ตัวอย่างเม็ดฟองอากาศในลูกปัดแก้วสีเดี่ยวโบราณ (Bubbles in Single Color Glass Bead)
|
|
1.) ลูกปัดแก้วอียิปต์โบราณยุคแรก เม็ดนี้มีอายุประมาณ 4,000 - 5,000 ปี เนื้อแก้วมีความแข็งมาก แข็งกว่าเนื้อแก้วของลูกปัดแก้วอียิปต์โบราณในยุคหลัง ลักษณะภายนอกจะมองเห็นเป็นแก้วผิวมันวาวสีดำสนิท แต่เมื่อนำมาส่องกับแสงไฟ จะเห็นเป็นสีฟ้าน้ำทะเลใสได้อย่างชัดเจน มีเม็ดฟองอากาศกระจายอยู่ประปรายทั่วไปภายในลูกปัด สีฟ้าน้ำทะเลนั้นเกิดจากออกไซต์ของโคลบอลต์ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 mm X หนา 8 mm |
|
|
|
2.) ลูกปัดแก้วอียิปต์โบราณ เม็ดนี้มีอายุประมาณ 3,500 - 4,000 ปี เนื้อแก้วมีความแข็งมาก ลักษณะภายนอกจะมองเห็นเป็นลูกปัดสีดำสนิท แต่เมื่อนำมาส่องกับแสงไฟ จะเห็นเป็นสีม่วงปนสีขาวใสได้อย่างชัดเจน มีเม็ดฟองอากาศกระจายอยู่ประปรายทั่วไปภายในลูกปัด สีม่วงนั้นเกิดจากออกไซต์ของแมงกานิส มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 mm X หนา 4 mm |
|
|
|
|
3.) ลูกปัดแก้วอียิปต์โบราณ เม็ดนี้มีอายุประมาณ 3,500 - 4,000 ปี สีของลูกปัดค่อนข้างพิเศษกว่าลูกปัดเม็ดอื่นๆคือเป็นสีผสม หากมองจากภายนอกจะเห็นเป็นลูกปัดเม็ดสีดำทึบ ปนกับสีเทาวาวคล้ายสีของโลหะประเภทเหล็กหรือตะกั่ว แต่เมื่อนำมาส่องกับแสงไฟ จะเห็นเป็นลูกปัดแก้วเม็ดสีน้ำเงินใสปนกับสีม่วงใสได้อย่างชัดเจน ลักษณะโดยรวมของโทนสีน้ำเงินจะคล้ายกันกับโทนสีของลูกปัดแก้วรูปทรงถังเบียร์บ้านเชียงอย่างมาก เนื่องจากถูกผลิตขึ้นมาในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกัน แตกต่างกันตรงรูปทรงและสถานที่ซึ่งทำการผลิตเป็นคนละมุมโลกเท่านั้น จะสังเกตเห็นเม็ดฟองอากาศกระจายอยู่ประปรายทั่วไปภายในลูกปัด สีน้ำเงินนั้นเกิดจากออกไซต์ของโคลบอลต์ ส่วนสีม่วงเกิดจากออกไซต์ของแมงกานิส เม็ดนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 mm X หนา 9 mm |
|
|
|
4.) ลูกปัดแก้วโรมันโบราณ เม็ดนี้มีอายุประมาณ 3,000 - 3,500 ปี สีเขียวอ่อนจางๆ สีไม่เข้มเหมือนลูกปัดแก้วโรมันในยุคหลัง สีเขียวนั้นเกิดจากออกไซต์ของโครเมี่ยม เนื้อแก้วมีความหนาและแข็งมากพอๆกับเนื้อของลูกปัดแก้วอียิปต์โบราณ แต่แข็งกว่าเนื้อแก้วของลูกปัดโรมันในยุคหลัง จะสังเกตเห็นเม็ดฟองอากาศกระจายอยู่ประปรายทั่วไปภายในลูกปัด เม็ดนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 mm X หนา 10 mm |
|
|
|
