Prakard2

 

Head-3

 

1.)  โป่งข่ามคืออะไร?

ตอบ  :  

QuartzMean2

 

 

ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หน้า 720 ได้ให้คำจำกัดความ คำว่า "โป่งข่าม" หมายถึง ชื่อเรียกแร่เขี้ยวหนุมาน  ใช้ทำเครื่องประดับ.

 

*** สรุป ***

 

- ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานปัจจุบัน ระบุเจาะจงแค่เพียงชนิดของแร่ แต่ไม่ได้ระบุเจาะจง / ไม่ได้กำหนดสถานที่ที่ค้นพบแร่เขี้ยวหนุมานแต่ประการใด ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า แร่เขี้ยวหนุมานที่ถูกขุดพบไม่ว่าจะเป็นสถานที่ใดๆก็ตาม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ คนไทยจะเรียกแร่เขี้ยวหนุมานนั้นว่า "โป่งข่าม"

 

- โป่งข่าม คือ แร่เขี้ยวหนุมาน  /  แร่เขี้ยวหนุมาน คือ ควอตซ์ ( Quartz )  /  ควอตซ์ ( Quartz ) คือ แร่หรือหินใสทั้งที่ไม่มีตะกอน และ ที่มีตะกอนแร่ชนิดอื่น (มลทิน) ปนอยู่ภายใน  /  นอกจากนี้ยังมีควอตซ์บางประเภท เช่น แอเมทิสต์ (Amethyst Quartz) , ซิทรีน (Citrine Quartz) ฯลฯ  เป็นหินสีเหมือนกันกับ ทับทิม ไพลิน บุษราคัม และพลอยชนิดอื่นๆ.


- จุยเจีย ตามความเชื่อของคนจีน ก็คือผลึกหินใส (Rock Crystal ) หรือ ที่คนไทยเรียกกันว่า "แก้วโป่งข่ามน้ำหาย (แก้วน้ำค้าง)"


- ชุดเครื่องทรงของเจ้าหญิง Grand Duchess Anatasia Nikolaevna แห่งรัสเซีย ทำจาก Rose Quartz หรือแก้วโป่งข่ามสีชมพู


- กะโหลกแก้วปริศนา (Crystal skull) อารยธรรมอินเดียนแดงโบราณเผ่ามายาในอเมริกาใต้ (อ้างแบบนั้น) ซึ่งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติประเทศอังกฤษ  ทำจากผลึกแก้วโป่งข่าม


- ลูกแก้ววิเศษของหลวงปู่ทวด (เหยียบน้ำทะเลจืด) ซึ่งปัจจุบันถูกเก็บรักษาอยู่ที่วัดพะโคะ (วัดราชประดิษฐาน) เขาพัทธสิงค์ หมู่ที่ 6 ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา  ก็อาจจะเป็นแก้วโป่งข่ามหรือแก้วบริสุทธิ์หรืออัญมณีใสบางชนิด.

 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :  http://www.boran5.com/index.php/พลอยตระกูลควอตซ์/วิชาการพลอยตระกูลควอตซ์.html

 

หมายเหตุ : ในแวดวงการค้าพลอยระดับโลก (โดยเฉพาะพลอยเนื้ออ่อนประเภทโป่งข่าม) สถานที่ที่ค้นพบพลอยไม่มีความสำคัญแต่อย่างใด นักสะสมอัญมณีนานาชาติ จะมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับลักษณะทางกายภาพของโป่งข่ามเม็ดนั้นๆ - ก้อนนั้นๆเป็นหลักสำคัญ ส่วนปัจจัยหลักซึ่งเป็นตัวกำหนดกลไกทางด้านราคา จะขึ้นอยู่กับตัวแปรสำคัญดังต่อไปนี้

 

- ความหายากของตะกอนแร่ ซึ่งอยู่ภายในโป่งข่าม (ชนิด - ประเภท / ความสวยงาม - ความเป็นระเบียบเรียบร้อย - ตะกอนแร่ไม่สะเปะสะปะ)

 

- ความสะอาดของโป่งข่าม (ใส - ไม่ใสปนขุ่น ไม่ขุ่น ไม่มีฝ้าน้ำแข็งเจือปน - ไม่มีสิ่งสกปรกเจือปน)

 

ฯลฯ

 

ส่วนความเชื่อเรื่องแก้วโป่งข่ามมีคุณศักดิ์สิทธิ์หรือมีพลัง  ไม่เพียงแค่คนไทยเท่านั้นที่มีความเชื่อ  คนโบราณในหลายๆประเทศทั่วโลก ต่างก็มีความเชื่อที่คล้ายๆกัน  และประสบพบเจอเรื่องราวปาฏิหารย์ของโป่งข่ามที่ตรงกันอย่างน่าอัศจรรย์  จนกลายมาเป็นความเชื่อสากลของกลุ่มชนในโลกนี้มานานนับพันปีมาแล้ว.

