Prakard2

 

Head-flashlight

Side_Beam_Flashlight

ไฟฉายโบราณ ค.ศ.1913 (พ.ศ.๒๔๕๖)

ผลิตโดย Hawthorne Manufacturing Company

 

 

 

ตราบใดที่ยังคงมีความมืดและช่วงเวลาค่ำคืน แสงสว่างย่อมเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เสมอ โดยไม่จำกัดว่า ที่มาของแสงสว่างนั้นจะได้มาจากไฟธรรมชาติ เช่น กองไฟ คบเพลิง ตะเกียง เทียนไข หรือ ไฟจากเทคโนโลยีการประดิษฐ์คิดค้นและการประยุกต์ของมนุษย์ เช่น โคมไฟ – ไฟฉาย จากหลอดคาร์บอนสูญญากาศ เป็นต้น โดยเฉพาะไฟฉาย ซึ่งเป็นที่รู้จักคุ้นเคยกันดีมาช้านาน แต่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบรายละเอียด เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของไฟฉายมากนัก จึงขอกล่าวถึงไว้พอสังเขป ดังนี้

นับตั้งแต่ชาวอังกฤษที่ชื่อ Sir Joseph Wilson Swan ได้ทำการประดิษฐ์หลอดไฟคาร์บอนสูญญากาศ ระหว่างปี ค.ศ. 1850 – 1878 โดยใช้คาร์บอนแท่งยาวเป็นไส้หลอดไฟ แล้วไล่อากาศภายในหลอดออกจนกลายเป็นสภาพสูญญากาศ จากนั้น Swan ได้ทำการจดลิขสิทธ์ผลงานของเขาที่ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1878 ต่อมาในปี ค.ศ. 1879 เขาได้ทำการพิสูจน์ให้เห็นว่า หลอดไฟที่เขาประดิษฐ์ขึ้นมานั้น สามารถใช้งานได้จริงในรูปแบบของโคมไฟ จึงเริ่มมีการนำเอาโคมไฟไปติดตั้งตามบ้านเรือนของประชาชน และตามอาคารสถานที่ต่างๆทั่วประเทศอังกฤษ

 

Oak_Box_Flashlight

ไฟฉายโบราณกล่องไม้มะฮอกกานี

ค.ศ.1925 (พ.ศ.๒๔๖๘) 

ผลิตโดย Exide Company

 

 

ขณะเดียวกัน ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา (ภายหลังจากที่ Swan ได้จดลิขสิทธิ์ในฐานะเป็นผู้คิดค้นหลอดไฟได้สำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว) ในปี ค.ศ. 1878 นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ซึ่งผันตัวเองมาเป็นเจ้าของบริษัท Edison Electric Light Company ชื่อ Thomas Alva Edison ได้นำผลงานของ Swan ไปต่อยอด ( ผู้เขียนไม่ขอวิจารณ์ว่า Edison ขโมยผลงานแนวคิดเรื่องการทำหลอดไฟมาจาก Swan หรือไม่) โดยเขาได้ทำการทดลองใช้วัสดุหลายชนิดมาเผาไฟ เพื่อให้ได้คาร์บอนสำหรับใช้ทำเป็นไส้หลอดไฟ ซึ่งเขาได้ค้นพบว่า เส้นใยจากไม้ไผ่ญี่ปุ่นเมื่อนำมาเผาไฟแล้ว จะได้คาร์บอนสำหรับใช้ทำเป็นไส้หลอดไฟสูญญากาศดีที่สุด สามารถให้แสงสว่างได้ยาวนานถึง 1,200 ชั่วโมง และในปี ค.ศ. 1880 เขาจึงได้ผลิตหลอดไฟคาร์บอนสูญญากาศออกจำหน่ายสู่ท้องตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกา

 

