง ชื่อว่า “เลี๊ยบ” ซึ่งมาจอดเรือสำเภา พักอาศัยขายสินค้าอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อขายสินค้าจนมีฐานะร่ำรวยขึ้น ประกอบกับนายเลี๊ยบเป็นผู้ที่มีอุปนิสัยใจบุญ และเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงได้สร้างศาลาไว้สำหรับเป็นที่ทำบุญให้ทาน คล้ายศาลาโรงทาน ต่อมาได้มีชาวบ้านมาร่วมทำบุญถวายทานกันมากขึ้น จึงได้มีการสร้างพระเจดีย์ตลอดจนพระวิหารขึ้น ในบริเวณฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใกลักับสถานที่ที่ตนเองเคยอาศัยขายของ และขนานนามว่า “วัดจีนเลี๊ยบ” ตามชื่อของผู้สร้าง เมื่อเวลาผ่านไปชาวบ้านได้เรียกชื่อวัดให้สั้นเข้า โดยตัดคำว่า “จีน” ออกเหลือเพียงคำว่า “วัดเลี๊ยบ” ซึ่งต่อมาได้เรียกชื่อเพี้ยนไปจากชื่อเดิมอีกเป็น “วัดเลียบ” จนคุ้นปากมาถึงปัจจุบันนี้

 

ใบประกาศพระ

 
พระขรัวอีโต้ กรุวัดเลียบ เลี่ยมทอง ด้านหลังพระขรัวอีโต้ กรุวัดเลียบ เลี่ยมทอง

 

ในปีพ.ศ. 2473 ทางราชการได้มีโครงการก่อสร้างสะพานพุทธฯ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ กับกรุงธนบุรี และสร้างพระบรมราชานุสรณ์ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ก่อนดำเนินการสร้างสะพาน ทางราชการได้ตัดถนนตรีเพชร เพื่อรับทางสะพานซึ่งจะเชื่อมโยงต่อกัน โดยตัดถนนผ่ากลางระหว่างพระอุโบสถวัดเลียบ และโรงเรียนสวนกุหลาบ ในการนี้ วัดราชบุรณราชวรวิหาร(วัดเลียบ) ต้องทำการรื้อถอนเจดีย์หลายองค์ ซึ่งเรียงรายอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระอุโบสถ

ขณะที่ได้ทำการรื้อถอนเจดีย์ทรงมอญองค์หนึ่ง ได้พบพระเครื่องเนื้อดินเผาผสมผงสีขาว ที่ด้านหน้าพระเครื่องมีการลงรักปิดทอง เป็นจำนวนมาก พร้อมกับแผ่นทองแดงจารึกประวัติท่านผู้สร้าง แปลออกมาได้ใจความโดยย่อว่า สมเด็จพระศรีสมโพธิ์และนายทองด้วงมหาดเล็ก เป็นผู้สร้างขึ้น

จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาของเจ้าอาวาสวัดเลียบ และชาวบ้านซึ่งเป็นผู้เฒ่าสูงอายุ(ขณะนั้น) ให้การว่าสมเด็จพระศรีสมโพธิ์ เป็นพระเกจิอาจารย์สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งมีอาคมแก่กล้า ชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างมาก เมื่อครั้งที่กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่าครั้งที่ 2 ในปีพ.ศ. 2310 สมเด็จพระศรีสมโพธิ์ ได้ถูกกวาดต้อนไปยังเมืองพม่าพร้อมกับเชลยชาวกรุงศรีฯ คนอื่นๆ ต่อมาอีกประมาณ7 เดือนในปีเดียวกัน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ทรงกอบกู้เอกราชและปราบปรามก๊กต่าง ๆได้เป็นที่เรียบร้อย พร้อมทั้งตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี เมื่อสมเด็จพระศรีสมโพธิ์ทราบข่าวนี้ ท่านจึงได้พาโยมน้องสาวของท่าน หลบหนีจากเมืองพม่ากลับสู่กรุงธนบุรีมาพร้อมกัน