 

 
Quartz-ANS1
โกเมนหรือแก้วมหานิลปทัมราค

2.)  แก้วอัญมณีมงคล 24 ชนิด  เป็นแก้วโป่งข่าม (Quartz) ทั้งหมดหรือไม่?


ตอบ    : ในบรรดาแก้วมงคล 24 ชนิด "ไม่ใช่" แก้วโป่งข่ามทั้งหมด  จะมีเพียงแก้วบางชนิดเท่านั้นที่เป็นโป่งข่าม  ส่วนแก้วที่เหลือจะเป็นแก้วซึ่งอยู่ในกลุ่มของแก้วนพเก้า  ที่คนโบราณในยุคแรกสมัยที่กรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานีได้จัดเอาไว้   (ส่วนแก้วนพเก้า  ซึ่งได้แก่  เพชร , ทับทิม , มรกต , บุษราคัม , โกเมน , ไพลิน , มุกดาหาร , เพทาย , ไพฑูรย์   ทั้ง 9 ชนิดนี้เป็นสิ่งที่ถูกจัดแบ่งกลุ่มขึ้นมาใหม่ในภายหลัง หรือ ในช่วงยุคต้นของกรุงรัตนโกสินทร์  สาเหตุที่มีการปรับเปลี่ยนจัดกลุ่มใหม่ให้เหลือ 9 ชนิด  ก็เพื่อปรับให้เป็นไปตามกระแสค่านิยมในระดับสากลโลก) 

 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม :  http://www.boran5.com/index.php/แก้วนพรัตน์/นพรัตน์-นวกาทีนิ-แก้วเก้าประการ.html



สำหรับ  แก้วอัญมณีมงคล 24 ชนิด  เฉพาะแก้วชนิดที่ไม่ใช่โป่งข่าม  มีดังต่อไปนี้  


2.1  แก้ววิฑูรย์ คือ  ไพฑูรย์ ( Chrysoberyl ) เป็นอัญมณีหนึ่งในแก้วนพเก้าหรือพลอยสีน้ำผึ้ง  สามารถคลิ๊กอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 1

2.2  แก้วมรกต หรือ มรกตใสยอดเต้า คือ  มรกต ( Emerald ) เป็นอัญมณีหนึ่งในแก้วนพเก้าหรือพลอยสีเขียว  สามารถคลิ๊กอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 2

2.3  แก้วสุริยประภา คือ  มุกดาหารชนิดสีส้มอมแดง ( Red-Orange  Moonstone )  เป็นอัญมณีหนึ่งในแก้วนพเก้าที่มีระดับความแข็งน้อยที่สุด  และมีระดับความแข็งที่ต่ำกว่าโป่งข่าม  สามารถคลิ๊กอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 2

2.4  แก้ววชิระเป๊กพรหมสามหน้า คือ พลอยตลก (Bi-Color) ซึ่งมีสี 3 สี (น้ำสี) อยู่ภายในแก้วเม็ดเดียวกัน  สามารถคลิ๊กอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 3
 

Quartz-ANS2
โกเมนหรือแก้วมหานิลปทัมราค

 


2.5  แก้วปทัมราค คือ  ทับทิมแดง (Ruby) ตามความหมายในพจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.2542 หน้า 661  / แต่ในความหมายโบราณของอัญมณีมงคล 24 ชนิด  หมายถึง  โกเมน (Garnet) หรือ  เพทาย (Red  Zircon) สีแดงเข้มออกดำ  ซึ่งเป็นอัญมณีชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มของแก้วนพเก้า  สามารถคลิ๊กอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 3

