|
|
|
พระเครื่องวัดสะตือ ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา | |
(รูปซ้ายแถวที่ 1) พระสมเด็จกรุเก่าวัดสะตือ พิมพ์ปางลีลา (กรุเจดีย์เก่าริมแม่น้ำป่าสัก) จัดเป็นพระกรุเก่ากรุแรกที่ทางวัดสะตือได้ทำการเปิดกรุอย่างเป็นทางการ ในช่วงเวลาก่อนทำการบูรณะซ่อมแซมพระนอนใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.2499 พระสมเด็จองค์ตามรูป ผู้เขียนได้รับตกทอดต่อมาจากบิดา ซึ่งเป็นคนเก่าแก่ในพื้นที่ และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการเปิดกรุในช่วงเวลาขณะนั้น เพื่อเคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนตำแหน่งของพระเจดีย์ มาไว้ตรงบริเวณใกล้ๆพระนอน โดยพระสมเด็จที่พบอยู่ในพระเจดีย์เก่าทุกองค์ เนื้อพระจะเหมือนกันกับพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเจดีย์ใหญ่ กทม. จะแตกต่างกันก็เพียงแบบพิมพ์ของพระที่ไม่ใช่รูปทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ส่วนจำนวนของพระเครื่องที่พบทั้งหมด (เฉพาะพระที่มีสภาพสมบูรณ์) จะมีจำนวนเพียงเล็กน้อยไม่ถึงร้อยองค์ (วิธีการพิจารณาพระสมเด็จกรุเจดีย์เก่าริมแม่น้ำป่าสัก ผู้เขียนไม่ขอลงลึกในรายละเอียด...แต่โปรดระวังพระสมเด็จกรุวัดสะตือของปลอมไว้ด้วย เนื่องจากปัจจุบัน ได้มีการนำพระเครื่องสมเด็จปลอมจากที่อื่น มาหลอกลวงว่าเป็นพระสมเด็จกรุวัดสะตือ ทั้งๆที่เนื้อหาของพระสมเด็จปลอมเหล่านั้น เป็นคนละเรื่องแตกต่างจากพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเจดีย์ใหญ่ที่เป็นพระแท้โดยสิ้นเชิง) นับเป็นพระสมเด็จเพียงกรุเดียวของวัดสะตือ ที่นักสะสมพระเครื่องรุ่นเก่าในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาต่างแสวงหาและให้การยอมรับว่า เป็นพระเครื่องที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตารามมหาวิหาร กทม. ได้เป็นผู้สร้างและบรรจุลงกรุไว้จริง ในคราวเดียวกันกับที่สร้างพระนอนใหญ่.
(รูปขวาแถวที่ 1) รูปหล่อรุ่นแรก สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี จัดสร้างโดยพระครูพุทธไสยาภิบาล (หมึก) อินฺทสโร ตำแหน่งเจ้าอาวาสในขณะนั้นเป็นแม่งาน และทำพิธีพุทธาภิเษกที่วัดสะตือ ในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2510 เนื่องจากพระรูปหล่อรุ่นแรกนี้มีประสบการณ์มากมาย จึงได้รับความนิยมและมีราคาเช่าหาที่ค่อนข้างสูง ทำให้มีพระปลอมระบาดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน หากนักสะสมท่านใดขาดความชำนาญหรือไม่เคยพบเห็นพระแท้ของจริงมาก่อน จะมีโอกาสถูกหลอกเช่าพระปลอมในราคาพระแท้ได้สูงถึง 80% จึงควรระมัดระวังให้มาก.