ในระหว่างการหลบหนี ท่านได้เดินทางรอนแรมพักค้างคืนกลางป่าเขา โดยท่านได้เอา “มีดอีโต้” ซึ่งโยมน้องสาวของท่านได้นำติดตัวมาด้วย วางคั้นตรงกลางระหว่างตัวท่านกับโยมน้องสาวของท่านแบบนี้ทุกคืน จนกระทั่งเดินทางมาถึงกรุงธนบุรี ชาวบ้านและพระภิกษุสงฆ์ต่างครหานินทา และร่ำลือกันว่าท่านต้องอาบัติปาราชิกกับโยมน้องสาวของท่าน ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงประกาศเชิญชวนผู้ที่กล่าวหาท่าน ให้มาเป็นสักขีพยานรวมกันที่ริมสระน้ำในวัดเลียบ พร้อมทั้งเล่าเรื่องราวพฤติการณ์ต่าง ๆ ระหว่างตัวของท่านกับโยมน้องสาว ในระหว่างเดินทางจากเมืองพม่ามายังกรุงธนบุรี ให้กับทุกคนที่มาชุมนุมได้ฟัง พร้อมกันนั้นท่านได้ตั้งสัตย์อธิษฐาน ขอให้แม่พระคงคาเป็นสักขีพยาน หากว่าท่านยังบริสุทธิ์อยู่ในศีลพรหมจรรย์จริง ก็ขอให้มีอีโต้เล่มนี้จงลอยน้ำ จากนั้นท่านจึงโยนมีดอีโต้เล่มดังกล่าวลงไปในน้ำ ท่ามกลางสายตาของพระภิกษุสงฆ์และชาวบ้านซึ่งยืนดูเหตุการณ์นี้ข้างสระน้ำ ปรากฏว่ามีดอีโต้ซึ่งท่านสมเด็จพระศรีสมโพธิ์ได้โยนลงไปในสระน้ำ กลับลอยอยู่บนผิวน้ำไม่จมลงไปใต้น้ำอย่างน่าอัศจรรย์ (ทั้ง ๆ ที่มีดอีโต้ตามปกติทั่วไป จะมีน้ำหนักมากย่อมต้องจมน้ำทั้งสิ้น) ยังความประหลาดใจให้กับผู้ซึ่งอยู่ในเหตุการณ์ ต่างโจษขานกันไปทั่วเรื่อง “ขรัวอีโต้ลอยน้ำ” ท่านสมเด็จพระศรีสมโพธิ์จึงเป็นที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยชาวบ้านจะเรียกท่านว่า “ท่านขรัวอีโต้”

 
พระขรัวอีโต้ กรุวัดเลียบ ด้านหลังพระขรัวอีโต้ กรุวัดเลียบ

 

ต่อมาได้มีชาวบ้านไปขอของขลังจากท่านขรัวอีโต้เป็นจำนวนมาก จึงเป็นมูลเหตุให้ท่านต้องสร้างพระพิมพ์ขึ้น เพื่อแจกจ่ายให้กับคณะศิษย์และประชาชนผู้เลื่อมใสศรัทธาในตัวของท่าน พร้อมกันนี้ ท่านได้นำพระเครื่องบางส่วนที่สร้างขึ้น ไปบรรจุไว้ในเจดีย์ทรงมอญเพื่อสืบทองพระพุทธศาสนา ตามคติความเชื่อทางศาสนาพุทธ (สันนิษฐานกันว่า เจดีย์ทรงมอญดังกล่าวน่าจะถูกสร้างขึ้นก่อนปีพ.ศ. 2330)  

 

 

 

 

 

 

ใบรับรองพระ
ลักษณะของพระเครื่องขรัวอีโต้ (พิมพ์ใหญ่) กรุวัดเลียบ
  


แบบพิมพ์ :
แบบพิมพ์ของพระเครื่อง มีลักษณะล้อพิมพ์มาจากพระรอด กรุวัดมหาวัน จ.ลำพูน โดยพระเป็นพระพิมพ์สะดุ้งมาร (มารวิชัย) ประทับนั่งลอยองค์อยู่บนอาสนะฐานสองชั้นแบบฐานหมอน ที่ผนังด้านหลังองค์พระราบเรียบ ไม่มีกิ่งก้านหรือใบโพธิ์เหมือนพระรอดมหาวัน แต่มีเส้นซุ้มแบบเส้นลวด ลักษณะคล้ายครอบแก้วอยู่รอบองค์พระ เลยออกไปด้านข้าง มีเส้นนาคเลื้อยควบคู่กับซุ้มเส้นลวด โดยมีหัวพญานาคอยู่ตรงด้านล่างติดกับฐานองค์พระ พระเกศเป็นแบบบัวตูม พระพักตร์ใหญ่เกือบจะเป็นรูปสี่เหลี่ยม พระอุระ(อก) เอียงเล็กน้อยไปทางด้านขวามือขององค์พระ พระพาหา(แขน) แขนซ้ายหักศอกเป็นมุมเกิน 120 องศา ในองค์ที่พิมพ์พระติดชัดจะเห็นนิ้วโป้งและนิ้วก้อยที่ปลายมือข้างซ้าย ยื่นยาวออกมาเป็นเส้นตรงชนกับข้อมือขวาขององค์พระพอดี ในวงการพระเครื่อง เรียกพระขรัวอีโต้ กรุวัดเลียบนี้ว่า “พระขรัวอีโต้ พิมพ์ใหญ่” (ส่วนพระขรัวอีโต้ พิมพ์เล็ก จะเป็นพระขรัวอีโต้ที่ขึ้นมาจากกรุวัดเทพากร แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กทม.)


