Prakard2


buttonclick2

 

head-9

พระกรุวัดสามปลื้ม พิมพ์ห้าเหลี่ยมเล็ก

ด้านหลังพระกรุวัดสามปลื้ม พิมพ์ห้าเหลี่ยมเล็ก

พระกรุวัดสามปลื้ม พิมพ์ห้าเหลี่ยมเล็ก

(พระประกวดติดรางวัลที่ 2 งานพันธุ์ทิพย์งามวงศ์วาน วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2550)

 

ใบประกาศพระ 

วัดจักรวรรดิราชาวาส หรือ วัดสามปลื้ม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๒๒๕ ถนนจักรวรรดิ แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๐๐ (ติดกับย่านสำเพ็ง)

แต่เดิม วัดนี้มีชื่อเรียกด้วยกัน ๒ ชื่อ คือ ๑.วัดนางปลื้ม หรือ สามปลื้ม และ ๒.วัดจักรวรรดิราชาวาส ซึ่งเป็นชื่ออย่างเป็นทางการ ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่รัชกาลที่ ๓ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๑ ไร่ ๑ งาน ๕๘ ตารางวา เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จนมาถึงในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ตามพระราชพงศาวดารได้กล่าวไว้ว่า "พ.ศ.๒๓๔๓ วันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้น ๘ ค่ำ เวลา ๕ โมงเย็น เกิดเพลิงไหม้ ที่วัดสามปลื้ม ตลอดลงไปถึงตลาดน้อยวัดสำเพ็ง" (วัดปทุมคงคา) ซึ่งเหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นช่วงปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ต่อมา จนถึงในช่วงต้นรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่ 2) ท่านเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น บรรพบุรุษสกุลสิงหเสนี) ได้เป็นผู้เริ่มปฏิสังขรณ์วัดสามปลื้ม แต่ยังไม่ทันเสร็จก็ถึงแก่อสัญกรรมเสียก่อน

จากนั้น ในราวปี พ.ศ.๒๓๖๒ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ ต้นสกุลสิงหเสนี) ผู้เป็นบุตร จึงได้ทำการปฏิสังขรณ์ต่อ โดยมอบให้บุตรชายคนโต ชื่อ นายเกต (เจ้าพระยามุขมนตรี ในรัชกาลที่ ๔) เป็นผู้อำนวยการสร้าง จากด้านเหนือเข้ามาทางด้านใต้ และให้บุตรชายคนรอง ชื่อ นายแก้ว (เจ้าพระยายมราช ในรัชกาลที่ ๔) เป็นผู้อำนวยการสร้าง จากด้านใต้เข้าไปหาด้านเหนือ บรรจบกันตรงกลาง มีการสร้าง พระอุโบสถ เสนาสนสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ตลอดจนขุดคลองจากแม่น้ำเจ้าพระยา เข้ามาจนถึงสระน้ำซึ่งขุดไว้ใช้ภายในวัด (ปัจจุบันคลองถูกถมเป็นถนนเส้นกลางวัดแล้ว) เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จลง ก็ได้จัดการอาราธนาพระภิกษุจากวัดราชบุรณะบ้าง วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์ฯ) ท่าเตียน บ้าง มาอยู่จำพรรษาแล้วน้อมเกล้าถวายเป็นพระอารามหลวง ในสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า รัชกาลที่ ๓ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๓๖๘ และได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร

จนมาถึงสมัยของพระพุฒาจารย์ (มา) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้ทำการรื้อพระเจดีย์เก่าข้างคณะกุฏิ ซึ่งเรียงรายอยู่หลายองค์ จึงได้พบพระเครื่องเนื้อผงจำนวนมากหลากหลายพิมพ์ ซึ่งการรื้อถอนพระเจดีย์เก่าในครั้งนั้น ไม่ได้ทำการรื้อถอนทั้งหมด คงเหลือเหลือพระเจดีย์เก่าซึ่งชำรุดยอดบน(หักตรงคอระฆัง) มีลักษณะพื้นชั้นล่างต่ำมีน้ำขังอยู่ 1 องค์ ต่อมาเด็กๆในละแวกนั้นได้พากันวิ่งเล่นปีนป่ายด้วยความซุกซนคึกคะนองที่พระเจดีย์เก่าองค์นี้อยู่เสมอๆ จนวันหนึ่ง ได้มีเด็กไปคุ้ยเขี่ยบริเวณฐานขององค์พระเจดีย์ จึงได้พบพระพิมพ์ชนิดผงสีขาวจำนวนหนึ่ง (ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน) จึงได้เอาถังตักน้ำใช้เป็นภาชนะใส่พระพิมพ์ที่ตนเองพบจนเต็มถัง แล้วนำพระไปจำหน่ายในราคาองค์ละ 25 สตางค์