2.6  แก้วจันทะแพง คือ  มุกดาหาร (Moonstone)  เป็นอัญมณีหนึ่งในแก้วนพเก้าที่มีระดับความแข็งน้อยที่สุด  และมีระดับความแข็งที่ต่ำกว่าโป่งข่าม  จึงอนุโลมให้ใช้โป่งข่ามที่มีลักษณะคล้ายกันทดแทนได้  สามารถคลิ๊กอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 4

2.7  แก้วมหานิลทรายคำ คือ  Obsidian ซึ่งมีระดับความแข็งที่ต่ำกว่ามุกดาหาร (Moonstone)  สามารถคลิ๊กอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 4

2.8  แก้วพระญาอินสวร (แก้วปรไมไอสาร) คือ  มรกต ( Emerald ) เป็นอัญมณีหนึ่งในแก้วนพเก้า  สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง  "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 4

2.9  แก้ววิฑูรย์ขนบุ้งเทศ คือ  ไพฑูรย์ ( Chrysoberyl )  เป็นอัญมณีหนึ่งในแก้วนพเก้า  สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง  "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 5

2.10  แก้วก๊อแดง คือ  ทับทิม ( Ruby )  เป็นอัญมณีหนึ่งในแก้วนพเก้า  สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง  "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 5

2.11  แก้วสีพลีใส คือ  เพชร ( Diamond ) เป็นอัญมณีหนึ่งในแก้วนพเก้าที่มีระดับความแข็งสูงที่สุดคือระดับ 10  สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง  "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 5

 

Quartz-ANS1
โกเมนหรือแก้วมหานิลปทัมราค

2.12  แก้ววิฑูรย์เทศ  ชนิดวิฑูรย์เทศไข่ฟ้า คือ  ไพฑูรย์ชนิดตาแมว (Chrysobery  Cat's Eye)  เป็นอัญมณีหนึ่งในแก้วนพเก้า  ที่มีลำแสงยาวคล้ายสร้อยสังวาลพาดอยู่ตรงกลางแก้ว  สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง  "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 6

2.13  แก้วเนระกันตี คือ  พลอยเนื้อแข็งสีดำที่มีสาแหรกรูปเครื่องหมายดอกจันอยู่ตรงกลาง ( Black  Star  Sapphire )  สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง  "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 6

2.14  แก้วมหามธุกันตี คือ  บุษราคัม ( Yellow  Sapphire ) เป็นอัญมณีหนึ่งในแก้วนพเก้า  ที่มีสาแหรกรูปเครื่องหมายดอกจันอยู่ตรงกลาง  สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในห้อง  "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 7

2.15  แก้วอินทนิลแก้วเผือก คือ  Obsidian  ซึ่งมีระดับความแข็งที่ต่ำกว่ามุกดาหาร (Moonstone)  สามารถคลิ๊กอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ห้อง "แก้ววิเศษหรืออัญมณีมงคล 24 ชนิด"  หน้า 7



3.)  แก้วมหานิลมีกี่ชนิด  อะไรบ้าง  และเป็นแก้วโป่งข่ามทั้งหมดหรือไม่?
 

Quartz-ANS2
แก้วมหานิลอินทนิลหรืออินทนิลแก้วเผือก


ตอบ   : แก้วมหานิลมีด้วยกันทั้งหมด 12 ชนิด  แต่ "ไม่ใช่" โป่งข่ามทั้งหมด  จะมีเพียงแค่บางชนิดเท่านั้นที่เป็นโป่งข่าม (ควอตซ์)  และบางชนิดก็ไม่ใช่โป่งข่าม  แต่เป็นอัญมณีประเภทพลอยที่อยู่ในกลุ่มของแก้วนพเก้าจำนวนหนึ่ง , เป็นหินหรือแร่บางชนิดอีกจำนวนหนึ่ง  ปะปนรวมกันอยู่ในแก้วมหานิลทั้ง 12 ชนิดนั้น  ดังนี้

3.1  แก้วมหานิลน้ำตั๊บ  : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า "แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะคล้ายลูกหมากซัก คือลูกประคำดีควาย ชื่อมหานิลน้ำตั๊บ มีค่าได้หนึ่งพันทองคำ"   ซึ่งแก้วมหานิลชนิดนี้ จัดอยู่ในกลุ่มของ "นิลตะโก" (Black Spinel)  ซึ่งมีสูตรทางเคมีคือ  MgAl2O4 มีระดับความแข็งอยู่ที่ 7.5 - 8 ในระบบของโมส์.