(รูปซ้ายแถวที่ 2) พระพิมพ์ปางพุทธไสยาสน์ เนื้อดินเผา ทางวัดสะตือได้ทำการจัดสร้างขึ้นในคราวที่มีงานเฉลิมฉลองพระพุทธไสยาสน์มีอายุครบรอบ 100 ปี พ.ศ.2513 ซึ่งพระพิมพ์ปางไสยาสน์ เนื้อดินเผารุ่นนี้ ถึงแม้จะมีราคาค่านิยมที่ไม่แพง แต่ก็มีพระปลอมระบาดมานานตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 แล้ว (ทำปลอมออกมาพร้อมกันกับรูปหล่อรุ่นแรก + รุ่น 2 ปลอม และเหรียญกลมหลวงพ่อโตปลอม) สำหรับท่านที่เป็นนักสะสมและต้องการหาเช่าพระแท้เก็บไว้บูชา ควรศึกษาอย่างละเอียดในเรื่องของตำหนิจุดตายที่ซ่อนอยู่ในพิมพ์พระ + ลักษณะเนื้อดินของพระแท้ + ขอบพิมพ์ของพระแท้ ให้ชัดเจนก่อนทำการเช่าบูชา.
(รูปขวาแถวที่ 2) รูปหล่อรุ่น 2 (บรรจุกริ่ง) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ทางวัดสะตือได้ทำการจัดสร้างขึ้นพร้อมกันกับพระพิมพ์ปางพุทธไสยาสน์ เนื้อดินเผา เมื่อครั้งที่มีงานเฉลิมฉลองพระพุทธไสยาสน์มีอายุครบรอบ 100 ปี พ.ศ.2513 แต่ควรระวังพระปลอมไว้ด้วย เนื่องจากมีการทำปลอมออกมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2542 พร้อมกันกับรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี รุ่น 1 (ดูรูปเปรียบเทียบ แท้ / ปลอม).
(รูปซ้ายแถวที่ 3) เปรียบเทียบรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี รุ่น 2 พ.ศ.2513 พระแท้ & พระปลอม.
(รูปขวาแถวที่ 3) รูปหล่อรุ่น 3 (บรรจุกริ่ง) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ทางวัดสะตือได้ทำการจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2516 พร้อมเหรียญพระคู่ (หลวงพ่อโตสร้าง หลวงพ่อบัตบูรณะ).
(รูปขวาแถวที่ 4) รวมรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดสะตือ รุ่น 1 , รุ่น 2 , และรุ่น 3 พร้อมกล่อง.
|
พระเครื่องยุคแรก หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน จ.สุพรรณบุรี | ||
หลวงพ่อโหน่ง อินทสุวัณโณ วัดคลองมะดัน (วัดอัมพวัน) ต.สองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ท่านได้เริ่มสร้างพระเครื่องเนื้อดินเผาขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2461 เรื่อยมาจนถึงประมาณปี พ.ศ.2473 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแจกญาติโยมในงานบุญต่างๆ ซึ่งพระเครื่องในยุคแรกๆของหลวงพ่อโหน่ง จะเป็นพระเนื้อดินละเอียดแต่แกร่ง บางองค์ก็มีแร่ดอกมะขามขึ้นกระจายประปราย คล้ายกับพระเครื่องเนื้อดินเผาเมืองกำแพงเพชร และมักจะมีการจารเปียกที่ด้านหลังของพระ (ทั้งพระเครื่องและพระบูชา) เกือบทุกองค์ ส่วนพระเครื่องในยุคหลัง มักไม่ค่อยปรากฏรอยจารที่ด้านหลังพระ เนื่องจากหลวงพ่อโหน่งท่านต้องสร้างพระในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของชาวบ้านและผู้ที่เคารพศรัทธาในตัวของท่าน แต่ก็ยังคงใช้บล๊อกเดิมของพระยุคแรก นำมากดพิมพ์พระเครื่องของท่านต่อมาเรื่อยๆ สำหรับพระเครื่องของหลวงพ่อโหน่ง (ตามรูป) ได้ผ่านการรับรองความแท้โดยสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ใบรับรองความแท้พระเครื่องพิมพ์สมเด็จอกครุฑปรกโพธิ์ ออกให้เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2555 ส่วนใบรับรองความแท้พระเครื่องพิมพ์กลีบบัวสมาธิหลังจารอุ ออกให้เมื่อวันที่ 15 พฤษจิกายน พ.ศ.2558. |
||
![]() |
||
|
|
พระเครื่องหลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว จ.สุพรรณบุรี | ||
|
||
|
|
พระเครื่องและเครื่องราง หลวงปู่เหรียญ วัดบางระโหง จ.นนทบุรี | |
( รูปซ้ายบน ) เป็นเหรียญรุ่นแรก (อย่างเป็นทางการ) ที่หลวงปู่เหรียญท่านได้สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ.2516 จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,000 เหรียญ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแจกให้กับศิษยานุศิษย์และชาวบ้านในละแวกวัด สำหรับเหรียญในรูป ได้ผ่านการรับรองความแท้จากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ใบรับรองออกให้เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554.