ต่อมาในปี พ.ศ.2463 ท่านพระครูมงคลวิจิตร (ใช้ สุวณฺโณ) ได้ทำการรื้อถอนพระเจดีย์เก่าซึ่งชำรุดองค์นั้นอย่างเป็นทางการ จึงได้พบพระพิมพ์เนื้อผงสีขาวจำนวนมาก โดยเก็บรวบรวมใส่ไว้ในปี๊ปได้ทั้งหมด 4 ปี๊ป นอกจากนี้ ยังพบพระบูชาทองเหลือง พระบูชาแกะสลักด้วยไม้บุด้วยเงิน และสมุดพระคัมภีร์ต่างๆอีกเป็นจำนวนมาก จากนั้นท่านพระครูมงคลวิจิตรได้นำพระกรุทั้งหมดที่พบ ขึ้นไปเก็บไว้บนลานพระพุทธบาท เพื่อแจกจ่ายให้กับญาติโยมที่มีความเลื่อมใสศรัทธา

ต่อมาในปี พ.ศ.2483 ท่านพระครูมงคลวิจิตร ซึ่งขณะนั้นได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็น ท่านเจ้าคุณพระคุณาจารวัตร (ใช้ สุวณฺโณ) เจ้าอาวาสลำดับที่ 10 วัดสามปลื้ม ได้จัดให้มีการขยายถนนเดิมซึ่งเป็นทางเดินจากประตูด้านถนนสำเพ็งสู่วัด อยู่ระหว่างพระอุโบสถด้านทิศตะวันตก กับพระพุทธปรางค์ด้านทิศตะวันออก ในการขยายถนนเส้นนี้ ได้มีการย้ายศาลเจ้าพ่อบดินทร จากเดิมประดิษฐานอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระพุทธปรางค์ มาประดิษฐานไว้ที่ใหม่ทางด้านทิศใต้แทน ด้วยเหตุนี้ ท่านเจ้าคุณพระคุณาจารวัตร จึงได้ทำการรื้อถอนพระเจดีย์เก่าที่ชำรุดทรุดโทรม ซึ่งอยู่ทางด้านทิศใต้ตรงบริเวณที่จะประดิษฐานศาลเจ้าพ่อบดินทรแห่งใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 3 องค์ โดยจะนำไปสร้างขึ้นใหม่ทางทิศตะวันตกทดแทนของเดิม ระหว่างที่ทำการรื้อถอนพระเจดีย์องค์แรก ได้พบพระพิมพ์เนื้อผงสีขาวรูปทรงสี่เหลี่ยมบรรจุอยู่ภายในพระเจดีย์ จำนวน 80 องค์ เมื่อทำการรื้อถอนพระเจดีย์องค์ที่สอง ได้พบใบลานจารึกอักษรขอม , พระบูชาทองเหลืองและพระทำด้วยไม้บุเงินบุทองจำนวนมาก เมื่อทำการรื้อถอนพระเจดีย์องค์ที่สาม ได้พบพระพิมพ์เนื้อผงสีขาวรูปทรงสามเหลี่ยม และพระฝากกรุรวมกันจำนวนมาก ประมาณ 50,000 องค์

ลักษณะของพระวัดสามปลื้ม กรุงเทพมหานคร

พระกรุวัดสามปลื้ม พิมพ์กลีบบัวเล็ก

พระกรุวัดสามปลื้ม พิมพ์กลีบบัวเล็ก

(พระประกวดติดรางวัลชมเชย งานพันธุ์ทิพย์งามวงศ์วาน 2 งาน)

 

ศิลปะพิมพ์พระ : เป็นพระศิลปะยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น สันนิษฐานกันว่า สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พิมพ์พระมีหลายแม่พิมพ์และหลายรูปทรง ทั้งทรงห้าเหลี่ยม ทรงสามเหลี่ยม และทรงกลีบบัวมีหลายขนาดทั้งใหญ่และเล็ก เท่าที่พบเห็นส่วนใหญ่ จะเป็นพระนั่งปางสมาธิราบ(อาสนะ)ฐานสามชั้น มีผ้าทิพย์อยู่ตรงกลางฐานบนและฐานกลาง มีทั้งพิมพ์ที่มีเกศแหลมและไม่มีเกศ หรือที่เรียกกันว่าเศียรโล้น
เนื้อพระ :
ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อผงสีขาว แต่มีบางส่วน(จำนวนน้อย)ที่เป็นผงสีดำและเนื้อโลหะประเภทชินตะกั่วสนิมแดงในส่วนของพระเนื้อผงสีขาว มีลักษณะยุ่ยฟูไม่แกร่งเหมือนพระสมเด็จทั่วๆไป เปราะและแตกหักง่าย มีคราบกรุเป็นแผ่นเกาะติดแน่นอยู่บนผิวพระเหมือนสมเด็จบางขุนพรหม
 

 

 

 

 

 

ใบประกาศพระ

 

ใบประกาศพระ

i163018021 98954 3

 

BetFair F.BetRoll UK Bookies
Ladbrokes Review L.BetRoll
WIll Hill BookiesW.BetRoll here...
United Kingdom BetRoll Bookmakers