3.2  แก้วมหานิลทรายคำ  : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า  "แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะคล้ายประกายทรายอยู่ในแก้วชื่อมหานิลทรายคำ"   ซึ่งแก้วมหานิลชนิดนี้  จัดอยู่ในกลุ่มของ "Obsidian"  ซึ่งมีสูตรทางเคมีคือ SiO2,plus MgO,Fe3O4 มีระดับความแข็งอยู่ที่ 5 - 5.5 ในระบบของโมส์.

3.3  แก้วมหานิลโปก๋า   : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า  "แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะแดงพันเกี่ยวเกี้ยวขึ้นชื่อโปก๋า"  แก้วมหานิลชนิดนี้  ในความหมายของคนโบราณ  หมายถึง "เพทายชนิดสีแดงสลัวออกดำ" (Zircon)  ซึ่งมีสูตรทางเคมีคือ  ZrSiO4 มีระดับความแข็งอยู่ที่ 7.5 ในระบบของโมส์.
 

3.4  แก้วมหานิลไข่กา  : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า  "แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะคล้ายกับกากงา และเหมือนไข่กา ชื่อมหานิลไข่กา ควรค่าได้แสนทองคำ"   แก้วมหานิลชนิดนี้  จัดอยู่ในกลุ่มของ  "Jasper"  ซึ่งมีสูตรทางเคมีคือ SiO2 มีระดับความแข็งอยู่ที่  6.5 - 7 ในระบบของโมส์.
 


3.5  แก้วมหานิลเผือก  : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า  "แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะคล้ายไข่ด้าน มีรัศมีเหลืองส่องเข้าไปในแก้วนั้น ชื่อมหานิลเผือก ควรค่าได้หนึ่งพันเงิน"   แก้วมหานิลชนิดนี้  ในความหมายของคนโบราณ  หมายถึง  "อุลกะมณี" (Tektite)  ซึ่งเกิดจากดินทรายบนพื้นผิวโลกที่หลอมละลาย  อันเนื่องมาจากความร้อนสูงของอุกกาบาต(จากอวกาศ)ที่พุ่งเข้าชน  แล้วเย็นตัวหรือแข็งตัวทันทีในระหว่างที่กระเด็นอยู่กลางอากาศ  ไม่ใช่สะเก็ตดาวตกจากอวกาศจริงๆตามที่หลายท่านเข้าใจกัน  มีระดับความแข็งอยู่ที่ 5.5 - 6 ในระบบของโมส์.

 

Quartz-ANS1
โป่งข่ามแก้วฟ้าแรพิรุณแสนห่า

3.6  แก้วมหานิลนกกาลาบ  : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า  "แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะอย่างปีกนกกาลาบ มีรัศมีส่องเข้าไปในแก้ว ชื่อมหานิลนกกาลาบ (คือนกพิราบที่มีลำตัวสีเทาปนฟ้า)  ควรค่าได้หนึ่งพันเงิน"   แก้วมหานิลชนิดนี้  ในความหมายของคนโบราณ  หมายถึง  "โป่งข่าม  ชนิดแก้วแร" (Quartz)  ซึ่งมีสูตรทางเคมีคือ SiO2 มีระดับความแข็งอยู่ที่  7  ในระบบของโมส์.

3.7  แก้วมหานิลเลือดไก่  : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า  "แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะดั่งแก่นพริกสุกและเลือดไก่ ชื่อมหานิลเลือดไก่ ควรค่าได้สี่พันเงิน"  แก้วมหานิลชนิดนี้  ในความหมายของคนโบราณ  หมายถึง  "โกเมน" (Garnet)  ซึ่งมีสูตรทางเคมีคือ  X3Y(SiO4)3 มีระดับความแข็งอยู่ที่  6 - 6.5  ในระบบของโมส์.

3.8  แก้วมหานิลนาควิฑูรย์  : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า  "แก้วมหานิลลูกใดมีสีดำคล้ายน้ำรัก  มีทรายทองพุ่งออกมาจากกลางดวงแก้ว  ลักษณะคล้ายน้ำหมากเหลืองกลางแก้ว ชื่อแก้วนาควิฑูรย์ ควรค่าได้หนึ่งพันทองคำ"  แก้วมหานิลชนิดนี้  จัดอยู่ในกลุ่มของ "Obsidian" ซึ่งมีสูตรทางเคมีคือ SiO2,plus MgO,Fe3O4 มีระดับความแข็งอยู่ที่ 5 - 5.5 ในระบบของโมส์.