5.) เม็ดนี้เป็นลูกปัดแก้วอียิปต์โบราณสีน้ำเงินอมฟ้า ขนาด 6.5 mm X 7 mm เป็นแบบเดียวกันกับลูกปัดแก้วที่ขุดพบจากหลุมศพของสตรีฐานะร่ำรวยศพหนึ่งในประเทศเดนมาร์กเมื่อปี ค.ศ.1880 ซึ่งหลุมศพดังกล่าวอยู่ห่างจากเมืองโคเปนเฮเก้นไปทางทิศใต้ 40 กิโลเมตร ปัจจุบันลูกปัดทีขุดพบเหล่านี้ ถูกนำมาเก็บรักษาและจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ The National Museum ที่เมืองโคเปนเฮเก้น ประเทศเดนมาร์ก ผลการตรวจสอบจากทีมนักวิจัยของทางพิพิธภัณฑ์พบว่า ลูกปัดแก้วสีน้ำเงินอมฟ้าที่ขุดได้เหล่านี้ ถูกผลิตขึ้นในประเทศอียิปต์เมื่อราวๆ 600 - 1,400 ปีก่อนคริสตกาล อายุความเก่าของลูกปัดจะอยู่ที่ 2,600 - 3,400 ปีโดยประมาณ ( เก่ากว่าลูกปัดแก้วอินโด-แปซิฟิค ). |
|
|
|
6.) ลูกปัดแก้วโรมันโบราณชนิดหมุนเป็นเกลียวก้นหอย (Roman Spindle Whorls) แบบที่ 1 เม็ดนี้มีอายุประมาณ 2,500 - 3,000 ปี สีเขียวใบเตยหรือสีเขียวขนมเปียกปูน สีเขียวนั้นเกิดจากออกไซต์ของโครเมี่ยม เนื้อแก้วมีความแข็งปานกลาง จะสังเกตเห็นเม็ดฟองอากาศกระจายอยู่ประปรายทั่วไปภายในลูกปัด เม็ดนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 13 mm X หนา 6 mm |
|
|
|
7.) ลูกปัดแก้วโรมันโบราณชนิดหมุนเป็นเกลียวก้นหอย (Roman Spindle Whorls) แบบที่ 2 เม็ดนี้มีอายุประมาณ 2.500 - 3,000 ปี สีเขียวมรกตเข้มออกดำ สีเขียวนั้นเกิดจากออกไซต์ของโครเมี่ยม เนื้อแก้วมีความแข็งปานกลาง จะสังเกตเห็นเม็ดฟองอากาศกระจายอยู่ประปรายทั่วไปภายในลูกปัด เม็ดนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 mm X หนา 5 mm |
|
|
|
8.) ลูกปัดแก้วโรมันโบราณ เม็ดนี้มีอายุประมาณ 2,000 - 2,500 ปี สีเหลืองอ่อนจางๆ สีเหลืองนั้นเกิดจากออกไซต์ของเหล็ก เนื้อแก้วมีความแข็งมาก จะสังเกตเห็นเม็ดฟองอากาศกระจายอยู่ประปรายทั่วไปภายในลูกปัด เม็ดนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 mm X หนา 9 mm |
|
|
|
9.) ลูกปัดแก้วอินเดียโบราณ เม็ดนี้มีอายุประมาณ 2,000 - 2,300 ปี สีน้ำเงินเข้มเกือบดำ สีน้ำเงินนั้นเกิดจากออกไซต์ของโคลบอลต์ เนื้อแก้วมีความแข็งปานกลาง จะสังเกตเห็นเม็ดฟองอากาศกระจายอยู่ประปรายทั่วไปภายในลูกปัด เม็ดนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 mm X หนา 10 mm
หมายเหตุ : ลูกปัดแก้วอินเดียโบราณลักษณะนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากชาวโรมันในยุคสมัยนั้นโดยตรง อีกทั้งยังเคยมีการค้นพบลูกปัดแก้วลักษณะดังกล่าว ตามลุ่มแม่น้ำใหญ่ในภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศไทยอีกด้วย สัณนิษฐานว่าพ่อค้าชาวอินเดียน่าจะเป็นผู้นำเข้ามาในสมัยที่ดินแดนสุวรรณภูมิกำลังรุ่งโรจน์เมื่อประมาณ 2,300 กว่าปีที่แล้ว.
