Prakard2


buttonclick2

 

head-10

 

 

พระกรุวัดเฉลิม พิมพ์พระคง นนทบุรี

พระคง วัดเฉลิมพระเกียรติ จ.นนทบุรี
 

 

วัดเฉลิมพระเกียรติ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 86 หมู่ 3 ถนนท่าน้ำนนท์ ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แต่เดิมสถานที่ตั้งของวัดเป็นป้อมเก่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 3 ทรงมีพระราชดำริให้สร้างวัดขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระอัยกา (ตา) พระอัยกี (ยาย) และสมเด็จพระศรีสุลาไลย พระราชชนนีของพระองค์ เมื่อปี พ.ศ. 2390

แผนที่วัดเฉลิม จ.นนทบุรี

ในการนี้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นพระยาพระคลังสมุหกลาโหมเป็นแม่กองสร้างวัด และทรงโปรดให้สร้างป้อมปราการ ก่ออิฐถือปูนเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีใบเสมารอบวัด โดยพระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปทรงก่อพระฤกษ์พระอุโบสถ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2390 ต่อมาในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2393 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้อาราธนาพระปรีชาเฉลิม (เกษ) และพระฐานนุกรม วัดอรุณราชวราราม ลงเรือแห่ไปจำพรรษา ณ วัดเฉลิมพระเกียรติ ในวันรุ่งขึ้นทรงโปรดเกล้าฯ บำเพ็ญพระราชกุศล พระสงฆ์ขึ้นกุฏิใหม่จำนวน 53 หลัง (ปัจจุบันกุฏิดังกล่าวไม่มีแล้ว)

ในปีพ.ศ. 2394 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวใกล้จะสวรรคต การก่อสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติยังคงคั่งค้างไม่แล้วเสร็จ พระองค์ทรงวิตกกังวลในเรื่องนี้มาก จึงมีพระราชดำรัสขอเงินในท้องพระคลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นจำนวนหนึ่งหมื่นชั่ง เพื่อสร้างวัดในส่วนที่ยังคงคั่งค้างอยู่ให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงรับพระราชภาระในการสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติต่อ โดยโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เป็นแม่กองบูรณะปฏิสังขรณ์ จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้จัดการผูกพัทธสีมาวัดเฉลิมพระเกียรติ และเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2397 พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยขบวนพยุหยาตราชลมารค พระราชทานพระกฐิน ณ วัดเฉลิมพระเกียรติ และทรงโปรดให้มีขบวนแห่พระบรมสารีริกธาตุ ขึ้นไปบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ พร้อมทั้งมีการสร้างพระเครื่องขึ้นมาจำนวนหนึ่งเพื่อบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์พร้อมกัน

ต่อมาในสมัยของพระครูปรีชาเฉลิม (แฉ่ง) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสลำดับที่ 3 วัดเฉลิมพระเกียรติ ได้ทำการบูรณะซ่อมแซมองค์พระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอยู่ใกล้กันกับพระอุโบสถ และได้พบพระเครื่องจำนวนมากทั้งที่เป็นเนื้อผงและเนื้อดินเผา มี่ด้วยกันมากมายหลายแบบพิมพ์ ส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์พระสมเด็จรูปทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ทั้งที่มียันต์และไม่มียันต์ พิมพ์ทรงคล้ายสมเด็จวัดเกศไชโย ประมาณหลายพันองค์ ท่านพระครูปรีชาเฉลิม (แฉ่ง) จึงได้นำพระเครื่องที่พบบางส่วน ไปแจกแก่ญาติโยมซึ่งมาทำบุญที่วัด และบางส่วนได้นำกลับไปบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ตามเดิม

 

พระกรุวัดเฉลิม พิมพ์พระคง นนทบุรี (ด้านหลัง)

ลักษณะของพระคง กรุวัดเฉลิมพระเกียรติ

 

 