 3.9  แก้วมหานิลดอกอัญชัน  : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า  "แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะเขียวดั่งดอกอัญชัน ควรค่าหนึ่งพันทองคำ"  แก้วมหานิลชนิดนี้  ในความหมายของคนโบราณ  หมายถึง  "โป่งข่าม ชนิดแก้วจอมขวัญ" (Amethyst  Quartz)  (*** คำว่า "เขียว" ในความหมายของคนโบราณ  ไม่ได้แปลว่าจะต้องเป็นสีเขียวจริงๆเสมอไป  สีอะไรก็ตามที่มีลักษณะทึมๆมอๆ เช่นสีม่วงคล้ำ หรือ สีน้ำเงินเข้ม  คนโบราณจะเรียกว่า"เขียว"ทั้งหมด ***)  ซึ่งมีสูตรทางเคมีคือ SiO2 มีระดับความแข็งอยู่ที่  7  ในระบบของโมส์.

3.10 แก้วมหานิลผักตบ  : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า  "แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะคล้ายดอกผักตบ ควรค่าหนึ่งพันเงิน"   แก้วมหานิลชนิดนี้  ในความหมายของคนโบราณ  หมายถึง  "โป่งข่าม ชนิดแก้วผักตบเทศ"  ซึ่งเป็นควอตซ์ที่มีสีก้ำกึ่งกันระหว่าง Amethyst Quartz  กับ Smoky Quartz ซึ่งมีสูตรทางเคมีคือ SiO2 มีระดับความแข็งอยู่ที่  7  ในระบบของโมส์.

3.11  แก้วมหานิลอินทนิล  : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า  "แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะดั่งแววคอนกยูง ชื่ออินทนิล ควรค่าหนึ่งแสนทองคำ"   แก้วมหานิลชนิดนี้  จัดอยู่ในกลุ่มของ  "Obsidian" ซึ่งมีสูตรทางเคมีคือ SiO2,plus MgO,Fe3O4 มีระดับความแข็งอยู่ที่ 5 - 5.5 ในระบบของโมส์.

3.12  แก้วมหานิลปทัมราค  : ในตำราโบราณกล่าวไว้ว่า  "แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะดำภายใน คล้ายปทัมราค  คือมีปัทมราคเข้าผสมเหมือนดอกไม้เพลิงและผางประทีป ชื่อมหานิลปทัมราคหาค่ามิได้  ถ้ามีไว้ยังบ้านเรือนของผู้ใด หรือทำเป็นแหวนจะเป็นเศรษฐีมั่งมีทรัพย์สินเงินทอง ช้าง ม้า วัว ควายข้าคนมากนักแล"   แก้วมหานิลชนิดนี้  เป็นได้ทั้ง "โกเมน" (Garnet) หรือ "เพทาย"(Zircon) ก็ได้  แต่จะต้องมีทั้งสีดำและสีแดงผสมปนกันอยู่ภายในเม็ดเดียวกัน.
 

Quartz-ANS2
โป่งข่ามแก้วฟ้าแรพิรุณแสนห่า



 4.)  แก้วโป่งข่ามภายในเว๊ปไซต์โบราณ5  มาจากที่ไหน?

ตอบ  : มาจากทั่วโลกหลายประเทศ  มีทั้งประเทศโปแลนด์  โรมาเนีย  แอฟริกา  บราซิล  มาดากัสการ์  เทือกเขาหิมาลัยฝั่งประเทศทิเบต  และในประเทศไทย (โดยเฉพาะแก้วประเภทฝนแสนห่าและแก้ววิฑูรย์ขนทราย  มาจากดอยโป่งหลวงเมื่อ 30 ปีที่แล้ว(ของเก่าเก็บ)  จ.ลำปาง)
  

 

 


 

 

 

 

 
BetFair F.BetRoll UK Bookies
Ladbrokes Review L.BetRoll

เมนูหลัก

WIll Hill BookiesW.BetRoll here...
United Kingdom BetRoll Bookmakers