|
|
|
|
|
|
10.) ลูกปัดแก้วอำพันทองโรมันโบราณ (Sandwich gold-glass bead) เม็ดนี้มีอายุประมาณ 1,700 - 2,000 ปี ผลิตโดยใช้เทคนิคมัลติเลเยอร์ (Multilayer) ด้วยการสลับชั้นแก้วกับทองคำเปลวหลายๆชั้นเหมือนขนมปังแซนวิส (Sandwich Glass) เม็ดบนมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 mm X หนา 7 mm ส่วนเม็ดล่างมีขนาดใกล้เคียงกัน จะสังเกตเห็นเนื้อแก้วชั้นที่สองซึ่งอยู่ด้านในได้อย่างชัดเจน |
|
|
|
11.) เปรียบเทียบ : (เม็ดทางซ้ายจากรูป) ลูกปัดแก้วสีเดี่ยวโรมันโบราณ - ลูกปัดแก้วสีเดี่ยวเปอร์เซียโบราณ สีแดงอิฐครั่งยุคแรก (ลักษณะริ้วลายคล้ายดอกฝิ่น) ผลิตขึ้นในยุคเดียวกันกับลูกปัดแก้วอำพันทอง มีอายุประมาณ 1,700 - 2,000 ปี ผลิตโดยการใช้เทคนิคดึงยืดตัด (Drawn beads) / กับ (เม็ดทางขวาจากรูป) ลูกปัดแก้วสีเดี่ยวลมการค้า (Indo - Pacific Beads) สีแดงอิฐครั่งยุคหลัง ซึ่งมีอายุประมาณ 1,200 ปี |
|
|
|
12.) ลูกปัดแก้วทิเบตโบราณ เม็ดนี้มีอายุประมาณ 1,000 - 1,500 ปี เป็นงานศิลปะหัตถกรรมลูกปัดแก้ว ที่ผลิตจากแท่งแก้วปฐมภูมิ (Primery Glass) สำเร็จรูปซึ่งหลอมเตรียมไว้ (คนละชนิดกับลูกปัดควอตซ์ใสที่เป็นแก้วธรรมชาติ) จากนั้นจึงนำมาตกแต่งลวดลายภายนอก แล้วทำการเจาะรูด้วยมือทั้ง 2 ด้านเข้าหากันทีละเม็ด เช่นเดียวกับการทำลูกปัดหินซี (DZI Beads) ทั่วๆไปของทิเบต ลักษณะของเนื้อแก้วมีความหนาและแข็งมาก คล้ายกับเนื้อของลูกปัดแก้วซึ่งถูกขุดพบที่เมืองพยู (Pyu) ในประเทศพม่า เพียงแต่เม็ดนี้ถูกพบในรูปแบบของลูกประคำมือที่วัดแห่งหนึ่งในทิเบต เมื่อพิจารณาจากศิลปะลวดลายภายนอกที่คล้ายกันกับลวดลายบนลูกปัดหิน DZI บางชนิด ทำให้สัณนิษฐานได้ว่าพระลามะทิเบตน่าจะเป็นผู้แกะสลักลวดลายเองโดยตรงภายในวัด จะสังเกตเห็นเม็ดฟองอากาศจำนวนเล็กน้อยประปรายอยู่ภายในเม็ดลูกปัด (ซึ่งลูกปัดแก้วหลอมสำเร็จรูปของทิเบตโบราณส่วนใหญ่ จะมีเม็ดฟองอากาศจำนวนที่ไม่มากนัก และบางเม็ดอาจจะไม่มีเม็ดฟองอากาศอยู่ภายในเนื้อแก้วเลย) เม็ดนี้มีขนาดกว้าง 13 mm X ยาว 24 mm X สูง(หนา) 11 mm. |
|
|
|
13.) ลูกปัดแก้วจีนโบราณ เม็ดนี้มีอายุประมาณ 160 กว่าปี ผลิตที่เมืองปักกิ่งในสมัยจักรพรรดิเสียนเฟิง (อี้จู่) จักรพรรดิองค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์ชิง (พ.ศ.2393 - พ.ศ.2404) เรื่อยมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาภายหลังจากที่วัดโปรดเกษ ต.