จนกระทั่งในปี ค.ศ.1896 ที่ประเทศเยอรมันนี ได้มีนักเคมีชื่อ Dr.Carl Gassner ได้ทำการพัฒนาต่อยอดแบตเตอรี่เปียก ( Wet Cell ) ของ Georges Leclanche ให้เป็นแบตเตอรี่แห้ง ( Dry Cell ) โดยมีลักษณะเป็นก้อนรูปทรงกระบอกตามที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน ขณะเดียวกันที่มหานครนิวยอร์คประเทศสหรัฐอเมริกา นาย David Misell ผู้เชี่ยวชาญด้านชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า ก็ได้ทำการประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งมีรูปแบบเป็นสัญญาณไฟขนาดเล็กได้สำเร็จในปีเดียวกัน พร้อมทั้งจดลิขสิทธิ์ไว้ในเดือนเมษายน ปี ค.ศ.1896 ( ต่อมาในปี ค.ศ. 1897 Misell ก็ได้ประดิษฐ์ไฟฉายจักรยานที่ใช้แบตเตอรี่แห้งสามก้อน หรือ 3 “D” แล้วทำการจดลิขสิทธิ์ผลงานไฟฉายจักรยานไว้ในปีนี้ด้วย )

 

Leathern_Flashlight

ไฟฉายโบราณกล่องหนัง ใช้ในกองทัพอังกฤษ

สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ค.ศ.1914 (พ.ศ.๒๔๕๗)

 

 

 

 

และที่มหานครนิวยอร์คนี่เอง (ช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ในปี ค.ศ.1896) นาย Joshua Lionel Cowen ซึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยโคลัมเบีย (Columbia University) ได้เข้าไปฝึกงานที่บริษัท Henner & Anderson ( ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่แห้งแห่งแรกของสหรัฐอเมริกา ) หลังเวลาเลิกงาน เขาได้ทำการทดลองประยุกต์แบตเตอรี่แห้งเชื่อมต่อเข้ากับหลอดไฟ แล้วนำไปติดไว้ที่กระถางต้นไม้ เพื่อให้แสงสว่างกับไม้ประดับได้สำเร็จ แต่หย่อนความงาม และมีรูปทรงที่ไม่สดวกต่อการใช้งานเท่าที่ควร

ต่อมาในปี ค.ศ.1897 Cowen ได้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และได้เข้าทำงานที่บริษัท Acme Electric Lamp Company ซึ่งเป็นบริษัทผลิตตะเกียงในมหานครนิวยอร์คยุคนั้น โดยเขาทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบแบตเตอรี่ตะเกียง (battery lamp assembler) ระหว่างที่ทำงานอยู่นั้น เมื่อมีเวลาว่าง Cowen จะทำการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ของเขา(ไฟติดกระถางต้นไม้)ต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1898 เขาได้มีโอกาสรู้จักกับนาย Conrad Hubert (แต่เดิมเป็นชาวรัสเซียที่อพยพมาประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1891) ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัท American Electrical Novelty and Manufacturing Company ( ก่อตั้งบริษัทขึ้นในเดือน มีนาคม ค.ศ. 1898 ) ผลิตและขายสินค้าเกี่ยวกับพัดลม รวมทั้งเข็มกลัดติดเนคไทด์เรืองแสง เมื่อ Hubert ได้พบเห็นสิ่งประดิษฐ์ของ Cowen จึงได้ขอซื้อแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ไฟติดกระถางต้นไม้ ( Electric Flowerpot ) จากเขา เพื่อนำไปผลิตสำหรับจำหน่ายเป็นสินค้าอีกชนิดหนึ่งของทางบริษัทต่อไป

 

 

Candle_Flashlight

ไฟฉายโบราณสำหรับเด็ก ค.ศ.1928 (พ.ศ.๒๔๗๑)

ผลิตโดย May Manufacturing Company

 

 

