Prakard2



 

Head-5

15.) แก้ววิฑูรย์ขนบุ้ง

 

เป็นแก้วไพฑูรย์( CHRYSOBERYL) ที่มีสองสีอยู่ในชิ้นเดียวกันอย่างละครึ่ง คือมีสีเขียวครึ่งหนึ่งและสีเหลืองอีกครึ่งหนึ่ง แต่ไม่มี CAT’S EYE พาดกลางแก้ว ในด้านความเชื่อ เชื่อกันว่าแก้ววิฑูรย์ขนบุ้งนั้น มีคุณวิเศษคล้ายกันกับแก้ววิฑูรย์ในข้อ 2.) แต่เสริมความโดดเด่นในเรื่องของการคุ้มครองป้องกันภัยเข้าไปด้วย เพราะเชื่อกันว่าแก้ววิฑูรย์ขนบุ้งนั้นเป็นแก้วที่มีเทวดารักษา สามารถช่วยคุ้มครองผู้ซึ่งเป็นเจ้าของแก้วในยามคับขันได้


16.) แก้วก๊อแดง

แก้วก๊อแดงหมายถึงทับทิมสีแดง (RUBY) คำว่า RUBY มาจากคำว่า RUBER OF RUBEUS ในภาษาลาติน แปลว่า สีแดง แร่คอรันดัม (CORUNDUM) ทั้งหมด มีส่วนประกอบทางเคมีคืออะลูมิเนียมออกไซด์ (Al2O3) ภายในเนื้อแร่มีธาตุ Cr (CHROMIUM) ปะปนเป็นมลทินผสมอยู่จึงทำให้ทับทิมเป็นสีแดง (หากในเนื้อแร่เป็นธาตุ Ti (TITANIUM) และ Fe (IRON) เป็นมลทินผสมอยู่ก็จะเกิดเป็นสีน้ำเงินเรียกว่าไพลิน ) ทับทิมมีค่าความแข็งระดับ 9 ในระบบโมส์ มีค่าความถ่วงจำเพาะประมาณ 4 และมีความวาวคล้ายแก้วถึงคล้ายเพชร ในด้านความเชื่อ เชื่อกันว่าทับทิมเป็นอัญมณีที่ช่วยส่งเสริมด้านอำนาจให้กับผู้ซึ่งเป็นเจ้าของ ซึ่งในตำราได้ระบุไว้ชัดเจนว่า“...ก๊อแดงประจญปราบแท้ ข้าศึกแลหนีไกล...” หมายถึงเป็นที่เกรงขามต่อศัตรู อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความสำเร็จสมหวังในสิ่งที่ปรารถนาอีกด้วย

 

แก้วโป่งข่าม แก้วก๊อแดง

แก้วก๊อแดง


17.) แก้วสีพลีใส

 

แก้วสีพลีใสหมายถึงเพชร (DIAMOND) ซึ่งเป็นอัญมณีที่มีราคาแพงที่สุด เพชรมีส่วนประกอบทางเคมีที่สำคัญคือ คาร์บอน( C ) มีค่าความถ่วงจำเพาะที่ 3.52 ค่าการกระจายแสง 0.044 และดรรชนีหักเห 2.42 มีค่าความแข็งในระดับ 10 นับเป็นแร่อัญมณีที่แข็งที่สุดตามสเกลของโมส์ (Moh’s SCALE) ทางด้านความเชื่อ เพชรเป็นอัญมณีที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลของคนทุกเชื้อชาติ โดยมีความเชื่อที่ตรงกันว่า เป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจ ความยิ่งใหญ่ ชัยชนะ และความมั่งคั่งร่ำรวย ซึ่งในตำราแก้วอัญมณีวิเศษ 24 ชนิดเมืองล้านนา ได้ระบุเจาะจงคุณวิเศษของเพชรไว้ชัดเจนว่า“...แก้วสีพลีใสสะอาด ข่ามหน้าไม้นาดเป็นกระจวน...”

