Prakard2


buttonclick2

 

head-13

 
 

 

พระกรุบึงพระยาสุเรนทร์

พระกรุวัดบึงพระยาสุเรนทร์ พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ (กรุเก่า)

(พระประกวดติดรางวัล 2 งาน ที่ 2 และที่ 3 งานพันธุ์ทิพย์งามวงศ์วาน พ.ศ.2550)

 

 

 

วัดพระยาสุเรนทร์ ตั้งอยู่หมู่ 8 ถนนพระยาสุเรนทร์ แขวงสามวาตะวันตก เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ผู้สร้างวัดพระยาสุเรนทร์ คือ เจ้าพระยาสุเรนทร์ราชเสนา (พึ่ง สิงหเสนี) รับราชการทหารในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อท่านได้รับการแต่งตั้งเป็น “พระยา” ถือศักดินา 4,000 ไร่ จึงออกไปจับจองที่ดินตามศักดินา แล้วปลูกบ้านอยู่บริเวณบ้านฉาง (ซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดประมาณ 10 เส้น) โดยเว้นที่ซึ่งเป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 48 ไร่ เอาไว้ ต่อมาท่านได้สร้างวัดขึ้น ณ บริเวณริมบึงน้ำดังกล่าว และทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2425 (ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 6 ร.ศ.101) เมื่อสร้างวัดแล้วเสร็จจึงได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลถวายเป็นพระราชกุศล แด่องค์สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 ) และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันพุธ แรม 9 ค่ำ เดือน 11 พ.ศ.2431 วัดที่ท่านพระยาสุเรนทร์ได้สร้างขึ้นนี้ ชาวบ้านในสมัยนั้นเรียกกันว่า “วัดบึงพระยาสุเรนทร์” เหตุเพราะเป็นวัดที่สร้างอยู่ข้างบึงน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันบึงน้ำดังกล่าวได้ถูกดินถมทับไปจนหมดแล้ว

 

ใบประกาศพระ

 

ใบประกาศพระ  

 

 

 

พระกรุบึงพระยาสุเรนทร์

พระกรุวัดบึงพระยาสุเรนทร์ พิมพ์ฐานแซม (กรุเก่า)

(พระประกวดติดรางวัลชมเชย งานพันธุ์ทิพย์งามวงศ์วาน วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2550)

ในบั้นปลายชีวิตของเจ้าพระยาสุเรนทร์ ท่านได้บวชเณรอยู่ที่วัดบึงพระยาสุเรนทร์ซึ่งท่านเป็นผู้สร้างและอุปถัมภ์มาโดยตลอด (เหตุที่ท่านไม่อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เนื่องจากท่านมีโรคริดสีดวงเป็นโรคประจำตัว จึงไม่สามารถอุปสมบทได้) ในระหว่างที่ท่านพระยาสุเรนทร์ได้บวชเณรอยู่นั้น ท่านได้สร้างพระพิมพ์โดยดำเนินการทุกอย่างด้วยตนเอง ตั้งแต่ปลุกเสกน้ำมันมนต์วิเศษ (ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากเจ้าพระยาบดินทรเดชาซึ่งเป็นปู่ของท่าน) รวมทั้งเก็บรวบรวมผงวิเศษและว่านศักดิ์สิทธิ์นานาชนิด ตลอดจนแกะแม่พิมพ์พระด้วยงาช้าง , ผสมผงกดพิมพ์พระ แล้วทำการปลุกเสก จากนั้นท่านได้นำพระเครื่องทั้งหมดไปบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ ซึ่งท่านได้สร้างไว้บริเวณริมบึงน้ำข้างวัดนั่นเอง

 

ใบประกาศพระ

 

 

พระกรุบึงพระยาสุเรนทร์

พระกรุวัดบึงพระยาสุเรนทร์ พิมพ์ฐานสามชั้น (กรุเก่า)