เนื้อพระ :
เป็นพระเนื้อดินละเอียดผสมผงสีขาว เนื้อพระแห้งจัด พระขรัวอีโต้ส่วนใหญ่จะลงรักบาง ๆ และปิดทองเฉพาะด้านหน้าเกือบทั้งหมด ส่วนด้านหลังเรียบอูมปราศจากอักขระใด ๆ สีของเนื้อพระส่วนใหญ่จะเป็นสีขาว , สีขาวอมชมพู , สีเหลืองอมน้ำตาล , และสีที่พบเห็นจำนวนน้อยได้แก่ สีเทาอมดำ สำหรับรายละเอียดที่สำคัญอื่นๆ ผู้เขียนขออนุญาตไม่เปิดเผย เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้ทำการปลอมแปลงพระเครื่อง ได้อาศัยข้อมูลรายละเอียดบทความซึ่งมีผู้เขียนอธิบายไว้ เป็นหลักสำคัญในการปลอมแปลงพระ


พระขรัวอีโต้ปลอม :
มีการทำพระขรัวอีโต้ปลอมมานานกว่า 30 ปีแล้ว จากหลายกระแสหลายหลายฝีมือ พระขรัวอีโต้ปลอมในยุคแรก ๆ จะมีทั้งประเภทปลอมเนื้อหยาบมาก ๆ ไปจนถึงเนื้อละเอียดยิบ (ปูนพลาสเตอร์) ส่วนรักที่ใช้ทาพระก็เป็นรักใหม่สีดำเข้มสนิท และมีความหนาเกินจริง หรือที่เรียกกันว่ารักวิทยาศาสตร์ ส่วนทองคำเปลวที่ใช้ปิดพระ ก็แลดูสดและมักจะหลุดเป็นขุย ๆ สำหรับพระปลอมที่มีความเหมือนหรือใกล้เคียงกับพระขรัวอีโต้ของแท้มากที่สุด จะเป็นพระปลอมที่ทำขึ้นในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งพระปลอมชุดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นดินสีแดงหม้อใหม่ ทั้งเนื้อดินและรักทองมีความใกล้เคียงพระของจริงมาก ดังนั้นก่อนทำการเช่าบูชาจึงควรพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจ

 

1175937475

 

head-12 

พระขรัวอีโต้ กรุวัดเทพากร ด้านหลังพระขรัวอีโต้ กรุวัดเทพากร

วัดเทพากร ตั้งอยู่เลขที่ 893 ถนนจรัญสนิทวงศ์ ซอยที่ 69 แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร อาณาเขตติดต่อ ทางทิศเหนือ ติดกับ คลองบางพลู , ทางทิศใต้ ติดกับ ลำประโดง , ทางทิศตะวันตก ติดกับ ที่ดินเลขที่ 83/29 , ทางทิศตะวันตก ติดกับ แม่น้ำเจ้าพระยา  

 

 

แผนที่วัดเทพากร

 

วัดเทพากร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2375 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ผู้สร้างคือ “ท้าวเทพากร” มีนามเดิมว่า “ทอง” มีพี่ชายชื่อ “เงิน” เป็นชาวมอญ ครั้งสร้างวัดเสร็จใหม่ ๆ ได้ตั้งชื่อวัดว่า “วัดทอง” โดยใช้ชื่อตามนามของผู้สร้าง เจตนาให้เป็นนามคู่กับ “วัดเงิน” หรือวัดเทพนารีในปัจจุบัน เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ได้ทูลเชิญรัชกาลที่ 3 เสด็จมาในงาน (ซึ่งขณะนั้นยังทรงผนวชอยู่) และทรงโปรดประทานนามวัดอย่างเป็นทางการว่า “วัดท้าวเทพากร” เพื่อให้ตรงกับนามของผู้สร้าง ต่อมาในสมัยพระอุปัชฌาเหม เจ้าอาวาส ได้ใช้คำเรียกชื่อกันสั้น ๆ ว่า “วัดบางพลูล่าง” หรือวัดล่าง