หลังจากนั้น Hubert ได้เริ่มวางจำหน่ายไฟติดกระถางต้นไม้ ( Electric Flowerpot ) ในปี ค.ศ. 1898 แต่เป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เนื่องจากไม่ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเท่าที่ควร Hubert จึงเกิดแนวคิดที่จะพัฒนาปรับปรุงไฟติดกระถางต้นไม้ใหม่ ให้เป็นรูปทรงกระบอกขนาดเหมาะสมต่อการพกพาใช้งาน เขาจึงได้ว่าจ้าง David Misell ให้เป็นผู้พัฒนารูปทรงของไฟฉาย จนเกิดเป็นไฟฉายรูปทรงกระบอกคล้ายท่อขึ้นครั้งแรกของโลก โดย Misell ได้ใช้ท่อไฟเบอร์เป็นองค์ประกอบหลักชั้นนอกสำหรับมือจับ ส่วนภายในท่อไฟเบอร์ชั้นที่สอง เขาได้ใช้กระดาษชนิดหยาบซึ่งมีความหนาพอประมาณหุ้มทับไว้ด้านใน เพื่อเป็นตัวรองรับถ่านไฟฉาย จากนั้นจึงนำหลอดไฟมาประกอบเข้ากับแผ่นทองเหลืองรูปทรงกรวย ซึ่งมีความมันวาวสามารถสะท้อนแสงจากหลอดไฟได้ ประกอบเข้าที่ส่วนปลายของท่อไฟเบอร์ด้านหนึ่ง ส่วนปลายอีกด้านหนึ่ง ปิดด้วยโลหะซึ่งทำขึ้นมาจากทองเหลือง ลักษณะคล้ายฝาขวดมีเกลียวหมุนได้รอบ ปิดหุ้มไว้ที่ก้นไฟฉาย 

 

Stering_Silver_Flaslight

ไฟฉายพกโบราณ (ประเทศอังกฤษ)

ทำจากเงินสเตอร์ลิงค์

ค.ศ.1904 (พ.ศ.๒๔๔๗)

ผลิตโดย Ever Ready Company

 

 

และในปีเดียวกัน ( ค.ศ. 1898 ) ภายหลังจากที่ Misell ได้ประดิษฐ์ไฟฉายทรงกระบอกสำเร็จแล้ว Hubert ได้นำไฟฉายที่ผลิตขึ้น ภายใต้ลิขสิทธิ์ของ American Electrical Novelty and Manufacturing Company จำนวนหนึ่ง ไปมอบให้กับตำรวจในมหานครนิวยอร์คได้ทดลองใช้งาน ปรากฏผลเป็นที่ชื่นชอบแก่ตำรวจทุกนาย จนหน่วยงานตำรวจได้ออกหนังสือรับรองคุณภาพไฟฉาย เพื่อมอบให้กับ Hubert ไว้ในโอกาสนั้นด้วย ในปีเดียวกันหลังจากนั้น Hubert จึงได้สร้างโรงงานเพื่อผลิตไฟฉายขึ้นมาโดยเฉพาะ ภายใต้ชื่อสินค้าว่า “EVER READY” (เอเวอ เรดี้) หมายถึง พร้อมใช้งานตลอดเวลา และเริ่มวางจำหน่ายออกสู่ท้องตลาด ในปี ค.ศ.1899 โดยใช้หนังสือรับรองจากหน่วยงานตำรวจ เป็นเครื่อง รับประกันคุณภาพในไฟฉายของเขา หลังจากนั้น Hubertได้พัฒนาไฟฉายบริษัทของเขาต่อไปเรื่อยๆ เป็นรูปทรงต่างๆที่ไม่ใช่ทรงกระบอกเพียงแบบเดียว สำหรับออกวางจำหน่ายร่วมกัน เช่น ไฟฉายจักรยานซึ่งทำจากไม้ รูปทรงกล่องสี่เหลี่ยมโดยใช้ไม้โอ๊คเป็นองค์ประกอบหลัก , ไฟฉายจักรยานซึ่งทำมาจากโลหะ รูปทรงกระบอกแนวตั้งประกบติดกันคล้ายรูปดอกจิก , ไฟฉายตั้งโต๊ะ รูปทรงเทียนไข ลักษณะเป็นแท่งแนวตั้งอยู่บนฐานกล่องสี่เหลี่ยมไม้โอ๊ค , ไฟฉายพกพาขนาดเล็ก รูปทรงแบนคล้ายกล่องยาสูบซิกาแรต ซึ่งมีทั้งชนิดที่ทำขึ้นมาจากเงินสเตอร์ลิงค์ และ ชนิดที่ทำขึ้นมาจากโลหะทองเหลืองเคลือบนิกเกิล เป็นต้น พร้อมกันนี้ ยังได้ผลิตหลอดไฟฉายเอเวอ เรดี้และถ่านไฟฉาย ออกจำหน่ายควบคู่กันไปด้วย.