( รูปขวาบน ) เป็นเครื่องรางพิสมรใบลานยุดแรก ที่หลวงปู่เหรียญได้สร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ.2516 (พี่ชายของผู้เขียนได้รับพิสมรใบลานนี้จากหลวงปู่เหรียญ ในช่วงเวลาก่อนที่ท่านจะสร้างเหรียญรุ่นแรก) โดยหลวงปู่ท่านได้สั่งให้เด็กวัดไปตัดใบลานมาจากในสวน จากนั้นท่านได้นำใบลานมาลงอักขระยันต์ แล้วม้วนถักเชือกด้วยลายซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของวัดบางระโหง วัตถุประสงค์เพื่อแจกให้กับลูกศิษย์ใกล้ชิดและผู้ที่มาช่วยงานในวัด
( รูปซ้ายกลาง ) ใบรับรองความแท้จากสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ออกให้เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554.
( รูปขวากลาง ) ตะกรุดโทน (ขนาด 4 นิ้ว) สร้างในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันกับเหรียญ รุ่น 2 คือประมาณปี พ.ศ.2521.
( รูปซ้ายล่าง ) รูปถ่ายสีหลวงปู่เหรียญ หลังลงอักขระยันต์ (ลายมือหลวงปู่เหรียญ) สร้างประมาณปี พ.ศ.2529.
( รูปขวาล่าง ) พิสมรเล็ก (ผ่านการใช้มาอย่างโชกโชน) สร้างในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันกับเหรียญ รุ่น 4 คือประมาณปี พ.ศ.2528.
|
|
|
พระผงวัดประสาทบุญญาวาส พ.ศ.2506 สามเสน กรุงเทพฯ | ||||||
สืบเนื่องจากในปี พ.ศ.2498 วัดประสาทบุญญาวาสได้ถูกไฟไหม้เสียหายไปส่วนหนึ่ง ซึ่งเจ้าอาวาสในขณะนั้นคือ พระครูสมุห์อำพล พลวฑฺฒโน ได้เกิดความคิดที่จะสร้างพระเครื่องขึ้นมาหนึ่งชุด เพื่อหารายได้บูรณะซ่อมแซมวัดในส่วนที่ถูกไฟไหม้ โดยท่านได้พยายามเสาะหาผงวิเศษจากหลายพระเกจิอาจารย์เลื่องชื่อในยุคนั้น รวมทั้งชิ้นส่วนของพระเครื่องแตกหักจากพระกรุต่างๆ เช่น ชิ้นพระหักสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี , ชิ้นส่วนแตกหักของ "สมเด็จบางขุนพรหมกรุใหม่" ที่ทางวัดเปิดกรุ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ (พระครูบริหารคณาวัตร รองเจ้าอาวาสมอบให้) , ชิ้นพระหักสมเด็จปิลันท์ ซึ่งพบจากในเจดีย์วัดเทพากร , ผงพระเครื่องของขวัญวัดปากน้ำ ที่หลวงพ่อสดมอบให้ , ผงวิเศษจากหลวงพ่อโอภาสี , ผงพระจากกรุวัดพลับ , พระเครื่องหักจากกรุจังหวัดลำพูน , รวมทั้งว่านกากยายักษ์จากพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ เป็นต้น มาเป็นมวลสารผสมรวมกันเพื่อสร้างพระเครื่อง โดยได้ทำพิธีพุทธาภิเษกเมื่อวันที่ 6-7-8-9 มีนาคม พ.