พระขรัวอีโต้ พิมพ์เล็ก ได้ทำการเปิดกรุอย่างเป็นทางการในสมัยของพระครูกิตติสุนทร ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพากร ลำดับที่ 10 (พ.ศ. 2508 – พ.ศ. 2523) จากเจดีย์เก่าตั้งแต่สมัยที่ท้าวเทพากรได้ทำการสร้างวัด พบพระเครื่องเนื้อดินเผาผสมผงจำนวนมาก มีทั้งชนิดที่ลงรักปิดทองด้านหน้า ขนิดที่ปิดทองคำเปลวเฉย ๆ ไม่ลงรัก และชนิดที่ไม่มีการลงรักหรือปิดทองแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการบันทึกหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรเกี่ยวกับที่มาของพรเครื่องภายในเจดีย์ มีเพียงคำบอกเล่าจากผู้สูงอายุซึ่งเล่าสืบต่อกันมาว่า ชีวิตในวัยเยาว์ของท้าวเทพากรจนถึงวัยฉกรรรจ์ มีความสนิทสนมใกล้ชิดผูกพันธ์กับสมเด็จพระศรีมหาโพธิ์ หรือท่านขรัวอีโต้วัดเลียบเป็นอย่างมาก ในฐานะศิษย์กับอาจารย์ ซึ่งในช่วงระยะเวลาก่อนที่ท่านขรัวอีโต้จะมรณะภาพนั้น (ก่อนปี พ.ศ. 2330) ท่านได้สร้างเจดีย์ทรงมอญพร้อมทั้งพระเครื่องเนื้อดินเผาผสมผงสีขาว บรรจุไว้ในเจดีย์เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาจำนวนมาก คาดว่าประมาณ 84,000 องค์ (ตามจำนวนของพระธรรมขันธ์) หรือมากกว่านั้น ซึ่งท้าวเทพากร (นายทอง) ได้มีส่วนร่วมเป็นธุระในการสร้างพระเครื่องที่วัดเลียบในครั้นนั้นด้วย เมื่อเจดีย์ทรงมอญแล้วเสร็จพร้อมทั้งมีการบรรจุพระเครื่องไว้ในเจดีย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านขรัวอีโต้ยังคงดำเนินการสร้างพระเครื่องต่อไป โดยมีเจตนาที่จะสร้างเจดีย์ขึ้นอีกเป็นเจดีย์ที่สอง แล้วนำพระเครื่องที่สร้างไว้ในคราวหลังไปบรรจุไว้ในเจดีย์เหมือนกับครั้งแรก แต่ยังไม่ทันบรรลุเจตนารมย์ ท่านขรัวอีโต้ได้มรณะภาพลงเสียก่อน พระเครื่องซึ่งท่านได้สร้างในครั้งนั้น จึงถูกเก็บรักษาไว้ในวัดเลียบนั่นเอง

ต่อมาอีกราว ๆ 40 – 50 ปีให้หลัง (พ.ศ. 2375) ท้าวเทพากรหรือนายทองได้ทำการสร้างวัดเทพากรขึ้น เพื่อเป็นมหากุศลให้กับตนเองในบั้นปลายชีวิตตามคติความเชื่อของศาสนาพุทธ พร้อมกันนี้ได้สร้างเจดีย์ใหญ่ในบริเวณใกล้กันกับพระอุโบสถของวัด และได้ทำการลำเลียงพระเครื่องจากวัดเลียบ ซึ่งสมเด็จพระศรีสมโพธิ์หรือท่านขรัวอีโต้ได้สร้างไว้ก่อนมรณะภาพ โดยขนย้ายมาทางเรือตามแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อมาบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ใหญ่ดังกล่าว

 

ลักษณะของพระเครื่องขรัวอีโต้ (พิมพ์เล็ก) กรุวัดเทพากร  

พระขรัวอีโต้ กรุวัดเลียบ พระขรัวอีโต้ กรุวัดเทพากร
เปรียบเทียบพระขรัวอีโต้ กรุวัดเลียบ กับ พระขรัวอีโต้ กรุวัดเทพากร