(พระประกวดติดรางวัลที่ 4 งานพันธุ์ทิพย์งามวงศ์วาน วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2550)

 

ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 ซึ่งพระอาจารย์กร่ำ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบึงพระยาสุเรนทร์ในขณะนั้น พระเจดีย์ริมบึงซึ่งท่านเจ้าพระยาสุเรนทร์ได้บรรจุพระเครื่องไว้ เกิดชำรุดล้มเอียงเนื่องจากพื้นดินริมบึงได้ทรุดตัวลง ทำให้พระเครื่องกระจัดกระจายแตกกรุออกมาเป็นครั้งแรก โยมชุ่ม สิงหเสนี จึงได้นำพระเครื่องที่แตกกรุออกมานี้ ไปมอบให้กับจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นประเทศไทยได้เข้าร่วมในสงครามอินโดจีน เพื่อแจกจ่ายแก่ทหารเป็นจำนวน 3 ถุงใหญ่ ๆ ประมาณหลายพันองค์ ปรากฏว่าทหารที่ได้รับแจกพระเครื่องกรุวัดบึงพระยาสุเรนทร์ แล้วนำพระติดตัวไปปฏิบัติภารกิจร่วมรบในสงครามอินโดจีน ต่างประสบกับปาฏิหารย์ในลักษณะที่ตรงกันคือ ถูกยิงถูกแทงหรือถูกสะเก็ดระเบิด แต่ไม่มีบาดแผลหรือได้รับอันตรายแต่ประการใด เมื่อข่าวเกี่ยวกับปาฏิหารย์ของพระเครื่องกรุวัดบึงพระยาสุเรนทร์ได้แพร่หลายออกไป ทำให้ประชาชนต่างหลั่งไหลมาขอพระเครื่องที่วัด จนพระเครื่องได้หมดไปจากวัดในเวลาอันรวดเร็ว ส่วนทางด้านวงการพระเครื่องสมัยนั้น ต่างแสวงหาพระกรุวัดบึงพระยาสุเรนทร์กันมาก จึงทำให้พระมีราคาเช่าบูชาที่ค่อนข้างสูง ในวงการพระเครื่องเรียกพระกรุนี้ว่า “พระกรุเก่าริมบึง” 

 

ใบประกาศพระ

 

 

พระกรุบึงพระยาสุเรนทร์
พระกรุวัดบึงพระยาสุเรนทร์ พิมพ์ซุ้มกอเล็บมือ (กรุเก่า)

 

ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ทางวัดบึงพระยาสุเรนทร์ (ซึ่งขณะนั้นได้มีการถมดินบึงใหญ่ข้างวัดจนหมดสิ้นแล้ว และได้เปลี่ยนชื่อวัดโดยตัดคำว่า “บึง” ออกไป เป็นวัดพระยาสุเรนทร์) ได้ทำการเปิดกรุพระเครื่องอีกครั้งเป็นครั้งที่สอง โดยพระกรุนี้พบที่ใต้ฐานชุกชีพระประธานในพระอุโบสถ ทางวัดได้นำพระออกให้ประชาชนได้ทำบุญเช่าบูชาองค์ละ 500 บาท แต่ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากวงการพระเครื่องในสมัยนั้นเท่าใดนัก เนื่องจากพระกรุเจดีย์เก่าริมบึงและพระกรุใหม่ใต้ฐานชุกชีมีความแตกต่างกันด้านองค์ประกอบอยู่หลายประการ จึงทำให้วงการพระเครื่องให้ความนิยมเฉพาะพระกรุเก่าเท่านั้น

 

 

 

ลักษณะของพระผงกรุวัดบึงพระยาสุเรนทร์  

 

ลักษณะของพระผงกรุวัดบึงพระยาสุเรนทร์ พระกรุเก่าเจดีย์ริมบึง พระกรุใหม่ใต้ฐานชุกชี
ปีที่พระแตกกรุ พ.ศ. 2485 พ.ศ. 2512
ลักษณะพิมพ์พระ มีทั้งหมด 5 พิมพ์ เรียงตามลำดับความนิยมในวงการพระเครื่อง ดังนี้