 

 

 

Everready_Bulb1Everready_Bulb2Everready_Bulb3     

Everready_Bulb

หลอดไฟฉายโบราณ Ever Ready วันที่ 8

พฤศจิกายน ค.ศ.1904 (พ.ศ.๒๔๔๗)

Everready_Bulb4

 

Everready_Bulb5

 

 

 

 

ต่อมาในปี ค.ศ. 1901 Hubert ได้เกิดแนวคิดเรื่องการนำโลโก้ของบริษัท ไปประทับตราไว้ที่สินค้าไฟฉายของเขา พร้อมทั้งทำการจดลิขสิทธิ์โลโก้เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1901 จากนั้น ในปี ค.ศ.1902 จึงได้เริ่มดำเนินการประทับตรารูปโลโก้ไว้ที่ไฟฉาย ภายในโลโก้มีข้อความเขียนกำกับไว้ว่า EVER READY LIGHT อยู่ภายในวงกลมของโลโก้ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1906 บริษัท National Carbon Company ได้เข้ามาติดต่อขอร่วมเป็นหุ้นส่วนด้วย โดยขอซื้อกิจการบริษัท American Electrical Novelty and Manufacturing Company จาก Hubert ครึ่งหนึ่ง ในราคา 200,000 ดอลล่าร์สหรัฐ จากนั้นจึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น The American Ever Ready Company และทำการเปลี่ยนชื่อสินค้าใหม่จาก “EVER READY” เป็น “EVEREADY” (เอเวอเรดี้)โดยตัดตัว “R” ตรงกลางออกหนึ่งตัว แล้วรวบเป็นคำเดียวกันเพื่อให้คำสั้น และกระชับยิ่งขึ้นตามที่เห็นในปัจจุบันนี้.

 

 

Yale_Flashlight

ไฟฉายโบราณ 2 ทาง (2 in 1) ค.ศ.1925 (พ.ศ.๒๔๖๘)

ผลิตโดย Yale Company

 

 

 

 

 

สรุปความโดยย่อ

หลอดไฟฉาย :   เริ่มต้นจากผลงานของ Sir Joseph Wilson Swan --------> พัฒนาต่อยอดจนสำเร็จเป็นหลอดไฟฉายโดย Thomas Alva Edison

 

 

กระบอกไฟฉาย :   เริ่มต้นจากผลงานของ Joshua Lionel Cowen --------> พัฒนาต่อยอดจนสำเร็จเป็นรูปทรงกระบอกคล้ายท่อโดย David Misell

 

 

ถ่านไฟฉาย :   เริ่มต้นจากผลงานแบตเตอรี่เปียก ( Wet Cell ) ของ Georges Leclanche --------> พัฒนาต่อยอดจนสำเร็จเป็นแบตเตอรี่แห้งหรือถ่านก้อน ( Dry Cell ) โดย Dr.Carl Gassner

 

 

บริษัทผู้ผลิตไฟฉายทรงกระบอกครั้งแรกของโลก :   American Electrical Novelty and Manufacturing Company --------> เจ้าของบริษัทคือ Conrad Hubert -------> ผู้ทดลองใช้งานไฟฉายทรงกระบอกครั้งแรกของโลก คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจในมหานครนิวยอร์ค ---------> ผลิตภัณฑ์สินค้ากระบอกไฟฉายหลอดไฟฉาย และถ่านไฟฉาย ภายใต้ชื่อสินค้า EVER READY (เอเวอ เรดี้).

 

  
namesgold

วันอาทิตย์ที่ ๗ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีฉลู

พุทธศักราช ๒๕๕๒

 

 

 

 

 

 

 

 

namesgold namesgold
namesgold namesgold

 

1228402617

 

BetFair F.BetRoll UK Bookies
Ladbrokes Review L.BetRoll
WIll Hill BookiesW.BetRoll here...
United Kingdom BetRoll Bookmakers
free web counter