 

 

แบบพิมพ์ : แบบพิมพ์ของพระเครื่องขรัวอีโต้ กรุวัดเทพากร มีความแตกต่างจากพระเครื่องขรัวอีโต้กรุวัดเลียบอยู่หลายประการ กล่าวคือ พิมพ์ทรงโดยรวมของพระขรัวอีโต้ วัดเทพากร จะมีความตื้นไม่ลึกคมชัดเหมือนพระขรัวอีโต้กรุวัดเลียบ พระพักตร์เรียวรูปไข่ต่างจากขรัวอีโต้กรุวัดเลียบซึ่งมีพระพักตร์ทรงสี่เหลี่ยม พระอุระ(อก) มีขนาดเล็กกว่าสอบเข้าที่เอวคล้ายรูปทรงของตัววีในภาษาอังกฤษ ต่างจากขรัวอีโต้กรุวัดเลียบซึ่งมีพระอุระจนถึงเอวเป็นรูปทรงกระบอก แขนซ้ายของพระขรัวอีโต้กรุวัดเทพากรจะมีขนาดเรียวเล็กกว่ากรุวัดเลียบแต่โค้งมนไม่หักศอกเหมือนพระขรัวอีโต้พิมพ์ใหญ่ ส่วนแขนขวามีลักษณะเรียวเล็กเป็นเส้นตรงตั้งแต่หัวไหล่ลงมาจนถึงหัวเข่า ต่างจากพระขรัวอีโต้พิมพ์ใหญ่กรุวัดเลียบซึ่งข้อศอกจะหักมุมน้อย ๆ สำหรับเส้นซุ้มของพระขรัวอีโต้พิมพ์เล็ก กรุวัดเทพากรจะเป็นซุ้มเส้นลดซึ่งมีปลายยอดบนลักษณะโค้งมน ไม่แหลมเหมือนขรัวอีโต้พิมพ์ใหญ่ อีกทั้งด้านข้างไม่มีซุ้มพญานาคคู่ขนานกับซุ้มเส้นลวดเหมือนกับพระขรัวอีโต้ พิมพ์ใหญ่กรุวัดเลียบ

เนื้อพระ : เป็นพระเนื้อดินละเอียดผสมผงสีขาว แบบเดียวกับเนื้อพระขรัวอีโต้พิมพ์ใหญ่ กรุวัดเลียบ เนื่องจากผู้สร้างคือพระเถระรูปเดียวกัน (สมเด็จพระศรีสมโพธิ์) และที่ด้านหน้าองค์พระจะมีทั้งที่ลงรักปิดทอง ปิดทองอย่างเดียวไม่ลงรัก และไม่ได้ลงรักปิดทอง ด้านหลังอูมเล็กน้อยเหมือนกันกับพระขรัวอีโต้พิมพ์ใหญ่ กรุวัดเลียบทุกประการ

 

จะขอย้อนกลับมากล่าวถึง วัดราชบุรณราชวรวิหาร (วัดเลียบ) อีกสักครั้ง ภายหลังจากที่ได้มีการรื้อเจดีย์ทรงมอญจนพบพระเครื่องขรัวอีโต้พิมพ์ใหญ่ในปี พ.ศ. 2473 ต่อมาได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเริ่มที่ยุโรปในปี พ.ศ. 2482 (เมื่ออังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเยอรมันนี) พ.ศ. 2484 และในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 กองทหารญี่ปุ่นได้เข้าเมืองไทยทางสงขลา ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และสมุทรปราการ เพื่อขอเดินทัพผ่านประเทศไทย เพื่อไปโจมตีพม่าและมลายูของอังกฤษ (สงครามที่เกิดขึ้นในเอเชียนี้เรียกว่าสงครามมหาเอเชียบูรพา) ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเกิดความไม่พอใจที่ประเทศไทยอนุญาตให้ญี่ปุ่นใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน จึงได้ส่งกองบินเข้ามาทิ้งระเบิดครั้งแรกในพระนคร เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2485 เวลา 04:00 น.  