1. พิมพ์พระเจ้า 5 พระองค์

2. พิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์


3. พิมพ์สมเด็จฐานแซม

4. พิมพ์สมเด็จฐาน 3 ชั้น

5. พิมพ์ซุ้มกอเล็บมือ
มีทั้งหมด 5 พิมพ์ ดังนี้

1. พิมพ์พระเจ้า 5 พระองค์

2. พิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์

3. พิมพ์สมเด็จฐานแซม

4. พิมพ์สมเด็จฐาน 3 ชั้น


5. พิมพ์ซุ้มกอเล็บมือ
ลักษณะของเนื้อพระ เป็นพระเนื้อผงละเอียดปานกลาง เมื่อใช้แว่นขยายส่องที่เนื้อพระ จะเห็นมวลสารลักษณะเป็นเม็ดขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้างกระจายอยู่ในเนื้อพระเป็นจำนวนมากทั่วทั้งองค์ เป็นพระเนื้อผงละเอียดจัด เมื่อใช้แว่นขยายส่องที่เนื้อพระ จะเห็นมวลสารจำนวนน้อย จนเกือบไม่เห็นมวลสารในเนื้อพระเลย
ขนาด มีขนาดต่างกันในแต่ละองค์เนื่องมาจากการตัดพิมพ์พระ มีขนาดต่างกันในแต่ละองค์ เนื่องมาจากการตัดพิมพ์พระ
สี สีเขียวคล้ายสีของขนมเปียกปูน คือ เป็นสีเขียวแก่หรือบางองค์ออกสีเหลืองเข้ม ซึ่งในพระบางองค์อาจมีสองสีอยู่ในองค์เดียวกัน สีเขียวซี๊ด ๆ ออกเหลืองจาง ๆ ในบางองค์เป็นสีเทาอ่อน
น้ำหนักของพระ มีน้ำหนักมากเกินจริง หรือมีน้ำหนักมากกว่าพระชนิดอื่นที่มีขนาดเท่ากัน มีน้ำหนักเบากว่าพระกรุเก่า
คราบกรุ มีคราบกรุน้อย เป็นฝ้าสีขาวบาง ๆ อยู่ทื่พื้นผิวขององค์พระแต่ประปรายไม่มากนัก มีคราบกรุจำนวนมาก สีขาวจับเกาะอยู่ทั่วองค์พระ
ธรรมชาติโดยรวมขององค์พระ ประมาณ 90% ของพระที่ขึ้นมาจากกรุเก่าจะมีรอยลั่นแตกปริ หรือบิ่นกระเทาะเดิมมากจากในกรุ เป็นส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด ตามธรรมชาติของพระกรุทั่ว ๆ ไป ประมาณ 90% ของพระที่ขึ้นมาจากกรุใหม่ จะมีความสมบูรณ์มาก พระส่วนใหญ่จะไม่มีรอยลั่นแตกปริหรือบิ่นกระเทาะเลย คล้ายกับสดใหม่ที่มีอายุการสร้างไม่กีปี
รอยอักขระเหล็กจารด้านหลังพระ ทั้งเหล็กที่ใช้จารอักขระด้านหลังองค์พระ รวมทั้งลายมือของผู้จาร มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แสดงว่าอุปกรณ์ที่ใช้จารลงอักขระ เป็นคนละชนิดกัน รวมทั้งผู้เขียนหรือผู้จารอักขระ ไม่ใช่บุคคลคนเดียวกัน
 

i163018021 98954 3

 

BetFair F.BetRoll UK Bookies
Ladbrokes Review L.BetRoll
WIll Hill BookiesW.BetRoll here...
United Kingdom BetRoll Bookmakers
free web counter