ศิลปะพิมพ์พระ : เป็นพระที่สร้างล้อพิมพ์ หรือ ประยุกต์แบบพิมพ์มาจากพระคง จ.ลำพูน โดยดัดแปลงให้เป็นพระนั่งปางมารวิชัย (สะดุ้งมาร) ขัดสมาธิราบบนอาสนะฐาน 3 ชั้น เกศยาวแหลม ใบโพธิ์มีลักษณะเป็นเม็ดหรือตุ่มวงกลมนูน มีจำนวนทั้งสิ้น 14 ใบ ก้านใบโพธิ์ 4 ก้าน ด้านข้างใกล้กับแขนพระ มีเส้นรัศมีลักษณะนูนรวมทั้งหมด 4 เส้น

 

เนื้อพระ : เป็นพระเนื้อผงสีขาว เนื้อละเอียดและแกร่งมาก มวลสารในเนื้อพระมีลักษณะเป็นจุดเล็ก ๆ เท่าปลายเข็มกระจายอยู่ทั่วองค์พระ

 

 

พระปลอม : พระกรุวัดเฉลิมพระเกียรติทุกพิมพ์ มีการทำปลอมมานานกว่า 50 ปีแล้ว โดยเริ่มทำปลอมออกมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 จากฝีมือการทำพระปลอมของคนในพื้นที่เป็นเวลานานกว่า 10 ปี พิมพ์หลักๆที่คนทำพระปลอมในสมัยนั้นนิยมทำปลอมกันมากที่สุด ได้แก่ พิมพ์เจ็ดชั้นยันต์วา , พิมพ์ห้าชั้น , พิมพ์สามชั้น , พิมพ์พระพุทธชินราช , และพิมพ์พระคง ซึ่งพระปลอมในยุคแรกจะมีขนาดที่เล็กกว่าพระแท้ และจะเน้นทำปลอมเฉพาะพระเนื้อผงสีขาวออกมาแค่เพียงเนื้อเดียว เพราะเป็นเนื้อที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในวงการพระเครื่องและมีราคาแพงที่สุด แต่ต่อมาภายหลังปี พ.ศ.2520 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน คนทำพระพระปลอมในจังหวัดใกล้เคียง ได้เริ่มทำพระกรุวัดเฉลิมพระเกียรติปลอม ทยอยออกมาอีกมากมายหลายฝีมือ ลักษณะของพระปลอมที่ทำออกมาในยุคหลัง จะเป็นพระเนื้อแปลกๆพิมพ์แปลกๆที่ไม่ได้มีอยู่จริงในสารบบพระแท้ ทั้งพระเนื้อผงสีขาว , พระเนื้อผงใบลานสีดำ , และพระเนื้อดินผสมผง ถ้าเป็นพระเนื้อผงใบลานสีดำปลอม ก็จะทำปลอมออกมาแบบสีดำสนิท แกร่งจัด มันเลื่อม ไม่มีมวลสารอะไรอยู่ในเนื้อพระเลย ที่สำคัญคือพิมพ์พระจะผิดเพี้ยนออกไปจากพิมพ์พระแท้ที่เป็นมาตรฐาน ส่วนพระเนื้อผงสีขาวปลอมก็เช่นกัน จะมีทั้งทำปลอมออกมาแบบพระเนื้อแกร่งจัดและแบบพระเนื้อผงน้ำมัน แล้วแต่งผิวภายนอกเพื่อพรางตาให้ดูเก่าบ้าง ทำให้ดูเหมือนเป็นพระใช้ช้ำใช้สึกบ้าง แต่ถ้าใจเย็นสังเกตดูดีๆให้ละเอียด จะเห็นว่าพระปลอมเหล่านั้น ล้วนเป็นพระที่ผิดทั้งพิมพ์และผิดทั้งเนื้อพระด้วยกันทั้งสิ้น.