พระพิมพ์ปรกโพธิ์  เนื้อชินผิวปรอท  กรุวัดเลียบ ด้านหลังพระพิมพ์ปรกโพธิ์  เนื้อชินผิวปรอท  กรุวัดเลียบ
พระพิมพ์ปรกโพธิ์ เนื้อชินผิวปรอท กรุวัดเลียบ

ในระยะแรกกองทัพญี่ปุ่นได้รับชัยชนะทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ ทำให้รัฐมนตรีบางคนเห็นควรให้ไทยประกาศสงครามกับประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา(ฝ่ายสัมพันธมิตร) เพราะเชื่อว่าญี่ปุ่นจะชนะสงคราม จึงได้ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 ซึ่งการสู้รบได้ดำเนินไปเป็นระยะเวลานานถึง 3 ปี จนกระทั่งวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2488 เวลาประมาณ 13:00 น. ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ส่งกองบินมาทิ้งระเบิดบริเวณสะพานพุทธฝั่งพระนคร ทำให้พระอุโบสถและถาวรวัตถุภายในวัดราชบุรณราชวรวิหาร(วัดเลียบ) ชำรุดเสียหายแทบทั้งหมด คงเหลือแต่พระประธานในพระอุโบสถเพียงองค์เดียวที่ไม่ได้รับความเสียหาย เพียงแต่ฐานของพระประธานบริเวณเหนือฐานชุกชี เผยอเอนไปทางด้านหลังแค่เล็กน้อย จึงทำให้พระเครื่องเนื้อโลหะขนาดเล็กซึ่งบรรจุอยู่ภายใต้ฐานชุกชี กระจัดกระจายออกมาจำนวนหนึ่ง ทางวัดจึงได้เก็บรวบรวมพระเครื่องที่กระจัดกระจายอยู่นั้น พร้อมทั้งนำพระเครื่องซึ่งบรรจุอยู่ใต้ฐานชุกชีออกมาทั้งหมด ได้จำนวนมากประมาณ 2 กระสอบใหญ่ ๆ มีหลายพิมพ์ได้แก่ พิมพ์สมาธิใหญ่ , พิมพ์สมาธิเล็ก , พิมพ์นาคปรก , พิมพ์ปรกโพธิ์ , พิมพ์ปางไสยาสน์ , พิมพ์ห้ามญาติ , พิมพ์ห้ามสมุทร , พิมพ์ห้ามแก่นจันทร์ เป็นต้น  

 

พระพิมพ์ประทานพร(ยืน)  ปิดทองเดิม  กรุวัดเลียบ ด้านหลังพระพิมพ์ประทานพร(ยืน)  ปิดทองเดิม  กรุวัดเลียบ
พระพิมพ์ประทานพร(ยืน) ปิดทองเดิม กรุวัดเลียบ

ลักษณะของพระเครื่องทุกองค์จะเป็นเนื้อชินเงิน มีทั้งที่ปิดทองและไม่ได้ปิดทอง พระองค์ไม่ได้ปิดทอง จะมองเห็นปรอทสีขาวซีดจับอยู่ทั่วทั้งองค์พระ ซึ่งพระเครื่องที่พบส่วนใหญ่จะมีการระเบิดแตกปริให้เห็นตามพื้นผิวบนองค์พระจุดใดจุดหนึ่งมากบ้างน้อยบ้างแทบจะทุกองค์ ผิวพระจะเป็นแบบผิวของผลมะระ คือขรุขระไม่เรียบตึง ลักษณะการสร้างพระใช้วิธีเทหล่อ 2 จังหวะ (ด้านหน้าและด้านหลัง) ประกบกัน จึงทำให้มองเห็นตะเข็บด้านข้างองค์พระเป็นรอยต่อกันทุกองค์  

 

 

สันนิษฐานกันว่า พระเครื่องเนื้อชินเงินทั้งหมดจากกรุนี้ ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) เนื่องจากพระองค์ท่านได้บูรณะ และทรงสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ จึงเชื่อกันว่า น่าจะมีการบรรจุพระพิมพ์ดังกล่าว ไว้ใต้ฐานชุกชีพระประธานในพระอุโบสถในครั้งนั้นด้วย  

 

 

พระพิมพ์สมาธิใหญ่(ครึ่งซีก)  กรุวัดสัมพันธวงศ์(วัดเกาะ) ด้านหลังพระพิมพ์สมาธิใหญ่(ครึ่งซีก)  กรุวัดสัมพันธวงศ์(วัดเกาะ)
พระพิมพ์สมาธิใหญ่(ครึ่งซีก) กรุวัดสัมพันธวงศ์(วัดเกาะ)

 