คลองพระอุดม อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ได้ทำการหล่อพระแก้วน้ำประสานเสร็จสิ้นลงเมื่อปี พ.ศ.2317 (ห่างกันประมาณ 76 ปี) ลูกปัดแก้วเม็ดนี้มีสีเหลืองฉูดฉาดสว่างสดใส จะสังเกตเห็นเม็ดฟองอากาศจำนวนมากกระจายอยู่ทั่วไปภายในลูกปัด เช่นเดียวกับเม็ดฟองอากาศที่กระจายอยู่ภายในเนื้อแก้วของพระแก้วน้ำประสาน เม็ดนี้มีขนาดกว้าง 18 mm X ยาว 28 mm X สูง(หนา) 18 mm
หมายเหตุ : ลูกปัดแก้วจีนโบราณในยุคนี้ โรงงานผลิตเครื่องประดับแก้วของจีน ได้เลิกทำการผลิตไปตั้งแต่ปี พ.ศ.2513 ทางรัฐบาลจีนจึงได้นำลูกปัดแก้วพร้อมทั้งเครื่องประดับแก้วที่ผลิตขึ้นในยุคดังกล่าว มาร่วมจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์พระราชวังต้องห้าม เมืองปักกิ่ง ประเทศจีนอีกด้วย แต่ในปัจจุบันผู้ประกอบการเอกชนด้านงานแก้วของจีน ได้ทำการผลิตลูกปัดแก้วและเครื่องประดับแก้วซึ่งเป็นของใหม่ แต่ทำลอกเลียนแบบให้เหมือนของเก่าป้อนเข้าสู่ท้องตลาดอยู่เรื่อยๆ ซึ่งมีทั้งที่เป็นลูกปัดแก้วสีเดี่ยวธรรมดา และลูกปัดแก้วสีเดี่ยวแต่มีลวดลายหลากสีอยู่บนเม็ดลูกปัด เพื่อจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวเป็นของที่ระลึกและเป็นสินค้าส่งออก นักสะสมลูกปัดแก้วโบราณมือใหม่ของไทยที่ยังขาดประการณ์หรือยังไม่ชำนาญ ควรมีความรอบคอบในการพิจารณาและระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากลูกปัดแก้ว Reproduct ซึ่งทำออกมาใหม่เหล่านี้ มีลักษณะโดยรวมที่ใกล้เคียงกันกับลูกปัดแก้วจีนโบราณในยุคราชวงศ์ชิงอย่างมาก. |
|
14.) กำไลแก้วจีนโบราณ ถูกผลิตขึ้นที่เมืองปักกิ่งในสมัยจักรพรรดิเสียนเฟิง (อี้จู่) จักรพรรดิองค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์ชิง (พ.ศ.2393 - พ.ศ.2404) เรื่อยมาเช่นเดียวกับลูกปัดแก้ว เพียงแต่ผลิตภัณฑ์กำไลแก้ว จะมีวิวัฒนาการที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละยุคสมัย ซึ่งพอจะสรุปลักษณะเด่นของกำไลแก้วจีนโบราณในแต่ละยุคสมัยแบบคร่าวๆได้ ดังนี้
- ยุคเริ่มแรกของการผลิตกำไลแก้วจีนโบราณ เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2393 - พ.ศ.2423 ซึ่งคาบเกี่ยวกันระหว่างยุคสมัยของพระจักรพรรดิเสียนเฟิง (อี้จู่) , พระจักรพรรดิถงจื้อ (ไจ่ฉุน) , และพระจักรพรรดิกวังซวี่ (ไจ่เถียน) กำไลแก้วจีนในยุคแรกนี้ ยังคงใช้เทคนิคการผลิตเป็นแบบดั้งเดิม จึงทำให้กำไลส่วนใหญ่มีสิ่งปนเปื้อนและเม็ดฟองอากาศจำนวนมากปะปนอยู่ภายในเนื้อแก้ว.