จุดสังเกตพระแท้ :
พระคง (พิมพ์มีหู) กรุวัดเฉลิมพระเกียรติ

 

จุดสังเกตพระแท้
พระคง กรุวัดเฉลิมพระเกียรติ พระคง กรุวัดเฉลิมพระเกียรติ
ใบหูหนาพอประมาณโค้งเล็กน้อยเกือบตรง ปลายใบหูทับอยู่บนเม็ดใบโพธิ์  ถ้าไม่เหมือนแบบนี้สรุปได้ทันทีว่าเป็นพระปลอม อกพระด้านขวาบนโค้งหักศอกเล็กน้อยเข้าวงแขน เอวมีความกว้างพอประมาณ ถ้าเอวคอดเล็กเหมือนก้นตัววี (V) หรือ ถ้าอกและเอวเป็นรูปทรงกระบอก สรุปได้ทันทีว่าเป็นพระปลอม

 

Compare-base

 

หมายเหตุ : จากรูป ได้แสดงให้เห็นถึงจุดสำคัญในการพิจารณาพิมพ์พระแท้เบื้องต้น โดยมุ่งเน้นที่จุดสำคัญซึ่งเป็นจุดตายที่พระแท้ทุกองค์ต้องมี แต่ยังมีตำหนิจุดตายจุดอื่นๆในการพิจารณาซึ่งเป็นจุดสำคัญอยู่อีกหลายจุดที่ผู้เขียนยังไม่ได้เปิดเผย.

 

เปรียบเทียบกับพิมพ์พระในหนังสือพระเครื่องมหาโพธิ์ :  จะเห็นว่าพระแท้ทุกองค์ ตำหนิจุดตายจะเหมือนกันตรงกันทั้งหมด ไม่ผิดเพี้ยน

พระคง วัดเฉลิมพระเกียรติ

 

หนังสือพระเครื่องอ้างอิง :   มหาโพธิ์.(2535).หนังสือพระเครื่องมหาโพธิ์.ฉบับที่ 251.วันที่ 30 มีนาคม.ปีที่ 13.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์รพีบรรณจำกัด.

 

ข้อสังเกต+ข้อเสนอแนะ : ปัจจุบันพบว่าได้มีพระกรุวัดเฉลิมพระเกียรติปลอม แพร่หลายกระจัดกระจายอยู่ทุกที่ทั่วไปทั้งในสนามพระและนอกสนามพระ ทำให้มีผู้เสียหายถูกหลอกเสียเงินเช่าพระกรุวัดเฉลิมพระเกียรติปลอมสู่อ้อมใจอย่างน่าเวทนากันหลายท่าน เพื่อเป็นวิทยาทานและเป็นภูมิความรู้เบื้องต้นสำหรับป้องกันตนเองก่อนตัดสินใจเช่าพระกรุนี้ ผู้เขียนขอแนะนำเพิ่มเติมว่า ให้ท่านศึกษาเรื่องพิมพ์พระเครื่องให้ชัดเจนก่อน โดยยึดถือจากตำราพระเครื่องปี พ.ศ.เก่าๆ หรือหนังสือพระเครื่องปี พ.ศ.เก่าๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากคนในวงการพระเครื่อง (แต่ต้องระวังหนังสือพระเครื่องปี พ.ศ.เก่าๆที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่เป็นที่ยอมรับของวงการพระเครื่องด้วย) เพราะตำราหรือหนังสือพระเครื่องปี พ.ศ.เก่าๆ จะอยู่ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับประวัติศาสตร์มากที่สุด จึงมีระดับของความน่าเชื่อถือที่มากที่สุดเช่นกัน

 