นอกจากนี้ ที่วัดสัมพันธวงศ์ (วัดเกาะแก้วลังการาม) หรือที่ชาวบ้านเรียกสั้น ๆ ว่า “วัดเกาะ” ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันกับวัดราชบุรณราชวรวิหารหรือวัดเลียบ ได้มีการค้นพบพระพิมพ์เนื้อชินเงิน ซึ่งมีลักษณะที่คล้ายกันกับพระพิมพ์เนื้อชินเงินกรุวัดเลียบ โดยมีการแตกกรุออกมาจำนวนถึง 3 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1 มูลเหตุในการพบพระพิมพ์คือ ซุ้มทางเดินระหว่างพระอุโบสถกับวิหารเกิดชำรุดพังทลายลงมา ทำให้พระเครื่องต่าง ๆ ซึ่งถูกบรรจุไว้ หล่นกระจายลงมาจำนวนมาก ทางวัดจึงได้เก็บรวบรวมไว้ โดยแบ่งพระพิมพ์ส่วนหนึ่งแจกให้กับผู้ที่ต้องการนำไปสักการะบูชา และอีกส่วนได้นำไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ซึ่งสร้างขึ้นมาใหม่

ครั้งที่ 2 มูลเหตุในการพบพระพิมพ์คือ ซุ้มประตูกำแพงโบสถ์ด้านทิศตะวันตกของพระวิหาร เกิดชำรุดและพังทลายลงมา ปรากฏว่า พบพระเครื่องเนื้อชินเงินแบบเดียวกันกับที่เคยพบในครั้งแรก หล่นกระจายอยู่ทั่วไป แต่ในครั้งนี้ไม่ค่อยมีผู้สนใจนัก

ครั้งที่ 3 ทางวัดสัมพันธวงศ์(วัดเกาะ) ได้ทำการรื้อถอนพระอุโบสถ วิหาร และพระเจดีย์ เพื่อทำการปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2515 โดยทางวัดได้ทำการอัญเชิญพระประธานองค์เดิมซึ่งอยู่ในพระอุโบสถหลังเก่า เพื่อขึ้นประดิษฐานในพระอุโบสถหลังใหม่ จึงเป็นมูลเหตุในการค้นพบพระพิมพ์ในครั้งนี้

ลักษณะของพระเครื่องเนื้อชินเงินกรุวัดเกาะ (สัมพันธวงศ์) เป็นพระแม่พิมพ์เดียวกันกับพระเนื้อชินเงินกรุวัดเลียบ โดยแบบพิมพ์จะเป็นพระปางต่าง ๆ เหมือนกรุวัดเลียบ มีทั้งที่ปิดทองและไม่ได้ปิดทองเหมือนกรุวัดเลียบทุกประการ เพียงแต่มีความแตกต่างกันตรงที่ พระเนื้อชินเงินกรุวัดเกาะสัมพันธวงศ์ เป็นพระที่สร้างโดยใช้วิธีการเทหล่อด้านเดียว หรือที่วงการพระเครื่องเรียกว่ากรุวัดเกาะสัมพันธวงศ์ เป็นพระที่สร้างโดยใช้วิธีการเทหล่อด้านเดียว หรือที่วงการพระเครื่องเรียกว่า “ครึ่งซีก” ซึ่งด้านหลังพระมีลักษณะเรียบแบน ต่างจากพระเครื่องเนื้อชินเงินกรุวัดเลียบ ที่ใช้วิธีเทหล่อ 2 จังหวะทั้งด้านหน้าพระ และด้านหลังพระ สันนิษฐานกันว่า พระเครื่องเนื้อชินที่พบจากกรุวัดเกาะ (วัดสัมพันธวงศ์) ผู้สร้างคือเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี เป็นผู้สร้างพระพิมพ์บรรจุไว้พร้อมกับสร้างวัดสัมพันธวงศ์ (ซึ่งขณะใช้ชื่อเรียกวัดว่าเกาะแก้วลังการาม) ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) โดยเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ได้ใช้แม่พิมพ์เดิมซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) เคยใช้สร้างพระพิมพ์บรรจุไว้ในฐานชุกชีที่วัดเลียบนั่นเอง

 i163018021 98954 3

 

BetFair F.BetRoll UK Bookies
Ladbrokes Review L.BetRoll
WIll Hill BookiesW.BetRoll here...
United Kingdom BetRoll Bookmakers
free web counter