|
|
|
|
เม็ดฟองอากาศภายในเนื้อแก้วของกำไลยุคแรก (พ.ศ.2393 - พ.ศ 2423) |
|
|
|
สิ่งปนเปื้อนภายในเนื้อแก้วของกำไลยุคแรก ได้แก่ หลุมเศษหิน และ ผงเหล็กสีดำ |
|
- ยุคกลางของการผลิตกำไลแก้วจีนโบราณ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2423 - พ.ศ.2483 อยู่ในระหว่างยุคสมัยของพระจักรพรรดิกวังซวี่ (ไจ่เถียน) และ พระจักรพรรดิผู่อี๋ (เฮนรี่) ซึ่งเป็นจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายในราชวงศ์ชิง ยุคนี้เทคนิคการผลิตกำไลแก้วจีน ได้พัฒนายกระดับมาตรฐานการผลิตให้ดียิ่งกว่าการผลิตแบบดั้งเดิม จึงทำให้สิ่งปนเปื้อนและเม็ดฟองอากาศภายในเนื้อแก้ว มีปริมาณที่น้อยลงกว่ากำไลแก้วในยุคแรกจนเกือบจะไม่มีให้เห็นเลย.
|
|
|
|
(เปรียบเทียบ) รูปซ้าย: กำไลแก้วจีนโบราณยุคแรก (พ.ศ.2393 - พ.ศ 2423) / รูปขวา: กำไลแก้วจีนโบราณยุคกลาง (พ.ศ.2423 - พ.ศ.2483) |
|
- ยุคสุดท้ายของการผลิตกำไลแก้วจีนโบราณ เกิดขึ้นภายหลังปี พ.ศ.2483 เป็นต้นมา จนถึงปี พ.ศ.2513 โรงงานผลิตกำไลแก้วและเครื่องประดับแก้วในประเทศจีนจึงได้ยุติการผลิตลง ซึ่งกำไลแก้วจีนในยุคสุดท้ายนี้ ได้มีการใช้แผ่นโลหะขนาดบางแต่มีลวดลาย มาหุ้มติดกำไลไว้เพื่อเสริมความสวยงามดึงดูดใจผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ส่วนทางด้านเนื้อหาของแก้วและรูปทรง ได้มีการตกแต่งเพิ่มความละเอียดเรียบร้อยมากกว่ากำไลแก้วในสองยุคแรก ซึ่งกำไลบางวงยังถูกปรับรูปแบบความหนาให้บางลง กลายเป็นลักษณะรูปทรงครึ่งวงกลมไปเลยก็มี อีกทั้งภายในเนื้อแก้วก็ไร้สิ่งปนเปื้อน และสามารถขจัดเม็ดฟองอากาศออกไปจากเนื้อแก้วได้อีกด้วย.
ข้อมูลการศึกษาเพิ่มเติม :
- ตัวอย่างงานวิจัยลูกปัดแก้วสีแดง อายุ 1300-2000 ปี โดยใช้แสงซินโครตรอน จากสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน องค์การมหาชน
http://www.slri.or.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=71:if-youre-going-to-be-thinking-you-may-as-well-think-big&catid=44:2010-11-01-18-55-24
- งานสัมมนาหัวข้อ Behide the Glass: New Discoveries in Early Nigerian Glassmaking เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2561 จัดโดย The Corning Museum of Glass
https://www.youtube.com/watch?v=SATzs_5rdEk
- บทสรุปการค้นพบใหม่ เกี่ยวกับการผลิตลูกปัดแก้วโบราณยุคแรก ของประเทศไนจีเรียเมื่อพันกว่าปีที่แล้ว (Lectures & Seminars)
https://www.cmog.org/event/behind-glass-early-nigerian-glassmaking
|
|
|
|
|