กรณีของพระคง (พิมพ์มีหู) กรุวัดเฉลิมพระเกียรติ หากศึกษาจากตำราหรือหนังสือพระเครื่องเก่าๆตั้งแต่ปี พ.ศ.2500 เรื่อยมาจนถึงราวๆปี พ.ศ.2535 ท่านจะพบว่า พระพิมพ์นี้ที่อยู่ในปกหนังสือทุกเล่ม ตำหนิจุดตายของพระทุกองค์ - ทุกเนื้อ พิมพ์พระจะตรงกันทั้งหมดไม่มีผิดเพี้ยนแปลกประหลาดไปจากนี้เลย แต่พอมาช่วงหลังปี พ.ศ.2536 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน พระคงกรุวัดเฉลิมเริ่มจะมีพิมพ์พระที่แปลกประหลาด ผิดเพี้ยนจากพิมพ์พระในหนังสือเก่าเพิ่มขึ้นมากมาย นั่นเป็นเพราะคนทำพระปลอมรุ่นใหม่ๆได้แกะบล็อคพระขึ้นมาเอง แล้วกดพิมพ์ทำพระปลอมกันออกมาอย่างต่อเนื่องแพร่หลาย

 

หากท่านใดมีพระคงกรุวัดเฉลิมพระเกียรติไว้ในครอบครอง ลองหยิบพระของท่านขึ้นมาตรวจสอบเทียบเคียงกับรูปพระทางด้านบน แล้วไล่ดูจุดตำหนิพื้นฐานทีละจุดให้ครบทั้ง 3 จุดก่อนในเบื้องต้น ถ้าผิดเพี้ยน-แตกต่าง-ไม่เหมือนตรงจุดใดจุดหนึ่ง ให้ท่านสรุปได้ทันทีว่าเป็นพระปลอม (ไม่ต้องสนใจว่าเนื้อพระจะเป็นอย่างไร สวยงามขนาดไหน...ถ้าพิมพ์ผิดก็จบ อย่างอื่นไม่สำคัญ เป็นพระปลอมทันที) และถ้าตำหนิถูกต้องตรงกันทั้ง 3 จุด ก็มีแนวโน้มความเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นพระแท้ประมาณ 30% ส่วนอีก 70% ที่เหลือ ขึ้นอยู่กับตำหนิจุดตายจุดอื่นๆของพิมพ์พระ (อีก 30%) , เนื้อหามวลสารในเนื้อพระ (อีก 20%) , ขนาดขององค์พระ (อีก 20%).

 

หมายเหตุ : หลักในการพิจารณาทางด้านแบบพิมพ์ของพระคง (พิมพ์มีหู) กรุวัดเฉลิมพระเกียรติ ตำหนิจุดตายทุกจุดต้องมีครบ ผิดเพี้ยนที่จุดใดจุดหนึ่งไม่ได้เลย เพราะพระแท้ทุกองค์เป็นพระเนื้อผงซึ่งเกิดจากบล็อคแม่พิมพ์เดียวกัน ตำหนิจุดตายต้องตรงกันเหมือนกันทั้งหมดทุกจุด ไม่ขาด ไม่เกิน และต้องไม่ผิดเพี้ยน

 

ข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องของปริมาณหรือจำนวนพระกรุวัดเฉลิมพระเกียรติพิมพ์พระคง จะเห็นว่า พระที่มีตำหนิจุดตายตรงกับรูปด้านบน และตรงกับรูปพระคงในหนังสือพระเครื่องมหาโพธิ์ ปัจจุบันแทบไม่ได้พบเห็นพระแท้ของจริงลักษณะนี้เลย นั่นเป็นเพราะพระคงกรุวัดเฉลิมพระเกียรติของแท้ มีจำนวนการสร้างที่น้อยมากจึงหาได้ยาก ในขณะที่พระปลอมนั้นมีจำนวนการทำปลอมที่มากกว่าจึงหาได้ง่ายทั่วไป ส่งผลให้การหมุนเวียนของพระแท้พิมพ์พระคงกรุวัดนี้ ไม่ค่อยปรากฏให้ได้เห็นจากที่ไหน และกลายมาเป็นพระกรุในตำนานไปในที่สุด.

 

 

 
i163018021 98954 3

 

 

BetFair F.BetRoll UK Bookies
Ladbrokes Review L.BetRoll
WIll Hill BookiesW.BetRoll here...
United Kingdom BetRoll Bookmakers