  
18.) แก้วปทัมก่าน

แก้วโป่งข่าม แก้วสัตตรัตนะปทัมก่าน โป่งข่าม แก้วสัตตรัตนะปทัมก่าน

ในตำราได้อธิบายลักษณะโดยรวมของแก้วปทัมก่านพอสังเขปว่า เป็นอัญมณีซึ่งมีลักษณะผสมแลดูมีหลายสี โดยจำแนกประเภทของแก้วปทัมก่านไว้ 2 ชนิดใหญ่ ๆ กล่าวคือ

1. แก้วมธุปทัมก่าน : คำว่า “มธุ” หมายถึง น้ำผึ้ง ดังนั้นแก้วมธุปทัมก่านจึงมีลักษณะเป็นแก้วสีน้ำผึ้งซึ่งมีมลทินแร่ลักษณะเป็นเส้นไหมประกอบอยู่ภายในแก้ว โดยเส้นไหมจะมีขนาดที่เล็กกว่าเส้นผม แต่มีสีปนกันอยู่ถึง 2 สีคือ ไหมสีแดง กับ ไหมสีเหลือง (ไหมทอง) อัดแน่นจำนวนมากอยู่ภายในแก้ว

2. แก้วสัตตรัตนะปทัมก่าน : เป็นแก้วซึ่งมีมลทินแร่ลักษณะเป็นเส้นไหมประกอบอยู่ภายในแก้วเช่นเดียวกันกับแก้วมธุปทัมก่าน เพียงแต่เส้นไหมที่ประกอบอยู่ภายในมีสีปะปนกันอยู่ถึง 3 สี ได้แก่ ไหมสีน้ำผึ้ง ไหมสีเหลือง และไหมสีขาว อัดแน่นจำนวนมากอยู่ภายในแก้ว

ในตำราวิชาแร่ (MINERALOGY) ได้จัดแก้วปทัมก่านไว้ในกลุ่มของควอซต์ชนิดไม่บริสุทธิ์ คือมีมนทิลแร่ประเภทรูไทล์ (RUTILE) เป็นเส้นขนหรือเส้นไหมประกอบอยู่ภายในแก้ว ทางด้านความเชื่อ เชื่อกันว่าแก้วปทัมก่านทั้งสองชนิดนี้ มีคุณวิเศษดีเลิศด้วยกันทั้งคู่ เพียงได้ครอบครองแก้วปทัมก่านชนิดใดชนิดหนึ่ง ก็จะสามารถรอดพ้นจากภัยพิบัติทั้งปวงได้ ในด้านความโดดเด่นเฉพาะตัว เชื่อกันว่าแก้วมธุปทัมก่าน มีคุณวิเศษในด้านการเข้าสังคม และสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ที่ได้ติดต่อสมาคม ซึ่งคล้าย ๆ กันกับคุณวิเศษของแก้ววิฑูรย์หรือไพฑูรย์ ส่วนแก้วสัตตรัตนะปทัมก่านนั้นเป็นแก้วที่มีคุณวิเศษเปรียบดั่งชัยมงคลทั้ง 7 ประการ (ซึ่งเป็นความเชื่อโบราณเกี่ยวกับหลักในการสร้างเมืองเชียงใหม่) คำว่า “สัตต” ในภาษาบาลีแปลว่าเจ็ด แก้วสัตตรัตนะปทัมก่านจึงเป็นแก้วที่ให้คุณในด้านคุ้มครองป้องกันภัยต่อผู้ซึ่งเป็นเจ้าของแก้ว ดุจชัยมงคลทั้ง 7 ประการที่คอยปกป้องคุ้มครองเมืองเชียงใหม่จากข้าศึกศัตรู

 



คำเตือน : เป็นความเชื่อเฉพาะกลุ่มบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณ

 

 

BetFair F.BetRoll UK Bookies
Ladbrokes Review L.BetRoll

เมนูหลัก

WIll Hill BookiesW.BetRoll here...
United Kingdom BetRoll Bookmakers
free web counter