ศ.2506 มีพระคณาจารย์เข้าร่วมปลุกเสกถึง 234 รูป แต่ที่นั่งภายในพระอุโบสถไม่เพียงพอ จึงต้องนิมนต์ให้พระคณาจารย์บางรูป ออกมานั่งปลุกเสกที่ข้างนอกพระอุโบสถ แล้วโยงสายสิญจน์ออกมา ซึ่งพิธีในครั้งนั้น นับว่าเป็นพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลครั้งยิ่งใหญ่ เทียบเท่าพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องฉลอง 25 พุทธศตวรรษเลยทีเดียว. |
||||||
|
|
พระเครื่องหลวงพ่อผาด กรุวัดดงตาล จ.ลพบุรี | ||||||
เป็นพระที่หลวงพ่อผาด (วีรุตตโม) วัดดงตาล (วัดสามัคคีธรรม) หมู่ 6 ต.หัวสำโรง อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ได้สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ.2470 เป็นพระเนื้อดินเผาอุดผงพุทธคุณไว้ที่ข้างในองค์พระทุกองค์ พิมพ์พระเครื่องที่ท่านได้สร้างมีอยู่ประมาณ 4 - 5 พิมพ์ จำนวนการสร้างพระเครื่องทั้งหมด มีมากกว่า 84,000 องค์ โดยหลวงพ่อผาดท่านได้จัดแบ่งพระเครื่องที่สร้าง ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกนำไปบรรจุไว้ในองค์พระประธานในพระอุโบสถ (จำนวน 84,000 องค์) |
||||||
|
|
|
พระเนื้อชินเงินผิวปรอท กรุวัดเพชร จ.สระบุรี | ||||||
วัดเพชร ตั้งอยู่ ต.บ้านยาง อ.เสาไห้ จ.สระบุรี สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.2315 (ภายหลังจากที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งสุดท้าย) ต่อมาในปี พ.ศ.2491 ทางคณะกรรมการวัดได้ทำการรื้อพระเจดีย์เก่าตั้งแต่สมัยสร้างวัดจำนวนสององค์ ซึ่งอยู่ตรงบริเวณด้านหลังของโบสถ์ และได้พบพระเครื่องเนื้อชินเงินผิวฉาบปรอทอยู่หลายแบบพิมพ์ ทั้งพระพิมพ์ประจำวัน และ พิมพ์พระพุทธหรือพิมพ์พระประธานแบบต่างๆ บรรจุรวมกันอยู่ภายในโอ่งจำนวนมากหลายหมื่นองค์ สำหรับองค์ในรูป เป็นพระปางป่าเลไลย์ (พิมพ์นิยม) ผ่านการประกวดติดรางวัลที่ 2 งานเดอะมอลล์บางแค กทม. เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2546 / ส่วนพระปลอม มีการทำปลอมออกมานานแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 และทำได้ใกล้เคียงกับของแท้อย่างมาก จึงควรพิจารณาให้รอบคอบอย่าประมาท. |
||||||
|
|
เหรียญกลมและแหวนหลวงพ่อโสธร เนื้อเงินลงถม พ.ศ.2509 วัดโสธรวรารามวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา | ||||||
เป็นเหรียญกลมหลวงพ่อโสธร เนื้อเงินลงถม พิมพ์กลาง พ.ศ.2509 / แหวนเงินลงถมหลวงพ่อโสธร พ.ศ.2509 |